ย้อนรำลึกถึงวันที่ 4 พ.ย. 1995 "ยิตซัก ราบิน" อดีตนายกฯอิสราเอล ที่เคยได้รางวัลโนเบลสันติภาพ ถูกลอบสังหาร และทำให้สันติภาพอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ยังไม่เจอความสงบอย่างแท้จริงมาจนถึงทุกวันนี้
ในสถานการณ์ ณ ปี 2023 ที่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ หลังจากเดินเกมสาดอาวุธใส่กันตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2023 และมีฉากหลังเป็นความเศร้าและความสูญเสีย ที่ไม่มีอะไรมาแทนได้
สันติภาพบนพื้นที่แห่งนี้ ดูเหมือนจะเลือนลาง มืดมนเหลือเกิน แต่ในความจริงแล้ว ใช่ว่าบนภูมิภาคที่มีไฟสงครามลุกลามตรงนี้จะไม่เคยเกิดสันติภาพเลย , เพราะอย่างน้อยๆก็เคยมี ยิตซัก ราบิน อดีตผู้นำอิสราเอล (นายกฯลำดับที่ 5 ของประเทศ) กับ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำ PLO จับมือกัน เป็นหลักฐานปรากฏเด่นชัด และอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์
อย่างน้อยๆ พื้นที่แห่งนี้ ก็ช่วงเวลาที่ มี “ข้อตกลงออสโล (Oslo Accords)” ซึ่ง “ยัสเซอร์ อาราฟัต” เป็นผู้นำฝ่ายปาเลสไตน์ ผลักดันการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งกับอิสราเอล ซึ่งมี ยิตซัก ราบิน เป็นผู้นำ หลังมีปัญหากันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ อิสราเอล ตั้งประเทศ นั้น ก็เคยถือว่า เป็นช่วงเวลาดีๆ ที่ทำไว้ด้วย
ทั้งนี้ หากจะมีคำถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับข้อตกลงออสโลนั้น เรื่องนี้ถือเป็นความตกลง 2 ฉบับระหว่างรัฐบาลอิสราเอลกับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization หรือ PLO) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายปาเลสไตน์ ในอดีต
โดย “ข้อตกลงออสโล” ประกอบด้วยข้อตกลงออสโล 1 ลงนามที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี 1993 และข้อตกลงออสโล 2 ลงนามที่เมืองทาบา อียิปต์ ในปี 1995
ข้อตกลงออสโลเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการออสโล โดยเป็นกระบวนการสร้างสันติภาพที่มุ่งบรรลุสนธิสัญญาสันติภาพที่อิงจากข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และสนอง “สิทธิของชาวปาเลสไตน์ในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง” กระบวนการออสโลเริ่มขึ้นหลังการเจรจาลับที่ออสโล นอร์เวย์ นำไปสู่การยอมรับรัฐอิสราเอลขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ และอิสราเอลยอมรับองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็นผู้แทนชาวปาเลสไตน์
โดยกระบวนการออสโลเริ่มขึ้นหลังการเจรจาลับที่กรุงออสโล จากนั้น "ยิตซัก ราบิน” นายกรัฐมนตรีอิสราเอล, “บิล คลินตัน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ณ เวลานั้น และ “ยัสเซอร์ อาราฟัต” ประธานองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ได้ร่วมพิธีลงนาม “ข้อตกลงออสโล” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1993
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่า ทุกคนบนพื้นที่แห่งนี้ จะเห็นดีเห็นงาม ไปด้วยกับการที่ PLO กับ อิสราเอล ผูกมือเกี่ยวแขนกันแบบนี้ , เพราะในวันที่ 4 พ.ย. 1995 ได้กลายเป็นอีกหนึ่งจุดแตกหักของสันติภาพ
เพราะวันนั้น ยิตซัก ราบิน ผู้นำอิสราเอล ที่ถวิลหาสันติภาพ ถูกลอบสังหารโดย ยิกัล เอเมียร์ (Yigal Amir) นักศึกษาชาวยิวฝ่ายขวาออร์ธอด็อกซ์ ในอิสราเอล ซึ่งต่อต้านและไม่เห็นด้วยข้อตกลงสันติภาพออสโล เพราะฝั่งขวานั้นกลุ่มที่ต้องการให้ ชาติอิสราเอลเข้มข้น รวมถึงพวกเขาไม่เอา ไม่อยู่ด้วยกับปาเลสไตน์ เพราะฝั่งขวา มองว่า ยิตซัก ราบิน ทรยศที่ยอมหยิบยื่นดินแดนที่ถือเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวอิสราเอล
โดยเหตุการณ์ในวันนั้น วันที่ 4 พฤศจิกายน 1995 มีการชุมนุมปราศรัย เรื่องสันติภาพ และเรื่องข้อตกลงออสโล ที่เมืองหลวงเทล อาวีฟ , แต่ทว่า ขณะที่ ยิตซัก ราบิน กำลังจะเดินไปที่รถ ฉับพลัน ราบินก็ถูกกระสุนฝั่งร่าง 2 นัด (จากการยิง 3 นัด โดยกระสุนนัดที่ 3 โดนบอดี้การ์ดของนายราบิน ณ เวลานั้น)
โดยภายหลังนายราบิน เสียชีวิตลง หลังจากควันไฟปืนที่ทะลวงร่างกาย ของ ราบิน ไปพร้อมๆกับสันติภาพค่อยๆ หายไป
ฉากทัศน์ การเมืองอิสราเอลในระยะหลังตกเป็นของกลุ่มฝ่ายขวาและกลุ่มการเมืองสายกลาง
พรรคแรงงานของ ยิตซัก ราบินในอิสราเอลไม่สามารถหาผู้นำทางการเมืองที่จะมานำเสนอทางเลือกแบบที่ราบิน เคยกระทำไว้ ซึ่งต้องอาศัยทักษะที่ผสมผสานกันระหว่างความมุ่งมั่นที่จะประนีประนอมเพื่อสันติ กับความน่าเชื่อถือและพลังทางการเมืองที่มากพอสำหรับขับเคลื่อนแนวทางนี้
ช่วงชีวิตของยิตซัก ราบินนั้น , เขาเป็นนายกฯอิสราเอลคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดบนแผ่นดินอิสราเอล ณ ปัจจุบัน เพราะก่อนหน้านั้น นายกฯทั้ง 4 คนของอิสราเอลเกิดบนผืนแผ่นดินที่อื่นทั้งหมด (ทั้งเดวิด เบน-กูเรียน ,โมเช่ ชาเร็ตต์,เลวี เอสกอล และ หญิงเหล็ก โกลด้า เมอีร์
เขาเคยได้รับตำแหน่งบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในปี 1993 และรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับ ชิมอน เปเรสและยัสเซอร์ อาราฟัตในปี 1994
ยิตซัก ราบิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอลที่ถูกลอบสังหาร และเป็นคนที่สองที่ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง
ที่มา theguardian
Credit ภาพ Photo By Getty Images
ข่าวที่เกี่ยวข้อง