svasdssvasds

เปิดรายชื่อ ทีมบริหารก้าวไกลชุดใหม่ ชัยธวัชหัวหน้า อภิชาติ-เลขา ไอติม-โฆษก

เปิดรายชื่อ ทีมบริหารก้าวไกลชุดใหม่ ชัยธวัชหัวหน้า อภิชาติ-เลขา ไอติม-โฆษก

เปิดรายชื่อ ทีมบริหารก้าวไกลชุดใหม่ ชัยธวัช ตุลาธน ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ -อภิชาติ ศิริสุนทร เลขาฯตามโผ ขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขึ้นกุนซือใหญ่ วางหมาก รั้งตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษาพรรค

SPRiNG ชวน เปิดรายชื่อ ทีมบริหารก้าวไกลชุดใหม่  หลังจากผลการลงคะแนน เลือก กรรมการบริหารชุดใหม่ ของพรรคก้าวไกล ในวันที่ 23 กันยายน 2566 ออกมาแล้ว หลังจากที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค  รวมถึงการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่และตำแหน่งสำคัญๆของก้าวไกล 

โดยตำแหน่งสำคัญๆ ในการเลือกตั้งภายในพรรคก้าวไกล มีดังนี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานคณะที่ปรึกาษาพรรคก้าวไกล 

ส่วน กรรมการบริหารชุดใหม่พรรคก้าวไกล อาทิ  ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคคนใหม่ 

• รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล 4 คน  ประกอบด้วย 
นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ 
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม 
พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ 
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล
 

•เลขาธิการพรรคก้าวไกล
นายอภิชาติ ศิริสุนทร เลขาธิการพรรค 

อภิชาติ ศิริสุนทร เลขาธิการพรรคก้าวไกลคนใหม่

•รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล 
นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ 
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ 
นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ 

 •โฆษกพรรคก้าวไกล
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ 

โฆษกพรรคก้าวไกลคนใหม่  นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม

•รองโฆษกพรรคก้าวไกล
น.ส.ภคมน หนุนอนันต์
กรุณพล เทียนสุวรรณ

•เหรัญญิกพรรคก้าวไกล 
น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ 

•นายทะเบียนสมาชิกพรรค
นายณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตตระกูล 

นาย สมชาย ฝั่งชลจิตร กรรมการบริหาร สัดส่วนภาคใต้ น.ส.เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหาร สัดส่วนภาคตะวันออก นายอภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ กรรมการบริหาร สัดส่วนภาคเหนือ และ นายสุเทพ อู่อ้น กรรมการบริหาร สัดส่วนปีกแรงงาน เป็นต้น

เงื่อนไขการเป็นผู้นำฝ่ายค้านของชัยธวัช

แม้พรรค ก้าวไกล จะเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่เป็น สส. แล้ว แต่ก็ใช่ว่า ชัยธวัช ตุลาธนจะเข้าดำรงตำแหน่งผู้แทนฝ่ายค้านในสภาได้ทันที ตราบที่ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก พรรค ก.ก. ยังไม่ลุกจากเก้าอี้รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องรอดูท่าทีที่ชัดเจนจาก กก.บห. ชุดใหม่ต่อไปว่าจะใช้วิธีขับนายปดิพัทธ์พ้นพรรค แล้วให้หาต้นสังกัดใหม่หรือไม่ เพื่อเก็บเก้าอี้ไว้ทั้ง 2 ตำแหน่ง ทั้งรองประธานสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภา

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดคุณสมบัติผู้นำฝ่ายค้านในสภาไว้ว่า 1. ต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มี สส. มากที่สุด 2. ต้องอยู่ในพรรคที่ไม่มีรัฐมนตรี 3. ต้องอยู่ในพรรคที่ไม่มีประธานหรือรองประธานสภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related