สนั่นโซเชียล สาวขอลางานไปดูใจแม่ หัวหน้าไม่อนุญาต สุดท้ายแม่ตาย แถมบอกเสร็จธุระแล้วให้มาเขียนใบลาออก ขณะที่ชาวเน็ตตามหาหัวหน้ากบ พาลรุมถล่มเพจรีสอร์ทเขาใหญ่จนต้องปิดคอมเม้นต์ ล่าสุดกระทรวงแรงงานสั่งตรวจสอบแล้ว
จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์เรื่องราวพร้อมแชทที่เจ้าตัวนั้นขออณุญาตลางานจากหัวหน้า เพื่อไปดูใจแม่ที่กำลังจะเสียชีวิต แต่ทางหัวหน้าไม่อนุญาต โดยยืนยันให้เธอนั้นกลับเข้ามาทำงานก่อน ซึ่งผู้โพสต์ก็ได้ส่งรูปภาพแม่ที่นอนอยู่บนเตียงพร้อมญาติพี่น้องที่มายืนดูใจ เพราะรูว่าแม่จะอยู่ได้อีกไม่นาน
ต่อมาทางผู้โพสต์ได้แจ้งไปยังหัวหน้าว่า แม่ได้เสียชีวิตแล้ว ขอกลับบ้าน แต่ทางหัวหน้า กลับตอบมาว่า จะลาออกใช่ไหม? เสร็จธุระแล้วก็ให้มาเขียนใบลาออกด้วย ซึ่งผู้โพสต์ได้ระบุแคปชั่นว่า...แล้วฉันผิดอะไรเรื่องแบบนี้ พี่ควรเห็นใจ หรือเข้าใจหรือเปล่าเกินไปไหม
หลังโพสตืได้ถูกเผยแพร่ออกไปเหล่าชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นพร้อมกับเข้าไปถล่มเพจรีสอร์ทเขาใหญ่ ที่คิดว่าเป็นต้นสังกัดของผู้โพสต์จนต้องปิดคอมเม้นต์
ชาวเน็ตบางส่วนที่ไปคอมเม้นต์ในเพจรีสอร์ท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ดราม่า! สาวขอลางาน โดนหัวหน้าตอบกลับ "อย่าหัดให้พ่อแม่เป็นคนอ่อนแอ"
คลายล็อก 1 ก.ย. นี้ นายจ้างต้องเรียกลูกจ้างทำงาน ย้ำ ลูกจ้างห้ามขาดเกิน 3 วัน
Leave without pay โดนสั่งหยุดงาน ขอเงินชดเชยประกันสังคมยังไงได้บ้าง!!
ล่าสุด 17 ส.ค. 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึง กรณีสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ข่าวลูกจ้างสาวรายหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊ก โดยนำภาพแชทคุยกับหัวหน้าที่ทำงาน กรณีขอลางานเนื่องจากแม่ป่วยหนักและใกล้จะเสียชีวิต แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ลางานนั้น นายสุชาติระบุว่า ตนได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ พร้อมให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย
ในเบื้องต้น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 34 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 3 วันทำงาน เนื่องจากการลากิจธุระอันจำเป็น เป็นสิทธิพื้นฐานที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดสิทธิให้ลูกจ้างทุกประเภทมีสิทธิลากิจได้ แม้จะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างรายวัน และลูกจ้างประเภทอื่น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเท่าเทียมกัน
“อย่างไรก็ตาม ผมได้กำชับให้พนักงานตรวจแรงงานเร่งสอบข้อเท็จจริงจากนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป โดยกระทรวงแรงงานจะให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน”