svasdssvasds

ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม - ความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม - ความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

ทำความรู้จัก ประเทศอิสราเอล ดินแดนที่ไฟสงครามลุกโชนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศตั้งแต่วันแรก และเวลายาวนานมาถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้ง ระหว่าง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ รวมถึงกลุ่มอื่นๆ อาทิ กลุ่มฮามาส ทำไมประเทศนี้ จึงไม่เคยสงบเลย

ประเทศอิสราเอลถือเป็นรัฐชาติ ประเทศเกิดใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจบลงไปในในปี 1945 เพียงแค่ 3 ปี  โดย อิสราเอล เพิ่งมีการประกาศเอกราช ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาแห่งความยินดีของชาวยิวทั่วโลก หลังจากเพิ่งเจอฝันร้ายจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวผ่านพ้นไป 3 ปี 

อย่างไรก็ตาม ในการตั้งประเทศอิสราเอล ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1948  ก็ใช่ว่าจะสร้างความยินดีแต่เพียงด้านเดียว เพราะ สัจธรรมของโลก เหรียญย่อมมี 2 ด้าน เพราะการมีประเทศอิสราเอล ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกัน  ไม่พอใจ เพราะนี่ไม่ต่างอะไรกับการ ขับไล่ กดดันคนปาเลสไตน์เดิมออกจากพื้นที่ที่พวกเขาอยู่มาเนิ่นนาน  

ประเทศเพื่อนบ้านอาหรับของอิสราเอล ไม่ยอมรับการประกาศเอกราชนี้ของอิสราเอล ในปี 1948 , เพราะนี่คือการกระทำ ที่ยอมรับไม่ได้ กับคนปาเลสไตน์ (ที่มีทั้งศาสนาอิสลาม และ คริสเตียน) และกองทัพของหลายๆประเทศก็โจมตีรัฐเกิดใหม่นี้ในวันถัดมา คือในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 ทันที นำโดยอิยิปต์,ซีเรีย,เลบานอน,เยเมน และ อิรัก ได้เปิดสงครามกับอิสราเอลทันที โดยในเหตุของของปาเลสไตน์ และ ชาติที่สนับสนุนนั้น ก็คือ พวกเขาอยู่บนแผ่นดินตรงนี้มานานแล้ว  

ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม - ความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

 ย้อนเข็มไปก่อนยุคล่าอาณานิคม 

ในอดีตยุคสงครามล่าอาณานิคม "อิสราเอล" นั้นยังไม่ใช่ประเทศ  แต่เป็นพื้นที่ระหว่างกลางของการทำสงคราม "แอฟริกา-เอเชีย-ยุโรป"  การสู้รบทำให้ "ชาวยิว" ที่อาศัยแต่ดั้งเดิมในอิสราเอลต้องละทิ้งถิ่นฐาน กระจายตัวเดินทางสู่หลายพื้นที่ในโลก  ไปทั้งยุโรป และ อเมริกา

แต่การจากไปของชาวยิว ไม่ได้ทิ้งความว่างเปล่าไว้ในดินแดนอิสราเอล เพราะที่นี่ได้กลายเป็นแหล่งรวมของคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งโรมัน กรีก เปอร์เซีย ต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ 

เมื่อวันเวลาผันผ่าน มีสร้างอาณาเขตพื้นที่อาศัยของตนเอง และสร้างนครศักดิ์สิทธิ์ "เยรูซาเลม" หนึ่งในนครที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ศูนย์รวม 3 ศาสนา "คริสต์-อิสลาม-ยูดาห์"

ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม - ความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

• เกิดอะไรขึ้นตอน อิสราเอล ตอนตั้งประเทศ ?

อย่างไรก็ตาม บนพื้นที่ที่เป็น อิสราเอล , ความขัดแย้งระหว่าง 2 เชื้อชาติ ทั้งอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์   โดยช่วงเวลานั้น เริ่มต้นขึ้น ชาวยิวอ้างตัวว่าอยู่มานานหลายพันปี แต่ในทางกลับกัน ชาวปาเลสไตน์ ก็อ้างว่าสร้างเมืองใหม่มาแล้วหลายร้อยปี โดยคนมุสลิมขยายเข้ามาอยู่ในพื้นทีที่เป็น ประเทศอิสราเอล ตั้งแต่ ศตวรรษที่ 7 เป็นต้นมาแล้ว เพราะพื้นที่ตรงนี้ มีคนผลัดกันเข้ามาครอบครอง โดย ชาวยิวนั้นกระจายตัวออกจากพื้นที่นี้ มาเนิ่นนานแล้วก่อนหน้านั้น 

โดย ชาวยิว เวลาย้ายไปที่ไหนก็ตาม บนผืนแผนที่โลก ก็มักจะคงเอกลักษณ์ ของ ศาสนา (ศาสนายิว) และ ชาติพันธุ์ของตนเองไว้ และยิวยังรักษา ภาษาฮิบรู (Hebrew) เอาไว้ 

ทั้งนี้ ความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น เรื่อยมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหประชาชาติ หรือ UN ถูกก่อตั้งขึ้น ในปี 1945  จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือระงับข้อพิพาทของ 2 เชื้อชาตินี้ โดยที่ประชุม UN มีมติ 31:13 ในปี 1947 หรือในอีก 2 ปีต่อมา ให้ชาวยิวมาตั้งประเทศ 

ตอนนั้น พื้นที่ที่ ชาวยิวได้ไป ชาวยิวจึงประกาศเอกราชและตั้งชื่อว่า "ประเทศอิสราเอล" เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 1948 แต่ปาเลสนิเนียนในดินแดนปาเลสไตน์ ไม่เห็นด้วยอย่างที่สุด พวกเขามองว่ายิวชุบมือเปิบ และเป็นการไม่สมควรที่นำเอาศาสนาอื่น (ชาวยิวนับถือศาสนายูดาห์) มาไว้ท่ามกลางพื้นที่ศาสนาอิสลาม (ปาเลสไตน์ และหลายประเทศโดยรอบ ต่างนับถือศาสนาอิสลาม แม้จะคนละนิกายก็ตาม) นั่นจึงไม่แปลกเลยที่ อิสราเอล ตั้งประเทศได้แค่วันเดียว วันถัดมาก็เกิดสงครามขึ้นทันที 

ย้อนดูไทม์ไลน์ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม มีสงครามทันทีตั้งแต่ตั้งประเทศวันแรก กับความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

เพราะช่วงเวลาก่อนหน้านั้น  ในปี 1947 สหประชาชาติ หรือ UN ลงมติให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์เดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คนมุสลิมอยู่ ออกเป็นรัฐยิวและอาหรับ และทำให้กรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองระหว่างประเทศ แต่ชาวอาหรับปฏิเสธแผนดังกล่าว ซึ่งถูกยกเลิกในเวลาต่อมา

และ ในวันที่สำคัญที่สุดของประเทศอิสราเอล ใน ปี 1948 หลังจากอาณัติ อังกฤษสิ้นสุดลงในวันที่ 14 พฤษภาคม สภาประชาชนชาวยิวได้ประชุมกันที่เทลอาวีฟ และสถาปนาประเทศอิสราเอล  ห้วงเวลานั้น สหรัฐฯ ยอมรับประเทศใหม่อย่างเป็นทางการในวันนั้น สหภาพโซเวียตรับทราบในสามวันต่อมา  แต่ก็ต้องเจอกับสงคราม ในวันถัดมาทันที

โดย หลังประกาศเอกราช , เมื่ออิสราเอลประกาศตัวเป็นประเทศเอกราชแล้ว ทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองจากอังกฤษอีกต่อไป เพราะก่อนหน้านั้น ตรงจุดนั้นเป็นพื้นที่กึ่งอาณานิคมของอังกฤษอยู่ 
ขณะทที่ ปาเลสไตน์จึงจับมือกับชาติอาหรับ ยกระดับเป็นสงครามระหว่างประเทศ ในวันที่ 15 พ.ค. 1948 ทันที  โดย บรรยากาศการเมืองโลก ฝั่ง UN นำโดยอังกฤษและสหรัฐฯ อยู่ฝั่งอิสราเอล แต่ฝั่งชาติอาหรับรอบด้านที่เป็นมุสลิม แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง

การสู้รบระหว่างอิสราเอล  ปะทะ ปาเลสไตน์และชาติอาหรับ มีเรื่อยมา  โดย อิสราเอลโดนรุมจากหลายชาติอาหรับ แต่เพราะเตรียมการมาเป็นอย่างดี จึงพลิกกลับเป็นฝ่ายตีโต้กลับและสามารถยึดครองดินแดนชาติอาหรับบางส่วนได้อีกด้วย  แต่ละประเทศต้องยอมทยอยเซ็นสัญญาสงบศึกกับอิสราเอล

ปูมหลัง อิสราเอล ประเทศที่เกิดพร้อมไฟสงคราม - ความขัดแย้งที่หาจุดจบไม่ได้

• สงคราม 6 วัน ปี 1967 เปลี่ยนภูมิทัศน์อิสราเอลอีกครั้ง ? 

สำหรับ เหตุการณ์สงคราม 6 วัน ในปี 1967 หลังจากที่อิสราเอล ตั้งประเทศมาได้แล้ว 19 ปี  ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของตะวันออกกลาง ณ เวลานั้น ไปเยอะมาก

ช่วงเวลานั้น อิสราเอลได้ชิงเป็นฝ่าย โจมตีอียิปต์ ทางตอนใต้ ส่งผลให้อิสราเอลได้ดินแดนใน ฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงค์ รวมถึงดินแดนบางส่วนของอียิปต์และซีเรียเพิ่มเข้ามา ซึ่งผู้นำอียิปต์ในสมัยได้ขู่ว่าจะกำจัดรัฐยิว ความขัดแย้งที่ตามมากับอียิปต์, จอร์แดน และซีเรีย ยุติลงด้วยการที่อิสราเอลยึดครองแหลมไซนาย ทางด้านทิศเหนือ, กาซา, เยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์ และที่ราบสูงโกลัน อิสราเอลยังได้นำกำแพงตะวันตกในเขตเมืองเก่าของนครเยรูซาเลม ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์ที่สุดของศาสนายูดาย มาอยู่ในมือของชาวยิวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2,000 ปี  และ  ส่งผลให้พื้นที่ของดินแดนภายใต้การควบคุมของอิสราเอลเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าตัว 

ห้วงเวลานั้น  กองกำลัง ฝั่ง อาหรับ ต้องสูญเสียไปกว่า 3,700–7,000 ชีวิต และชาวปาเลสไตน์ ถูกสังหารไปกว่า
3,000–13,000  ชีวิตเลย  ซึ่งนับเป็นความสูญเสีย 

• กลุ่ม ฮามาส คือกลุ่มของใคร ? 

สำหรับ คู่คัดแย้ง ในสถานการณ์อิสราเอล และ กลุ่มฮามาส ที่ คนทั่วโลกในความสนใจ ณ ปี 2023 นั้น  กลุ่มฮามาส กลุ่มนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี 1987 

 โดยชีค อาเหม็ด ยัสซิน หลังเกิดการลุกฮือครั้งแรกของชาวปาเลสไตน์ เพื่อต่อต้านการยึดครองดินแดนเวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา ของกองทัพอิสราเอล กลุ่มฮามาส ถือเป็นสาขาของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์ และได้สร้างกองทหารขึ้นมา โดยมีเป้าหมายเพื่อปลดปล่อยดินแดนในประวัติศาสตร์ของปาเลสไตน์

กลุ่มฮามาสยึดครองบริหารฉนวนกาซาตั้งแต่ปี 2007 หลังเกิดสงครามกลางเมืองในระยะสั้น ๆ กับกองกำลังฟาตาห์ที่ภักดีต่อประธานาธิบดี มาห์มูด อับบาส ผู้นำองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO)

ฮามาสไม่ยอมรับการดำรงอยู่ในฐานะรัฐของอิสราเอล และต่อต้านอย่างหัวชนผาต่อข้อตกลงสันติภาพออสโล ระหว่างอิสราเอล และกลุ่ม PLO ในช่วงกลางทศวรรษ 90

กลุ่มฮามาส เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรระดับภูมิภาคซึ่งรวมถึงอิหร่าน ซีเรีย และกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ซึ่งต่อต้านนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีต่อตะวันออกกลางและอิสราเอล

ฮามาสต่อต้านข้อตกลงสันติภาพออสโล ซึ่งเจรจาโดยอิสราเอลและ PLO ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 มีความมุ่งมั่นในการสถาปนารัฐปาเลสไตน์ ผ่านการโจมตีทหารอิสราเอล ผู้ตั้งถิ่นฐาน และพลเรือน ทั้งในดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองและในอิสราเอล ทำให้สมาชิกกลุ่มนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะฝ่ายทหารของกลุ่มนี้ถูกกำหนดให้เป็นองค์กร “ก่อการร้าย” โดยอิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แคนาดา อียิปต์ และญี่ปุ่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related