จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ "กราดยิงพารากอน" จิตแพทย์อธิบายพฤติกรรมรุนแรงในเด็ก ปัจจัยความคิดรุนแรง การรับมือ วิธีการป้องกัน เพราะหลายกรณีรุนแรงจนถึงขั้นอีกฝ่ายเสียชีวิต
จากเหตุการณ์กราดยิงพารากอน ห้างใหญ่ใจกลาง กทม. เมื่อวานนี้ (3 ตุลาคม 2566) ถือเป็นเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญ โดยคนร้ายเป็นชาย พกอาวุธปืน แต่งกายมิดชิด สวมหมวก กราดยิงใส่ผู้คนที่อยู่ในห้าง ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างพากันวิ่งแตกตื่นหนีตายกันออกมา มีผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิต และบาดเจ็บหลายราย จากการตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด พฤติกรรมการก่อเหตุอุกอาจคล้ายเหตุการณ์ในอดีตหลายครั้ง
โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความสะเทือนใจอย่างมาก เพราะผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนชาย หรือเด็กชายวัยเพียง 14 ปี หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์และให้ความเห็นที่แตกออกไป บางส่วนมองว่าผู้ก่อเหตุก็เป็นแค่เยาวชน ขาดวิจารณญาณหรือการยับยั้งชั่งใจ รวมถึงวุฒิภาวะยังน้อย ขณะที่บางส่วนก็มองว่าควรได้รับโทษหนักๆไปเลย
เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลคนอื่น เช่นครู รู้สึกว่าเด็กมีพฤติกรรมแปลกไป ควรจะพาไปประเมินอย่างละเอียดโดยจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ซึ่งการเข้ารับการรักษาเร็ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดความรุนแรงได้มาก โดยเป้าหมายของการรักษา คือช่วยให้เด็กเรียนรู้การควบคุมความโกรธ การแสดงออกความไม่พอใจได้อย่างเหมาะสม ให้เด็กมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและยอมรับผลของการกระทำนั้น เช่น กำหนดข้อตกลงบทลงโทษของการทำผิด และคุยต่อว่าสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อไปอย่างไร
หากอยู่ในสังคมทั้งที่ใกล้ตัวและสังคมที่ใหญ่ขึ้นไป นอกจากนี้เรื่องปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาที่โรงเรียน ปัญหาของสังคมรอบข้างก็ควรได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม
คงจะได้เห็นข่าวกันบ่อย ๆ เกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมที่รุนแรงของเด็กจนส่งผลกระทบต่อผู้อื่น หลายกรณีรุนแรงจนถึงขั้นอีกฝ่ายเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของพฤติกรรมรุนแรงในเด็กและวัยรุ่น มีความซับซ้อนและเกี่ยวโยงกันหลายๆ อย่าง ไม่อาจตอบได้ทีเดียวว่าปัจจัยใดมากกว่าปัจจัยใด
ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดความรุนแรงได้แก่
ในกรณีนี้คนรอบข้างหรือในคนครอบครัว ควรสังเกตบุตรหลานอย่างใกล้ชิดว่ามีความเสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมรุนแรงหรือไม่ โดยประเมินได้จากการที่เด็กแสดงอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงมากกว่าปกติ, มีการระเบิดอารมณ์ที่บ่อยขึ้น, หงุดหงิดงุ่นง่าน พลุ่งพล่าน อยู่ไม่สุข, หุนหันพลันแล่น ควบคุมความโกรธ/อารมณ์ไม่ได้, ถูกกระตุ้นอารมณ์ได้ง่าย, พฤติกรรมแปลกไปกว่าเดิม เช่น พูดน้อยลงหรือมากขึ้น นิ่งลง ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกก็อยู่ที่ความสามารถทางสติปัญญาในการวางแผนด้วย
พฤติกรรมความรุนแรงในเด็ก ทุกๆ คนมีส่วนสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดได้ เพียงแค่ใส่ใจ หมั่นสังเกตและพูดคุยกับเด็กอย่างสม่ำเสมอ แต่หากพบว่ามีความเสี่ยงควรพาไปประเมินกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อลดความสูญเสียหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง