“อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี” แนะ การแก้ปัญหา "แอชตัน อโศก" ซึ่ง ครม. สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 75(6) พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 อนุญาตให้เช่าหรือให้สิทธิทางเข้าออกได้ ถ้าตัดสินใจแบบนี้ได้ ตึกไม่ต้องทุบ ลูกบ้านไม่ต้องย้าย ไม่ต้องฟ้องกันเป็นพันคดี
“อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี” รักษาการรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับปัญหา "แอชตัน อโศก" หลังศาลปกครองสูงสุดสั่งว่า ใบอนุญาตก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
"เจ้าของโครงการ - สำนักศาลปกครอง - กทม. - รฟม." ต้องร่วมกันหาทางออกให้ลูกบ้าน "แอชตัน อโศก" หาถนนทางออกใหม่ หรือขอ ครม. ให้สิทธิ์เช่าทางเข้าออก รฟม.
ผมคาดว่า คดีเกี่ยวเนื่องมีสูงถึงพันกว่าคดี คอนโดมี 668 ยูนิต ขายส่งมอบแล้ว 580 ยูนิต มีลูกบ้านไทยและต่างชาติจาก 20 ประเทศ รวมกัน 625 ราย
การที่ศาลปกครองสูงสุดสั่งว่า ใบอนุญาตก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหตุหลักคือทางเข้ากว้าง 13 ม. เป็นพื้นที่เช่าจาก รฟม. ไม่ใช่พื้นที่ตัวเอง และประเด็นย่อยอื่นๆ
ข่าวที่น่าสนใจ
สรุปให้ "แอชตัน อโศก" ศาลสั่งทุบคอนโดหรูพันล้าน ก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
วิโรจน์ ยัน ไม่เชื่อข่าวลือ "เพื่อไทย" สลับขั้ว ดีด "ก้าวไกล" ไปเป็นฝ่ายค้าน
วิโรจน์ ยัน ไม่สนเรื่องดีลลับ แต่หากถูกหักหลัง คนทรยศสิ้นอนาคต
ฟังดูแล้ว ก็น่าตำหนิบริษัทตึกสูงกับคนให้ใบอนุญาตนี้เสียจริง แต่ทว่างานนี้ ไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะเรื่องนี้จะทำให้เกิดคดีแพ่ง ฟ้องร้องในระบบศาลยุติธรรมกว่า 1,000 คดี ระหว่าง "ลูกบ้าน - โครงการ - ธนาคาร และภาครัฐ" เช่น
1.) คดีที่ธนาคารผู้ปล่อยกู้อาจจะฟ้องลูกบ้านแต่ละราย ที่ไม่อยากจะผ่อนคอนโดต่อ เพราะผ่อนครบก็โอนไม่ได้อยู่ดี
2.) คดีที่ลูกบ้านฟ้องโครงการให้รับผิดชอบคืนพร้อมดอกเบี้ย
3.) คดีที่โครงการเรียกร้องให้ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการให้ใบอนุญาต เป็นผู้เยียวยาความเสียหาย
ประเด็นเรื่องนี้มีเพียงว่า "แอชตัน อโศก" ต้องหาทางออกเรื่องนี้ให้ได้ ต้องซื้อที่ดิน ทำถนนทางออกใหม่ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
แต่ถ้าไม่ทัน หรือจำเป็นต้องใช้ถนนทางออกร่วมกับ รฟม. เพื่อให้เป็นตามเกณฑ์อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ
"คณะรัฐมนตรี" สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 75(6) พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 อนุญาตให้เช่าหรือให้สิทธิทางเข้าออกได้ครับ อยู่ที่ "ครม." แล้วครับ ถ้าตัดสินใจแบบนี้ได้ ตึกไม่ต้องทุบ ลูกบ้านไม่ต้องย้าย ไม่ต้องฟ้องเป็นพันคดี
แต่งานนี้ก็ไม่ง่าย ควรมีความเห็นของนักกฎหมายของ กทม. - รฟม. และแม้แต่สำนักงานศาลปกครองมาสนับสนุนด้วย และต้องใช้สำนักงานยุติธรรมเพื่อป้องไม่เกิดคดีความ เป็นการทำงานเชิงรุกของกระบวนการยุติธรรมไทย
แม้ตุลาการศาลปกครองสูงสุดท่านตัดสินคดีไปแล้วเราก็ไม่อาจก้าวล่วงได้ แต่ขั้นตอนการให้คำแนะนำทางคดี เพื่อเยียวยาลูกบ้านที่เดือดร้อนท่านสามารถทำได้ เพราะงานนี้ 1 คดีของศาลปกครองสูงสุด จะทำให้เกิดอีก 1,000 คดีในศาลยุติธรรมแน่นอน!
ร่วมกันหาทางออกตอนนี้ ดีกว่าปล่อยไหลโยนลูกไปมาตามระบบราชการไทยครับ เรื่องนี้มาถึงวันนี้ได้ เพราะการปล่อยไหลและความล่าช้าในระบบราชการและระบบยุติธรรม
ต้องเร่งแก้ปัญหา โดยอาศัยหลักการบริหาร จะเป็นการปฎิรูปการทำงานระบบราชการและกระบวนการยุติธรรมไทย ป้องกันอีกหลายพันคดีที่กำลังจะเกิดขึ้น