svasdssvasds

ประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ เส้นทางชีวิต อดีตอธิบดี DSI กับการถูกตัดสิน จำคุก 2 ปี

ประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ เส้นทางชีวิต อดีตอธิบดี DSI กับการถูกตัดสิน จำคุก 2 ปี

เปิดประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ซึ่งล่าสุด ศาลพิพากษาจำคุก "ธาริต เพ็งดิษฐ์ " 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่งเข้าเรือนจำทันที

ในอดีต ชื่อของ ธาริต เพ็งดิษฐ์ เป็นที่รู้จักดี ในฐานะอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ดีเอสไอ ผู้โชกโชน แต่นับตั้งแต่ปี 2560 ธาริต ถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ  ก่อนจะถูกจำคุกในปี 2561 ในคดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ แจ้งข้อหา “อภิสิทธิ์-สุเทพ” สั่งฆ่าประชาชน เหตุสลายการชุมนุม นปช. เมื่อปี 2553 

ประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2501 ปัจจุบันอายุ 65 ปี เป็นคน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า เขามีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “เบญจ” ซึ่งหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นผู้ตั้งให้ เพื่อเป็นการแก้เคล็ด ที่เมื่อแรกเกิด เขามีร่างกายไม่แข็งแรงนัก ต้องอยู่ในตู้อบที่โรงพยาบาลนานถึง 3 เดือน และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “ธาริต” เมื่อตอนอายุ 35 ปี ตามหลักทักษาปกรณ์ ตามความเชื่อของโหราศาสตร์ไทย โดยให้คำว่า ธ เป็นเดชนำหน้าชื่อ

ธาริต เพ็งดิษฐ์ จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเข้าศึกษาต่อในคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รุ่น KU 37 กล่าวคือเขาเป็นอดีตเด็ก ว.น. แต่ด้วยความไม่ชอบ และปรับตัวไม่ได้ กับระบบ “โซตัส” SOTUS

ธาริต เพ็งดิษฐ์ จึงขอลาออก ไปสมัครเรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในปี 2521 จนสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) และเนติบัณฑิตไทย รวมถึงนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ล่าสุด ศาลพิพากษาจำคุก "ธาริต เพ็งดิษฐ์ " 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่งเข้าเรือนจำทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธาริต เพ็งดิษฐ์ กับเส้นทางการทำงาน 

ธาริต เพ็งดิษฐ์ เริ่มต้นการทำงาน ด้วยการเป็นผู้ช่วยอาจารย์สอนกฎหมาย จนกระทั่งได้พบกับ คณิต ณ นคร ในฐานะอาจารย์พิเศษ จึงแนะนำให้ไปสอบอัยการ และก็สอบได้ จนกระทั่ง “ทักษิณ ชินวัตร” ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ได้ระดมนักกฎหมายหลายคน เช่น คณิต ณ นคร, เรวัติ ฉ่ำเฉลิม ร่วมก่อตั้งพรรค ซึ่งในจำนวนนั้นมีธาริตอยู่ด้วย ทำให้หลังจากที่พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง ธาริตจึงได้รับแต่งตั้งให้ช่วยราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยทำงานกับ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกัน ธาริตยังเป็นเป็นคณะที่ปรึกษาของพันศักดิ์ วิญญรัตน์ อีกด้วย

ภายหลังจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการของหน่วยงานนี้เป็นคนแรก


จากนั้น เมื่อมีการจัดตั้ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) หรือ ดีเอสไอ ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ธาริตได้โอนมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดี และต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แทน ทวี สอดส่อง ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

 
ธาริต เพ็งดิษฐ์  จากเส้นทางในอดีต เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อครั้งมีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี พ.ศ. 2553 แต่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการด้านยุทธการ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการดำเนินคดีทางการเมืองหลายคดี

  เปิดประวัติ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ล่าสุด ศาลพิพากษาจำคุก "ธาริต เพ็งดิษฐ์ " 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่งเข้าเรือนจำทันที
จุดเริ่มต้นคดี

วันที่ 25 พ.ย. 2556 ธาริต รับคำร้อง ที่พรรคเพื่อไทยฟ้องร้องถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเพื่อเอาผิดต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
วันที่ 18 ธ.ค. 2556 ได้มีประกาศกรมสอบสวนคดีพิเศษ เรื่อง มติคณะกรรมการคดีพิเศษ ให้คดีความผิดทางอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษ โดยมีมติ ว่ารับกรณี สุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวก ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นคดีพิเศษ
ในปี 2558 นายธาริตถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สั่งอายัดทรัพย์ จำนวน 90,260,687 บาท มีการแจ้งข้อกล่าวหา ในเดือน พ.ย. 2558 นอกจากนั้น ยังมีคดีความอีก 26 คดี ส่วนใหญ่เป็นคดีอาญาฐาน หมิ่นประมาท และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก่อนถูกลงโทษไล่ออกจากราชการ ในวันที่ 3 เม.ย. 2560 ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ
วันที่ 2 มี.ค. 2560 ศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งจำคุก 2 ปี นาย ธาริต แต่ลดโทษเป็นรอลงอาญา 2 ปี กรณีย้าย พ.อ.ปิยะวัฒน์ กิ่งเกตุ โดยมิชอบ
วันที่ 9 มิ.ย. 2560 ศาลฎีกา มีคำสั่งให้รับฟ้อง กรณี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ ฟ้อง นายธาริต ว่าฟ้องร้องโดยไม่สุจริต เจตนากลั่นแกล้ง
วันที่ 28 มิ.ย. 2560 ศาลมีคำสั่งรับฟ้อง คดีที่นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคเพื่อไทย และอดีต สว. กับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ให้พนักงานจดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ และหมิ่นประมาท
วันที่ 14 ธ.ค. 2561 ธาริต เพ็งดิษฐ์ ถูกจำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ

• ศาลพิพากษาจำคุก "ธาริต เพ็งดิษฐ์ " 2 ปี ไม่รอลงอาญา

อย่างไรก็ตาม ในคดีถูกฟ้องข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณี “อภิสิทธิ์-สุเทพ” ศาลได้ออกหมายจับนายธาริต เหตุไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา และศาลฎีกา ได้เลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้วถึง 8 ครั้ง ในแต่ละครั้ง นายธาริต จะส่งทนายความ พร้อมยื่นใบรับรองแพทย์ ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฎีกาออกไป เนื่องจากป่วย ทั้งโควิด และผ่าตัดนิ่วในไต

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ จำเลยที่ 1 ขอเลื่อนฟังคำพิพากษาฎีกาโดยอ้างว่าป่วยมาแล้วหลายครั้งนานกว่า 1 ปี มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า และมีพฤติการณ์หลบหนี จึงให้ออกหมายจับนายธาริตเพื่อมาฟังคำพิพากษาฎีกา และนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวันที่ 16 มิ.ย. 2566 ศาลได้นัดอ่านคำพิพากษา เป็นครั้งที่ 9 และได้นายธาริต เพ็งดิษฐ์ ก็ขอเลื่อนฟังคำสั่งศาล เพราะป่วยกระทันหัน อีกครั้ง  

อย่างไรก็ตาม วันที่ 10 กรกฎาคม ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาศาลฎีกา ครั้งที่ 10 คดีปฏิบัติหน้าที่มิชอบ หมายเลขดำ อ.310/2556 ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ผอ.ศอฉ.) ร่วมกันเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ), พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ อดีตหัวหน้าชุดสอบสวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ จากเหตุรุนแรงทางการเมืองปี 2553, พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ และ ร.ต.อ.ปิยะ รักสกุล ในฐานะพนักงานสอบสวน เป็นจำเลยที่ 1-4

ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานสอบสวนกระทำการโดยมีเจตนากลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับโทษอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 200 วรรคสอง กรณีนายธาริตกับพวกแจ้งข้อหาดำเนินคดีนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ฐานสั่งฆ่าประชาชน ในการสลายม็อบแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 จำเลยทั้งสี่ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี

related