จากกระแส ภาพยนตร์ 4King2 ที่กำลังร้อนแรง การพิสูจน์ตัวเองกับตัวเองนั้นก็สาหัสมากพอแล้ว แต่ทำไม คนที่มาจากอาชีวะในประเทศไทย จึงต้องพิสูจน์ตัวเองมากกว่าคนอื่นๆ
ต่อคำถามเหล่านี้ ก็นับเป็นประเด็นเครื่องหมายคำถามที่น่าสนใจไม่น้อย แล้วยิ่งในช่วงเวลานี้ มีกระแสข่าวภาพยนตร์ 4king 2 ออกฉาย หลังจากประสบความสำเร็จล้นหลาม จากภาคแรก เมื่อ 2 ปีก่อน , ทำให้ ชีวิตและเส้นทางของผู้คนที่ผ่านการเรียน อาชีวะ ถูกขีดเส้นใต้ ไฮไลท์ประเด็นให้เด่นขึ้นมา แล้วกลับมาอยู่ในสปอร์ตไลท์ของสังคมที่สาดส่องให้แสงอีกครั้ง
แล้ว เรียน อาชีวะ แล้วมันผิดตรงไหน ? ... นี่คือความสงสัยของใครหลายคนที่ผ่านการเรียนอาชีวะในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปี ก็ผลิตผู้บุคลากรออกมาจากระบบการศึกษา สายอาชีวะ ตั้งมากมายหลักราวๆ 300,000 คนต่อปี (โดยหากคิดเป็นสัดส่วน โดยเฉลี่ยศึกษาต่อสายสามัญ 60% และ 40% เรียนต่อสายอาชีพ)
เอาจากภาพความทรงจำ หรือภาพจำของสังคม เวลาใครและใครนั่งรถผ่านหน้าโรงเรียนมัธยมฯต่างๆ หลายต่อหลายที่ เราอาจจะพบป้ายไวนิลแสดงความยินดีกับเด็กที่สอบติดมหาวิทยาลัย แต่ไร้แววป้ายชื่นชมเด็กที่เลือกเรียนสายอาชีพอย่าง ‘อาชีวศึกษา’ แม้แต่ป้ายเดียว เพียงเท่านี้เราก็จะเห็นถึง ความต่าง และลึกๆแล้ว คำว่า อาชีวะ กลายเป็นสิ่งที่ไม่ได้เฉิดฉาย เหมือนกับการ เข้ามหาวิทยาลัย ได้
ในความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นในประเทศ อาจจะมีอยู่เพียง 2 ป้ายที่ เด็กอาชีวะ ได้รับจากสังคมไทย จากอดีต จนถึงช่วงเวลาที่เข็มนาฬิกาเดินอยู่ในปัจจุบัน ป้ายแรกคือความเหลื่อมล้ำในการถูกเลือกปฏิบัติ ขาดแคลน-แห้งแล้งทรัพยากรตอนเรียนยันทำงาน หรือถูกใช้แรงงานหนักแต่เงินเดือนถูกกดให้ต่ำ
ป้ายถัดมา คือสายตาเจือ "การกดทับ" ใส่เด็กอาชีวะว่าเป็นอันธพาล ชอบใช้ความรุนแรงในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ผ่านการนำเสนอของสื่อ ที่นอกจากเหมารวมแล้ว น้อยครั้งนักที่สื่อจะเผยแพร่มุมดีๆ ที่เด็กอาชีวะช่วยเหลือสังคมหรือมีความสามารถไม่แพ้ใคร
ก่อนอื่นนั้น กับใครที่ยังมี ค่านิยม กับ ทัศนคติ แบบต้องบอกว่า - ทุกคนต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า “เรียนมาคนละแบบ ไม่ได้แปลว่าเรียนมาน้อย”
คนเรามีเงื่อนไขชีวิตไม่เหมือนกัน เติบโตจากพื้นฐานครอบครัว บางคนต้องรีบทำงานช่วยพ่อแม่ ขณะที่อีกหลายคนไม่ชอบนั่งเรียนทฤษฎีอยู่ในห้องเรียนเฉยๆ แล้วทำไมเราต้องมีค่านิยมส่งลูกเรียนม.ปลายสายสามัญแล้วต่อมหาวิทยาลัย เมื่อเด็กมีความหลากหลายมากกว่าจะเดินตามกระแสหลัก
และที่สำคัญที่สุด การเรียนรู้นั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในห้องเรียนสายสามัญเท่านั้น และการเรียนรู้ก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเฉพาะเรื่องวิชาการเข้มข้น ยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ช่วยส่งเสริมทักษะและประสบการณ์ในการใช้ชีวิตให้แก่เยาวชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะ การซื้อหนังสือที่ชอบ หรือการเรียนกีฬา ดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่ตัวเองสนใจ
อีกทั้งในปัจจุบัน โลกเปลี่ยนแปลงไปทุกวินาทีอย่างรวดเร็ว สิ่งที่เคยเป็นเรื่องจำเป็นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว อาจไม่ตอบโจทย์กับสิ่งที่สังคมและเศรษฐกิจต้องการในตอนนี้ และหากย้อนกลับไปในช่วง 4-5 ปีที่แล้ว ในประเด็น “ค่าตอบแทนธุรกิจไทย 182 องค์กร ปี” 2561/62 พบว่ามีการขึ้นเงินเดือนพนักงานเฉลี่ย 5.5-5.8% โดยกลุ่มธุรกิจทรัพยากร-พาณิชยกรรมและบริการจ่ายสูงสุด เผยวิศวะจบใหม่ยังครองแชมป์ค่าตัวแพงสุด ขณะที่ ประเด็นที่อยากจะเรดไฮไลท์ขึ้นมา ก็คือ คนจบอาชีวะ ระดับ ปวช.-ปวส.สาขาพาณิชย์-เทคนิค กลายเป็นดาวรุ่ง มาแรง ได้รับอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น”
ไม่ว่าจะอาชีพใดๆ - จริงๆ แล้วทุกอาชีพล้วนมีความสำคัญทางใดทางหนึ่งต่อบ้านเมืองประเทศอยู่แล้ว”
และที่สำคัญที่สุด "แว่นตาแห่งทัศนคติ" ในสังคมไทย ต้องเลิกมองและ ตีตรา "อาชีวะ" แบบเดิมๆ ภาพเดิมๆต้องล้างจากใจไปให้หมด
การเปิดโอกาสให้เด็กอาชีวะได้อยู่ในตลาดแรงงานอย่างเท่าเทียมเด็กปริญญาตรี ไม่กดทับพวกเขาให้เป็นเพียงแรงงานตัวสำรอง
รวมไปถึงการเปลี่ยนทัศนคติลบในสังคมจนนำไปสู่การให้ความสำคัญต่อการศึกษาในระบบอาชีวะมากขึ้น หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง ฉันเชื่อว่าในอนาคตบ้านเราจะมีกำลังสำคัญคนเก่งๆ ที่ช่วยพัฒนาเมืองนี้ให้น่าอยู่มากขึ้นแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง