svasdssvasds

รู้จัก รัฐปาเลสไตน์ (Palestine) เกี่ยวข้องอะไรกับฉนวนกาซาและกลุ่มฮามาส

รู้จัก รัฐปาเลสไตน์ (Palestine) เกี่ยวข้องอะไรกับฉนวนกาซาและกลุ่มฮามาส

ทำความรู้จัก รัฐปาเลสไตน์ (Palestine) ดินแดนที่ค้นหาใน Google ไม่เจอ และกลุ่มหัวรุนแรงฮามาสพยายามใช้กำลังยึดพื้นที่คืนจากอิสราเอล

ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย (อัปเดตเมื่อ 30 พ.ย. 2565) ระบุว่า รัฐปาเลสไตน์ (Palestine) มีพื้นที่ 6,220 ตร.กม. (เทียบกับไทย ที่มีพื้นที่ 513,120 ตร.กม.) ประชากร 5 ล้านคน (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560) มีวันชาติ คือ 15 พฤศจิกายน โดยภาษาราชการ คือ ภาษาอาหรับ

รัฐปาเลสไตน์ เป็นประเทศหรือไม่ ?

เดิม พื้นที่ที่เรียกว่า ปาเลสไตน์ เป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมพื้นที่อิสราเอลและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งชื่อ ปาเลสไตน์ เป้นชื่อที่เรียกพื้นที่ในภูมิภาคมาตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย อังกฤษที่เป็นผู้ครอบครองแผ่นดิน ณ ขณะนั้น เคยไปสัญญากับกลุ่มชาวยิวว่าจะให้ประเทศ จึงเกิดเป็นอิสราเอลขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มคนที่เรียกว่า ชาวปาเลสไตน์ และเกิดความรุนแรงขึ้น สุดท้ายสุนติภาพชั่วคราวก็เกิดขึ้นและกลายเป็นรัฐปาเลสไตน์ที่มีดินแดน 2 แห่งที่ไม่ติดกัน คือ เขต West Bank และฉนวนกาซา

รัฐปาเลสไตน์ เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967 และกำหนดเยรูซาเล็ม (ฝั่งตะวันออก) เป็นเมืองหลวงของรัฐ

ข้อมูลจากปี 2557 มีประเทศที่รับรองรัฐปาเลสไตน์แล้ว 135 ประเทศ รวมไทย (สถานะ ปี 2557) (ค.ศ. 2014) แต่ยังไม่ได้มีการยอมรับว่ารัฐปาเลสไตน์เป็นประเทศ

อุตสาหกรรมหลักของ รัฐปาเลสไตน์ อุตสาหกรรมครัวเรือนผลิตเสื้อผ้า สบู่ ผลิตภัณฑ์เครื่องแกะสลักจากไม้มะกอก ของที่ระลึกทำจากมุก มีสินค้าส่งออกที่ทำคัญ คือ ผลไม้ (ส้ม) ดอกไม้ สินค้าเกษตร และมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อิสราเอล จอร์แดน อียิปต์

จากข้อมูลปี 2560 มีนักท่องเที่ยวจากรัฐปาเลสไตน์เดินทางมาประเทศไทยจำนวน 1,209 คน (ข้อมูลปี 2560) (ลดลงร้อยละ 33 จากปี 2558)

ขณะนี้กลุ่มฟาตาห์ (Fatah) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองที่มีนโยบายประนีประนอมกับอิสราเอล มี มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำการเมืองของรัฐบาลปาเลสไตน์ (Palestinian Authority- PA)

มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีแห่งรัฐปาเลสไตน์

รัฐปาเลสไตน์ ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศซึ่งปกครองและดูแลเขต West Bank ในขณะที่กลุ่มฮามาส (Hamas) ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองแนวทางอิสลามนิยมปาเลสไตน์หัวรุนแรงควบได้คุมอำนาจการปกครองในฉนวนกาซา และต่อมาทั้งสองฝ่ายตกลงจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ (Unity Government) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2557 (ค.ศ. 2014) แต่กลุ่มฟาตาห์ยังคงเป็นฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่าในรัฐบาลดังกล่าว

ภาพจาก เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย ยังบอกอีกว่า ปาเลสไตน์ได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมในการต่อสู้เพื่อสิทธิและการปลดปล่อยดินแดนปาเลสไตน์จากการยึดครองของอิสราเอล รวมทั้งนครเยรูซาเล็มตะวันออก

รัฐปาเลสไตน์เป็นสมาชิก OIC, NAM, UNESCO , PLO (Palestine Liberation Organization) และเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ 

ปาเลสไตน์ได้รับรองสถานะเป็น Non-member Observer State ของสหประชาชาติในเวที UNGA 67 (ปี 2555) (ค.ศ. 2012) และได้เข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558 (ค.ศ. 2015)

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของไทย

 

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related