ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัย ระวังมิจฉาชีพสร้างเฟซบุ๊กปลอม หลอกลวงผู้ปกครอง ให้พาลูกหลานเข้าประกวดเดินแบบ-ถ่ายแบบแฟชั่นเสื้อผ้าเด็ก สุดท้ายถูกหลอก ให้โอนเงินซื้อสินค้า อ้างเพื่อเพิ่มคะแนนเข้าสู่รอบ
วันที่ 2 มิ.ย. 2566 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่าได้รับรายงานว่า จากการตรวจสอบในระบบการรับแจ้งความออนไลน์พบว่า มีผู้เสียหายหลายรายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครอง ที่ต้องการให้บุตรหลานของตน เข้าสู่วงการเป็นนายแบบหรือนางแบบเด็ก ถูกมิจฉาชีพหลอกลวง โดยการสร้างเพจเฟซบุ๊กปลอมขึ้นมา เช่น เพจ Child model kids, KID Model 2023, Summer Model, Fashion Kid เป็นต้น เพื่อหลอกลวงผู้เสียหายให้สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมการคัดเลือกนายแบบนางแบบเด็ก อ้างว่าเมื่อผ่านการคัดเลือกจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น เดินแบบร่วมกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงของห้างสรรพสินค้า ได้รับเงินเดือน หรือถ่ายแบบแฟชั่นเสื้อผ้าเด็ก มีรายได้ 450-750 บาทต่องาน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการสมัคร
เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อ ติดต่อไปยังไลน์ของมิจฉาชีพ ก็จะให้ส่งรูปภาพ และคลิปวิดีโอของบุตรหลาน รวมถึงการเข้ากลุ่มไลน์โอเพนแชท (Line Open Chat) ทำกิจกรรมสะสมคะแนน เพื่อเข้าสู่รอบคัดเลือก ภายในกลุ่มดังกล่าวจะมีแอดมิน ติวเตอร์ และหน้าม้าผู้ปกครองต่างๆ โดยกิจกรรมที่ให้ผู้เสียหายทำ คือ การจำลองสั่งซื้อสินค้าเสมือนจริง ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ Central หรือให้เข้าไปกดถูกใจสินค้า ผ่านลิงก์ที่มิจฉาชีพส่งมาให้ เมื่อทำเสร็จสิ้นจะได้รับคะแนน และค่าคอมมิชชันประมาณ 10-20% ของราคาสินค้า แต่ผู้เสียหายต้องสำรองโอนเงินค่าสินค้านั้นๆ เสียก่อน โดยอ้างว่าเพื่ออนาคตของลูก ต่อมาสินค้าก็จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถถอนเงินออกมาได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ไทยต้องเร่งเดินหน้ารับมือ "ผลกระทบจากควอนตัม" ต่อระบบความปลอดภัยไซเบอร์
AIS เตือน อย่าเชื่อข่าวปลอม ยันหมายเลข 1175 ไม่ใช่มิจฉาชีพดูดเงิน
"ต๋อง ศิษย์ฉ่อย" ร่วมแถลง ตร.เตือนภัยออนไลน์ ขออายัด 700 ล้าน ทวงได้ 90 ล้าน
นอกจากนี้แล้วมิจฉาชีพยังได้ใช้วิธีการปลอมบัญชีผู้ใช้เป็นหน้าม้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถืออีกด้วย ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงและได้รับความเสียหาย จึงแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี
โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า การหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ จะมีแผนประทุษกรรมในขั้นตอนสุดท้ายเหมือนกันคือ การโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพ ซึ่งมักอ้างว่าให้ทำการสำรองเงินก่อน เมื่อทำกิจกรรมเสร็จจะได้รับเงินทั้งหมด จะแตกต่างกันที่เนื้อเรื่องในการนำมาหลอกลวงผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นการทำกิจกรรม หรือธุรกรรมใดๆ บนโลกออนไลน์ต้องรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพและมีสติอยู่เสมอ
ฝากเตือนถึงแนวทางการป้องกันการถูกหลอกลวงหารายได้จากการทำกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ดังนี้