svasdssvasds

ถอดบทเรียนพิษนโยบายประชานิยม : กับดักที่นายกฯ เศรษฐา อาจต้องเจอแบบ นายกฯ UK

ถอดบทเรียนพิษนโยบายประชานิยม : กับดักที่นายกฯ เศรษฐา อาจต้องเจอแบบ นายกฯ UK

ถอดบทเรียนการดำเนินนโยบายประชานิยม เศรษฐกิจอาจพังได้ ถ้าหากแจกเงินไม่ยั้งคิด และเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 ของพรรคเพื่อไทย อาจจะเป็นกับดักก็ได้ และเศรษฐา ทวีสิน อาจจะต้องพลาดพลั้ง

จุดกำเนิดประชานิยม

ทราบหรือไม่ว่า "นโยบายประชานิยม" เกิดขึ้นครั้งแรกในแถบประเทศ ละตินอเมริกา เพื่อแก้ไขปัญหาช่วยเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1929 และจากนั้น การใช้นโยบายประชานิยม ก็เริ่มขยายไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงระยะแรกของการใช้นโยบายนี้สามารถสร้างความคึกคักทางเศรษฐกิจได้ในวงกว้าง

แต่ถ้าหากไม่โกหกตัวเองจนเกินไปนัก ,จะพบว่า หลายๆประเทศที่ดำเนินนโนบายประชานิยมต่อเนื่องยาวนาน และเพิ่มขนาดนโยบายประชานิยมด้วยงบประมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ มักจะพบเจอกับวิกฤตการเงินการคลังการเงิน และนั่นจะส่งผลกระทบชิ่ง ทำให้เศรษฐกิจเสียหาย เกิดปัญหาสังคม และการอพยพออกนอกประเทศของประชากรในเวลาต่อมา

ตัดภาพมาที่ประเทศไทย ณ พ.ศ ปัจจุบัน เรื่อง แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ในยุครัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน จากพรรคเพื่อไทยนั้น  หากจะมองเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจก็คงจะไม่ผิด แต่หากมองว่า เรื่องนี้ เป็นหนึ่งในการแจก แบบประชานิยม ก็คงไม่ผิดเช่นกัน
 

นอกจากนี้ รัฐบาลเพื่อไทย ภายใต้การคุมบังเหียนของเศรษฐา ทวีสินยังมี การประกาศลดค่าไฟเหลือ 3.99 บาท/หน่วย รวมไปถึงการสั่งลดราคาน้ำมันดีเซลลงมาต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตร

...ใครบางคนหลับตาก็ยังมองออกว่า เรื่องราวเหล่านี้  ส่วนใหญ่ล้วนเป็นนโยบายกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ได้ก่อให้เกิดนวัตกรรมหรือการเติบโตใดๆ ในอนาคต เว้นเสียจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น (จะจริงเท็จแค่ไหนคงต้องให้วันเวลาเป็นเเครื่องพิสูจน์)

ถอดบทเรียนพิษประชานิยม : กับดักที่นายกฯ เศรษฐา อาจต้องเจอแบบ นายกฯUK

มองอย่างดวงตาเป็นธรรม แบบตาชั่ง เท่ากันทั้ง 2 ข้าง , การอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐา ผ่านการกระตุ้นความต้องการซื้อของประชาชนครั้งนี้สัมฤทธิ์ผล ก็อาจจะสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้ชั่วคราว แต่ในทางกลับกัน รัฐบาลเศรษฐา ที่มาหลังการเลือกตั้ง 2566 ก็จำเป็นต้องตอบคำถามสาธารณชนให้ได้อย่างชัดเจนว่า “แหล่งเงินทุน” ในการดำเนินนโยบายเหล่านั้นมาจากที่ใด รวมทั้งสมเหตุสมผลกับรายได้ของรัฐบาลหรือไม่ ?

เพราะหากสุดท้ายเกิดการ ประกบคู่ผิดฝาผิดตัว กันระหว่างรายรับของรัฐบาล (หากมองเปรียบเทียบให้เห็นภาพทางกีฬา เหมือน ไทยลงเตะฟุตบอลกับแชมป์โลกอาร์เจนติน่า มันประกบคู่กันไม่ได้...) และรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่สามารถระบุที่มาของเงินทุนได้ รัฐบาลของนายกฯเศรษฐา อาจตกอยู่ในที่นั่งลำบาก และเก้าอี้นายกฯอาจจะ ร้อน ขึ้นมาทันที  ร้อนจนถึงขั้นนั่งไม่ได้  คล้ายกับเมื่อครั้งรัฐบาลของลิซ ทรัสส์ (Liz Truss) อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ที่ต้องลงจากตำแหน่งหลังจากปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 45 วัน เพราะต้องการดำเนินนโยบายทางภาษี และการคลังแบบผ่อนคลาย และเข้าอุ้มราคาพลังงาน ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ตึงตัว 

ย้อนเข็มนาฬิกากลับไปเมื่อปีที่แล้ว ปี 2022  ในวันที่ 8 ก.ย.2022 หลังจากเข้ารับตำแหน่งเพียง 2 วัน ลิซ ทรัสส์ นายกฯหญิง UK ประกาศโครงการจำกัดค่าไฟในภาคครัวเรือน เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 

ต่อมาเพียง 2 สัปดาห์ ควาซี ควาร์เต็ง (Kwasi Kwarteng) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง UK ประกาศใช้นโยบายทางการคลังที่ชื่อว่า “Mini Budget” หรืองบประมาณขนาดเล็กที่เตรียมใช้เงินกว่า 4.5 หมื่นล้านปอนด์ (ประมาณ 2 ล้านล้านบาท) แบ่งเป็นการอุดหนุนราคาพลังงาน 6 หมื่นกว่าล้านปอนด์ และในอีก 5 ปีข้างหน้าก็อาจต้องกู้มาเพิ่มอีก 3 แสนล้านปอนด์ ทั้งยังเต็มไปด้วยนโยบายลดภาษีทั้งเงินได้บุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมทั้งภาษีจากประกันสุขภาพ อีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม หลังจากโครงการดังกล่าวเปิดเผยออกมา ประชาชนต่างตั้งคำถามว่า ในเมื่อไม่เก็บภาษีเพิ่ม แล้วรัฐบาลจะมี “รายได้” จากที่ไหนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะหากต้องกู้เงินมาเพื่อดำเนินนโยบาย ที่คล้าย ประชานิยม” ดังกล่าว ก็จะยิ่งเป็นภาระทางการคลังของรัฐบาล กล่าวง่ายๆ คือ นี่คือการ "สร้างงาน" ให้กับการคลัง

ถอดบทเรียนพิษประชานิยม : กับดักที่นายกฯ เศรษฐา อาจต้องเจอแบบ นายกฯUK

• ถอดบทเรียน ประชานิยมของ ลิซ ทรัสส์ อดีตนายกฯหญิง UK

จาก ลิซ ทรัสส์ อดีตนายกฯหญิง UK ถึง ‘เศรษฐา ทวีสิน  นายกคนใหม่ของไทย , เมื่อตลาดลงโทษนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกินกว่าเหตุทั้งยังมีคำถามว่า ท่ามกลางเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรช่วงนั้นที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อในเดือนก.ย. และ ต.ค.2022 ซึ่งเป็นช่วงการดำรงตำแหน่งของทรัสส์ สูงถึง 10.1% และ 11.1% ตามลำดับ การที่รัฐบาลยิ่งลดภาษีก็อาจนำไปสู่การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจซ้ำเติมแผลภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่รุนแรงอยู่แล้ว 

จากสถานการณ์ทั้งหมดจึงกดดันให้บรรดานักลงทุน และผู้คนจำนวนมากเทขายสินทรัพย์ทุกอย่างออกมาจนผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) ปรับตัวสูงขึ้น และเงินปอนด์ก็อ่อนค่าลงเกือบเทียบเท่าเงินดอลลาร์

เมื่อตลาดลงโทษนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกินกว่าเหตุท้ายที่สุด BOE ต้องเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพื่อพยุงไม่ให้เศรษฐกิจพัง ทั้งหมดจึงนำมาซึ่งการลงจากตำแหน่งของ ลิซ ทรัสส์ นายกรัฐมนตรีหญิงที่อยู่ในตำแหน่งสั้นที่สุดเพียง 45 วัน ก่อนที่ ริชี ซูนัค Rishi Sunak จะขึ้นเป็นนายกฯแทน 

ถอดบทเรียนพิษประชานิยม : กับดักที่นายกฯ เศรษฐา อาจต้องเจอแบบ นายกฯUK

ดังนั้น เห็นภาพแบบนี้แล้ว ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่า เหตุการณ์ของลิซ ทรัสส์ จะซ้ำรอยอีกครั้ง บนแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่ ? อย่างไรก็ตาม แม้ เทียบเคียง ไทยกับ UK แม้ว่าไทยจะยังไม่เลวร้ายเหมือนกับ UK แต่อย่างน้อยก็ถือเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ทำนโยบายต้องเพิ่มความระมัดระวัง

ในอดีตมีหลายๆประเทศ ที่ต้องพังพินาศทางเศรษฐกิจ เพราะประชานิยมมาแล้ว อาทิ อาร์เจนติน่า , กรีซ ยุคปี 2014 , เวเนซุเอล่า และ ศรีลังกา ทั้งหมดเป็นบทเรียนการใช้นโยบายประชานิยม เพื่อเอาชนะกันทางการเมือง รวมทั้งใช้นโยบายประชานิยมครองอำนาจทางการเมือง

 หากย้อนไปในช่วงศตวรรษที่ 19 อาร์เจนตินายังเป็น 1 ใน 10 ประเทศร่ำรวย เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าไม่ขาดสาย  ขณะที่ ในอดีตเวเนซุเอลาเคยส่งออกน้ำมันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก รายได้จากการส่งออกกว่า 90% ของเวเนซุเอลามากจากน้ำมัน แต่สองประเทศในละตินอเมริกานี้ ทำนโยบายประชานิยมกันอย่างสุดโต่ง จนสุดท้ายทำเอาเศรษฐกิจร่อแร่ถึงขั้นล้มละลาย และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้นตัว

โดยใช้ทรัพยากรของประเทศทั้งเงินงบประมาณ เงินคงคลัง รวมทั้งกู้เงินมาตอบสนองนโยบายในรูปแบบนี้ ซึ่งหากไทย ในยุครัฐบาลเพื่อไทย ที่มีเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกฯ ใช้นโยบายในรูปแบบนี้มากขึ้นก็ "อาจจะ" เดินตามรอยประเทศที่เศรษฐกิจพังพินาศแบบเช่นเดียวกับ 4 ประเทศที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้ว 

ที่มา bangkokbiznews และ กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง