วันอาสาฬหบูชา ประวัติ วันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2566 ความเป็นมาของการเวียนเทียน สร้างบุญเพื่อเป็นกุศลในภายภาคหน้าต่อไป
ประวัติ วันอาสาฬหบูชา ความเป็นมาคือการที่ พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกญทัญญะบรรลุธรรมบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในศาสนาพุทธ ทำให้เกิดพระสงฆ์รูปแรกของโลก ถือเป็นการที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์
ข่าวที่น่าสนใจ
วันหยุดเดือนสิงหาคม 2566 ปฏิทินวันหยุดราชการ/เอกชน ประจำปี 2023
"อาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา" เวียนเทียนออนไลน์ วิถีใหม่ชาวพุทธ วิถี New Normal
วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติ ความเป็นมาโดยย่อ
วันอาสาฬบูชา ประวัติ ปีนี้ตรงกับวันไหน - วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ถือเป็นวันพระใหญ่กลางปี และเป็นวันหยุดราชการที่มีกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนคือการทำบุญตักบาตรช่วงเช้า สวดมนต์ รักษาศีล และประพฤติตนในคุณธรรมความดี
โดย วันอาสาฬหบูชา จะมีพิธีเวียนเทียนในช่วงค่ำคืนเพื่อระลึกถึงพระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการถือดอกไม้ ธูปเทียน เดินวนขวารอบรอบโบสถ์ พร้อมตั้งจิตอธิษฐาน ท่องบทสวดเวียนเทียน ดังนี้
รอบที่ 1 (ระลึกถึงพระพุทธ)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
รอบที่ 2 (ระลึกถึงพระธรรม)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ
รอบที่ 3 (ระลึกถึงพระสงฆ์)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ