จากความแรงของกระแส หนัง 4 King2 , ต่อยอดประเด็น ไปรู้จัก เทรนด์ ของการเรียน อาชีวะในมุมอื่นๆของโลก โดยคนรุ่นใหม่ในสหรัฐฯ หันมาเรียน สายอาชีพ หลังจากตลาดต้องการ ‘แรงงานทักษะฝีมือ’ มากขึ้น ขณะที่ ประเทศเยอรมนี เรื่อง อาชีวศึกษา สำคัญถึงเป็นกระดูกสันหลังสร้างชาติเลยทีเดียว
ในช่วงเวลาที่ ภาพยนตร์ 4 Kings 2 กำลังร้อนแรงและกลายเป็นจุดสนใจของสังคม เกี่ยวกับ การเรียนอาชีวะ ซึ่งแม้ว่า "ความรุนแรง" จะกลายเป็น "ภาพจำ" ที่ฝังสังคม จนยากจะลบล้าง แต่เชื่อเถอะว่า กาลเวลา จะค่อยๆเปลี่ยนแปลง ภาพเหล่านั้นได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว การเรียนอาชีวะ การเรียนสายอาชีพ นั้น , แม้ที่ผ่านๆมา จะมี "การกดทับ" โยนใส่เด็กอาชีวะหาว่าเป็นอันธพาล เป็นพวกชอบใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม คงต้องของว่า ก่อนอื่นนั้น กับใครที่ยังมี ค่านิยม กับ ทัศนคติ แบบต้องบอกว่า - ทุกคนต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า “เรียนมาคนละแบบ ไม่ได้แปลว่าเรียนมาน้อย”
คนเราทุกคน มีเงื่อนไขชีวิตไม่เหมือนกัน ต่างคนต่างเติบโตจากพื้นฐานครอบครัว บางคนต้องรีบทำงานช่วยพ่อแม่ ขณะที่อีกหลายคนไม่ชอบนั่งเรียนทฤษฎีอยู่ในห้องเรียนเฉยๆ แล้วทำไมเราต้องมีค่านิยมส่งลูกเรียนม.ปลายสายสามัญแล้วต่อมหาวิทยาลัย เมื่อเด็กมีความหลากหลายมากกว่าจะเดินตามกระแสหลัก
และที่สำคัญ ไม่ว่าจะอาชีพใดๆ ในบนโลกใบนี้ - จริงๆ แล้วทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญทางใดทางหนึ่งต่อบ้านเมืองประเทศอยู่แล้ว และที่มากไปกว่านั้น "แว่นตาแห่งทัศนคติ" ในสังคมไทย ต้องเลิกมองและ ตีตรา "อาชีวะ" แบบเดิมๆ ภาพเดิมๆต้องล้างจากใจไปให้หมด
การเปิดโอกาสให้เด็กอาชีวะได้อยู่ในตลาดแรงงานอย่างเท่าเทียมเด็กปริญญาตรี ไม่กดทับพวกเขาให้เป็นเพียงแรงงานตัวสำรอง รวมไปถึงการเปลี่ยนทัศนคติลบในสังคมจนนำไปสู่การให้ความสำคัญต่อการศึกษาในระบบอาชีวะมากขึ้น หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ฉันเชื่อว่าในอนาคตบ้านเราจะมีกำลังสำคัญคนเก่งๆ ที่ช่วยพัฒนาเมืองนี้ให้น่าอยู่มากขึ้นแน่นอน ซึ่งภาพการมอง อาชีวะในไทย กับ ในต่างประเทศนั้น ถือว่าอยู่ใน มุมทัศนคติ ที่ค่อนข้างห่างและต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น การเรียนสายอาชีพ หรือ การเรียนอาชีวะ ในต่างประเทศ ในหลายๆประเทศ ทั่วทุกทวีป ให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะต่างเชื่อว่าระบบการศึกษาที่ดีจะช่วยผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศ และในการเรียน สายอาชีพ หรือที่เรียกว่า ‘ระบบอาชีวศึกษา’ ที่มุ่งเน้นไปยังภาคปฏิบัติ ก็มีหลายๆประเทศที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
ในทุกวันนี้ การเรียนอาชีวศึกษา หรือ การเรียนใน "สายอาชีพ" เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในเยอรมนี เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ อีกทั้งยังมีคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก มีแรงดึงดูดนักเรียนนักศึกษาต่างชาติให้เข้าไปเรียนได้จำนวนมาก และยังได้รับยกย่องเป็นโมเดลของการพัฒนาอาชีวศึกษาในหลายประเทศ
เส้นทางของการศึกษาสายอาชีพของบรรดาประเทศที่ประสบความสำเร็จอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกัน
แต่เมื่อขยับมามองภาพใหญ่ขึ้นแล้ว จะเห็นว่าแต่ละประเทศล้วนมีสูตรสำเร็จหลายอย่างคล้ายๆกัน ซึ่งหากจะ ถอดสูตรสำเร็จของประเทศเหล่านี้ในการพัฒนาการศึกษาสายอาชีพ จากที่ถูกมองข้ามมาตลอดจนก้าวขึ้นมาเป็นกลจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศ โดยดูตัวอย่างจากประเทศเยอรมนี เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
เกาหลีใต้ มีแผนการพัฒนาการเรียนการสอบระบบอาชีวะ เริ่มมีขึ้นอย่างเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1950s จนถึง 1960s ซึ่งตอนนั้นยังให้ความสำคัญกับการศึกษาในภาคอุตสาหกรรมเบา เกษตรกรรม และประมง แผนพัฒนาแต่ละฉบับมีอายุ 5 ปีก่อนที่จะทบทวนสู่การใช้แผนฉบับใหม่
ถัดมาในยุค 1970s เกาหลีใต้ก็ปรับเปลี่ยนไปเน้นการศึกษาในภาคอุตสาหกรรมหนัก โดยเริ่มนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าสู่การเรียนการสอนมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่กำลังผลักดันอุตสาหกรรมประเภทเหล็ก การต่อเรือ ผลิตภัณฑ์เคมี เครื่องจักร ตามเทรนด์โลกในตอนนั้น
และมีการปรับเปลี่ยนใหญ่อีกประการหนึ่งคือการผลักดันให้อุตสาหกรรมในประเทศยื่นมือเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเรียนการสอนมากขึ้น ทำให้นักเรียนนักศึกษาในระบบสายอาชีพได้เรียนรู้อย่างเข้มข้นขึ้นผ่านการสัมผัสประสบการณ์ในอุตสาหกรรมจริง ผ่านมาถึงทศวรรษ 1980s เมื่อยุทธศาสตร์เศรษฐกิจขยับออกจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานและทุนอย่างเข้มข้นไปสู่การพึ่งพาเทคโนโลยี สถาบันอาชีวศึกษาก็ต้องขยับตามไปสู่การเรียนการสอนในภาคอุตสาหกรรมไฮเทค รวมทั้งยังติดปีกให้นักเรียนนักศึกษามีความรู้รอบด้านมากขึ้น มีทักษะพื้นฐานในการปรับตัวได้อย่างว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสเทคโนโลยีและเศรษฐกิจโลกในแต่ละช่วงเวลา
ตอนนี้ อาชีวศึกษาเกาหลีใต้ก็กำลังมุ่งหน้าพัฒนาตามเส้นทางเศรษฐกิจ 4.0 และเศรษฐกิจหลังโควิด-19
ด้าน เยอรมนี , ประเทศที่แข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของโลก ก็ให้ความสำคัญ กับระบบอาชีวะ ประเด็นนี้ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เยอรมนีผ่านวิกฤตด้านเศรษฐกิจไปได้หลายต่อหลายครั้ง
เพราะเป็นระบบการศึกษาที่ผลิตแรงงานตรงตามตลาดต้องการ ทำให้นักเรียนอาชีวะมีทางเลือกมากขึ้น ซึ่งในตลาดแรงงานของเยอรมนีมีผู้จบอาชีวศึกษากว่า 54% ส่งผลให้อัตราการว่างงานของประชากรอายุระหว่าง 14-25 ปี อยู่เพียงร้อยละ 7.8 ซึ่งต่ำที่สุดในยุโรป
โดยหากลงลึกถึงรายละเอียดแล้ว รัฐบาลเยอรมนี กำหนดล็อกให้การอาชีวศึกษาเป็นกระดูกสันหลังในการสร้างอุตสาหกรรมของประเทศก็ว่าได้
โดยในปี 1969 มีการตรากฎหมายการศึกษาอาชีวะ ให้อาชีวศึกษามีคุณภาพการเรียนการสอนก้าวหน้า-สร้างประสบการณ์ตรงแบบโรงเรียน-โรงงาน (Germany Dual Vocational Training) คือ ให้สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคอุตสาหกรรมหลากสาขากับสถานศึกษาอาชีวะ โดยรัฐบาลเป็นกลไกสนับสนุนและพัฒนามาตรฐานการศึกษาอาชีวะ เพื่อสร้างเยอรมนียุคใหม่ให้เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโลก จนในที่สุดเยอรมนีสามารถผงาดเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม
ด้านสิงคโปร์ เพื่อนร่วมภูมิภาคอาเซียนของไทยนั้น จะมีวิทยาลัยอาชีวะ 5 แห่งคือ Singapore Polytechnic, Ngee Ann Polytechnic, Temasek Polytechnic, Republic Polytechnic และ Nanyang Polytechnic
สำหรับการเข้าศึกษาต่อในระบบอาชีวะนั้น นักเรียนจะต้องได้ผลคะแนนสอบ GCE ‘O’ Level คล้ายๆ การสอบ O-net บ้านเรา ในเกณฑ์ดีอย่างน้อย 5 วิชาจาก 7 จึงจะสามารถเลือกเรียนต่อสายอาชีพในวิทยาลัยอาชีวะได้ โดยมีหลักสูตรการเรียน 3 ปี ซึ่งนักเรียนจะได้ฝึกภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 3 และเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร นักเรียนสามารถสมัครงานได้ทันที หรือเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 2 ดังนั้นนักเรียนที่สามารถเข้าเรียนต่อในวิทยาลัยอาชีวะของสิงคโปร์ได้จะต้องมีผลคะแนนเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี – ดีมาก
ขณะที่ ประเทศยักษ์ใหญ่ และเป็นพี่ใหญ่ของโลก อย่าง สหรัฐฯ , การเรียนการสอนระดับ ‘มหาวิทยาลัย’ ในสหรัฐอเมริกา กำลังถูกท้าทายจากรูปแบบการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยเฉพาะการเรียน ‘สายอาชีพ’ ที่ใช้ระยะเวลาสั้น ซึ่งตอบสนองต่อทั้งผู้เรียน และตลาดแรงงานในขณะนั้น นอกจากนี้ ท้องถิ่นในสหรัฐฯ ยังสนับสนุนวิทยาลัยชุมชนที่มีหลักสูตรสายอาชีพ เนื่องจากหลังโควิด-19 ตลาดแรงงานต้องการ ‘แรงงานทักษะฝีมือ’ โดย ในอดีตสหรัฐฯ ผู้คนก็มีค่านิยมดังเช่นอีกหลายประเทศ ที่การเรียนสายอาชีพอาจยังไม่ได้รับการยอมรับ หรือให้ค่าเท่ากับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย อันเป็นเป้าหมายอันดับแรกๆ ของผู้ที่อยู่ในระบบการศึกษา ที่มุ่งหวังจะประสบความสำเร็จในชีวิต ได้ทำงานในอาชีพที่ดี การเรียนสายอาชีพจึงมักถูกมองว่าเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีศักยภาพเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้
แต่ในปัจจุบัน ค่านิยมทำนองนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะการเรียนอาชีวะกำลังป๊อปปูลาร์มากขึ้น , โดยข้อมูล ณ ต้นปี 2022 มีวิทยาลัยชุมชนอยู่ 1,042 แห่งทั่วสหรัฐฯ เปิดสอนในหลากหลายสาขาเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา ท่ามกลางปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
สภานิติบัญญัติอย่างน้อย 10 รัฐ ได้ขยายหลักสูตรฝึกอบรมสายอาชีพในวิทยาลัยชุมชน หรือเริ่มจ่ายค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาที่เรียนในสายอาชีพที่ต้องการ ตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อช่วงปี 2020 เป็นต้นมา
ที่มา stateline statista kdischool.ac.kr dtan.thaiembassy.de
ข่าวที่เกี่ยวข้อง