"ก้าวไกล" เห็นด้วยมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรของรัฐบาล แต่พบยังมีช่องโหว่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมเสนอ 6 แนวทางแก้ปัญหาหนี้ที่ยั่งยืน
ที่อาคารรัฐสภา นายกรุณพล เทียนสุวรรณ สส.และรองโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาล ว่า จากที่รัฐบาลอนุมัติ งบประมาณประจำปีรวมทั้งสิ้น 12,096 ล้านบาท แบ่งเป็นพักชำระหนี้ 11,096 ล้านบาท พัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ของ ธ.ก.ส 1,000 ล้านบาท โดยมีข้อกำหนด ช่วยเหลือเกษตรกรที่มีมูลหนี้รวมไม่เกิน 300,000 บาทนั้น
พรรคก้าวไกล เห็นถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรไม่ต่างกับรัฐบาลเช่นกัน และเห็นว่าการที่รัฐบาลรีบออกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรเป็นเรื่องดีที่ไม่ควรชักช้า
แต่พรรคก้าวไกล มีความกังวลกับมาตรกรดังกล่าวเพราะการพักหนี้ครั้งนี้ ช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรที่มีหนี้สินรวมกันของธกส. ไม่เกิน 3 แสนบาท ทำให้เกษตรกรเข้าร่วมได้เพียง 2.69 ล้านคนจาก 4.8 ล้านรายที่เป็นหนี้ ธกส. ซึ่งแปลว่าเกษตรกรอีกประมาณ 40 เปอร์เซนต์ที่มีหนี้กับ ธกส. ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ ทั้งๆที่อาจจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นหนี้เรื้อรัง และหนี้เสียที่สร้างผลกระทบต่อความเป็นอยู่ชองเกษตรกรไม่ต่างกัน หรือบางรายอาจมีความเสี่ยงมากกว่าด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ การพักชำระหนี้ให้เกษตรกรนั้น จะช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ทำให้มีโอกาสในการชำระหนี้และมีเงินสำหรับลงทุนเพิ่มมากขึ้น แต่จากอดีตที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 10 ปีเรามีนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรมามากกว่า 13 โครงการ หากการพักหนี้สามารถแก้ปัญหาหนี้สินให้เกษตรกรได้จริงเราคงสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้มาหลายปี โดยไม่เสียงบประมาณไปเปล่าๆ หลายแสนล้าน แต่หนี้ของเกษตรกรกลับเพิ่มมากขึ้นในอัตราเร่ง
การแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามแนวทางของรัฐบาลสำหรับพรรคก้าวไกลมองว่า ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่มีข้อน่ากังวลและมีช่องโหว่ในหลายจุดที่เห็นว่าอาจจะทำให้งบประมาณกว่า 30,000 ล้านบาทที่จะใช้ตลอดระยะเวลาสามปี เมื่อสิ้นสุดโครงการอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแบบยั่งยืน แต่เป็นการแก้ปัญหาแบบลูบหน้าปะจมูก
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นแนวทางของพรรคก้าวไกลในการแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรแบบยั่งยืน เพราะเราเชื่อว่านโยบายที่รัฐบาลออกมาแม้จะออกมาด้วยความหวังดีต่อเกษตรกร แต่ยังเป็นมาตรการที่ไม่เพียงพอ และไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรที่สูงอายุที่มีหนี้สินสะสมมากกว่ารายได้หลายเท่าตัวซึ่งมีมากถึง 1.4 ล้านคน แปลว่าเมื่อพ้นระยะเวลาในการพักชำระหนี้ หนี้สินทั้งหมดก็จะกลับมาพอกพูนและกดดันเกษตรกรเหมือนเดิม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง