ทำความรู้จักพฤติกรรมเลียนแบบ (Copycat suicide) คืออะไร? ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ “กราดยิงพารากอน” หยุดเหตุการณ์ซ้ำๆ หยุดให้แสงอาชญากร
เหตุการณ์กราดยิงพารากอน ห้างใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา นับเป็นเหตุการณ์สุดสะเทือนขวัญ โดยคนร้ายเป็นชาย พกอาวุธปืน แต่งกายมิดชิด สวมหมวก กราดยิงใส่ผู้คนที่อยู่ในห้าง ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างพากันวิ่งแตกตื่นหนีตายกันออกมา เจ้าหน้าที่ได้อพยพผู้คนหนีออกจากห้างอย่างเร่งด่วน และมีผู้เคราะห์ร้ายเสียชีวิต และบาดเจ็บ หลายราย จากการตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด พฤติกรรมการก่อเหตุอุกอาจคล้ายเหตุการณ์ในอดีตหลายครั้ง
เหตุการณ์นี้สร้างความสะเทือนใจอย่างมาก เพราะผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชนชาย หรือ เด็กชายวัยเพียง 14 ปี หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์และให้ความเห็นที่แตกออกไป บางส่วนมองว่าผู้ก่อเหตุก็เป็นแค่เยาวชน ขาดวิจารณญาณหรือการยับยั้งชั่งใจ รวมถึงวุฒิภาวะยังน้อย ขณะที่บางส่วนก็มองว่าควรได้รับโทษหนักๆไปเลย เพราะการพกปืนมาในห้างถือว่าเป็นการเจตนาวางแผนมาอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามควรมีหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือสภาพจิตใจเยาวชนกราดยิงพารากอน เพราะดูจากพฤติกรรมแล้วไม่ปกติแน่นอนทั้งการแต่งกายเลียนแบบฆาตกร (หรือที่เรียกกันว่า Copycat) ที่กราดยิงในอเมริกาเมื่อปี 1999
เหตุผลสำคัญที่เราไม่ควรจะให้แสงให้พื้นที่กับคนร้ายหรือฆาตกรไม่ว่าจะเป็นการฉายภาพของคนร้ายซ้ำๆ เล่าประวัติและเน้นยำเรื่องราวภูมิหลังของคนร้าย หรือบางทีก็มีการนำเสนอรายละเอียดขั้นตอนการลงมือของคนร้ายแบบถี่ยิบ บางทีถึงกับมีแอนิเมชั่นภาพประกอบการลงมือของคนร้าย เพราะนั่นจะส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า พฤติกรรมเลียนแบบ (Copycat suicide) ก็คือการเกิดเหตุการณ์ซ้ำๆ คล้ายๆกัน เคยมีการศึกษาอาชญากรรายบุคคลพบว่า เขาจะลงมือก่อเหตุคล้ายๆกับอาชญากรคนก่อนหน้าโดยได้ข้อมูลการลงมือจากสื่อนี่แหละ
พฤติกรรมเลียนแบบ (Copycat suicide) ไม่ได้มีเฉพาะความรุนแรงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคดีอาชญากรรมอื่นๆ การปล้น การฆาตกรรม รวมไปถึงการฆ่าตัวตายด้วยการที่สื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นการให้ค่า และให้แสงกับผู้ก่อเหตุ และเหมือนเป็นการเติมเชื้อไฟให้เกิดการลอกเลียนแบบมากขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น
ไม่ว่าเหตุผลใดๆก็ตาม ยิ่งเป็นผลทำให้มีโอกาสเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ copycat มากขึ้น เพราะจากการวิจัยพบว่าคนร้ายที่ทำการก่อเหตุซ้ำหลังจากเหตุกราดยิง เขาจะรู้สึกว่าตนเองนั้นมีความเชื่อโยงกับคนร้ายในเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ รู้สึกว่ามีชะตาชีวิตคล้ายกัน
แต่ไม่ว่าจะถูกกลั่นแกล้งหรือกดดันมาขนาดไหน ก็ไม่มีใครมีสิทธิ์ไปคร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ นั่นเป็นการกระทำของคนขี้ขลาดเท่านั้น - ฟาโรห์, The common thread -
“การศึกษาในอดีตหลายครั้งพบว่ารายงานของสื่อเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและการฆาตกรรมดูเหมือนจะเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการก่อเหตุที่คล้ายกัน เห็นได้ชัดว่าการซึมซับรับรู้ข่าวสารมากๆ เหมือนเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ลงในความคิดของคนที่มีความเสี่ยงให้กระทำการที่คล้ายกัน”
นี่คือความน่ากลัวของพฤติกรรมเลียนแบบ copycat เพราะมันระบาดได้ง่าย เหมือนเป็นโรคติดต่อ (contagion effect) หรือก็คือการที่คนๆนึงเห็นพฤติกรรมของใครสักคนในสังคมบ่อยๆ จนคนๆนั้นคิดว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาและอาจะเป็นสิ่งโน้มน้าวใจที่จะทำให้คนๆนั้นกระทำการในลักษณะเดียวกันโดยที่ไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องผิด
ง่ายๆเลยพฤติกรรม copycat คือ พฤติกรรมการเลียนแบบที่ตรงไปตรงมา มีสติครบถ้วน รู้ผิดชอบชั่วดีแน่นอน อาจเพราะเห็นแล้วรู้สึกฮึกเหิมเลยอยากจะทำตาม
ส่วน contagion effect คือ ผลกระทบจากการมี copycat เกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้คนคนนึงเห็นว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติจากการรับรู้ข่าวสารที่อาจจะมากเกินไป จนคนคนนั้นมองว่ามันก็แค่เรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร และบางทีอาจนำไปสู่การก่อพฤติกรรมที่คล้ายกันโดยไม่รู้ตัว
นั่นก็เป็นที่ถกเถียงกันว่าคนร้ายเยาวชนคนนี้ควรจะได้รับโทษแบบไหนกันแน่ แต่ที่แน่ๆ หากเข้ากระบวรการยุติธรรมแล้ว ก็จะเป็นไปตามกฎหมายเด็กและเยาวชน ทำความเข้าใจคร่าวๆได้ดังนี้
ประมวลกฎหมายอาญาหมวด 4 ความรับผิดในทางอาญา มาตรา 73-76 มีการกำหนดเอาไว้ว่าถ้าผู้ก่อคดีอาญาเป็นเยาวชนจะต้องได้รับโทษที่ต่างกับผู้ก่อเหตุที่บรรลุนิติภาวะดังนี้
1. ผู้ก่อเหตุอายุไม่เกิน 7 ปี (ม.73) : ไม่ต้องรับโทษ
2. ผู้ก่อเหตุอายุ 7-14 ปี (ม.74) : ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลมีอำนาจดำเนินการดังนี้
3. ผู้ก่อเหตุอายุ14-17ปี (ม.75) :
4. ผู้ก่อเหตุอายุ17-20ปี (ม.76) : ลดความผิดลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่ง
ในกฎหมายนี้ ก็มีท่อนที่พูดถึงการกระทำความผิดของเยาวชนเอาไว้เหมือนกัน ซึ่ง มาตรา 420 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ระบุว่า ผู้ที่จงใจหรือประมาท และทำให้บุคคลอื่นเสียหาย ผู้กระทำจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
และเมื่อมาดูต่อในมาตรา 429 ซึ่งระบุว่า แม้บุคคลนั้นจะไร้ความสามารถเพราะเป็น "ผู้เยาว์" ก็ต้องรับผิดในสิ่งที่ละเมิด ดังนั้น พ่อแม่-ผู้อนุบาลของบุคคลนี้จะต้องรับผิดชอบร่วมด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ได้ระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว
โดยสรุปก็คือ หากเด็กกระทำผิด ผู้ปกครองอาจต้องรับผิดชอบโทษทางแพ่ง โดยการชดใช้สินไหมทดแทนอยู่ เว้นแต่ดูแลด้วยความระมัดระวังแล้ว
แต่ไม่ว่าจะมีหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะ Copycat หรือ Contagion effect แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งเสมอไป บางเหตุการณ์อาชญากรก็มีเหตุผลอื่นประกอบ และไม่ว่าจะมีเหตุผลใดก็ตาม ก็ยังขอยืนยันคำเดิมว่า ทุกคนไม่มีสิทธิ์ไปทำลายชีวิต ทำลายอนาคตของใคร มีวิธีเป็นล้านที่จะแก้ปัญหา แล้วทำไมจะต้องเลือกทางที่แย่ที่สุด
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลอ้างอิง