svasdssvasds

ส่องโควตาประธาน กมธ. แต่ละพรรค แบ่งลงตัวไม่ต้องจับสลาก ก้าวไกลได้ 11 คณะ

ส่องโควตาประธาน กมธ. แต่ละพรรค แบ่งลงตัวไม่ต้องจับสลาก ก้าวไกลได้ 11 คณะ

ชวนส่อง โควตาประธาน กมธ. แต่ละพรรคการเมือง หลังการเลือกตั้ง 2566 สามารถแบ่งกันได้ลงตัว ไม่ต้องจับสลาก ก้าวไกลได้เป็นประธาน 11 คณะ แต่วืด กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) ทำให้มีอาการน้อยใจ ชี้ รัฐบาล "บิ๊กตู่" ยังใจกว้างกว่า

ความเคลื่อนไหวการเมืองไทย ล่าสุดได้มีการแบ่ง โควตา "ประธาน กมธ." ต่างๆ สำหรับการทำงานร่วมกับรัฐบาล โดย  พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 กล่าวภาย เป็นประธานการประชุม ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เพื่อ จัดสรรโควต้ากรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร 35 คณะ ว่า ที่ประชุมจบด้วยดี ทุกพรรคถอยคนละก้าว โดยวันที่ 27 ก.ย.นี้ ทุกพรรคจะเสนอรายชื่อ สส.เข้าประจำทั้ง 35 คณะ

และวันที่ 28 ก.ย. 2566 จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการนัดแรก เพื่อเลือกประธานกรรมาธิการ และตำแหน่งอื่น ๆ ซึ่งทุกพรรคได้ประธานกรรมาธิการตามสัดส่วน แต่จะมีการเปลี่ยนชื่อกรรมาธิการบางคณะ เช่น กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และกมธ. การแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตเกษตรกรรม เพื่อเปลี่ยนเป็นภารกิจอื่นที่สำคัญกว่า

พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 ให้ความเห็นว่า ว่าความสามัคคีได้กลับมาแล้วและหลังจากนี้ก็ทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน พรรคใหญ่ยอมถอยให้

ผลสรุปของ กมธ. ตามโควตา แต่ละพรรคการเมือง หลังการเลือกตั้ง 2566  มีดังนี้

พรรคก้าวไกล ได้ประธาน กมธ.11 คณะ
1.กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ
2.กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน 
3.กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ
4.กมธ.การสวัสดิการสังคม
5.กมธ.การทหาร
6.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย
7.ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ
8.กมธ.ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
9.กมธ.การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม
10.กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน
11.กมธ.การคุ้มครองผู้บริโภค

พรรคเพื่อไทย ได้ประธาน กมธ. 10 คณะ
1.กมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
2.กมธ.การคมนาคม
3.กมธ.การท่องเที่ยว
4.กมธ.การสาธารณสุข
5.กมธ.การต่างประเทศ
6.กมธ.การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
7.กมธ.กิจการสภาผู้แทนราษฎร
8.กมธ.การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
9.กมธ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด
10.กมธ.การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน

ส่องโควตาประธาน กมธ. แต่ละพรรค แบ่งลงตัวไม่ต้องจับสลาก ก้าวไกลได้ 11 คณะ

พรรคภูมิใจไทย ได้ประธาน กมธ. 5 คณะ
1.กมธ.การศึกษา
2.กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ
3.กมธ.การปกครอง
4.กมธ.การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย
5.กมธ.การแรงงาน

พรรคพลังประชารัฐ ได้ประธาน กมธ. 3 คณะ
1.กมธ.การกีฬา
2.กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ
3.กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม

พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ประธาน กมธ. 2 คณะ
1.กมธ.การพลังงาน
2.กมธ.การอุตสาหกรรม

พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประธาน กมธ. 2 คณะ
1.กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา
2.กมธ.การตำรวจ

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ประธาน กมธ. 1 คณะ
1.กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ

พรรคประชาชาติ ได้ประธาน กมธ. 1 คณะ
1.กมธ.การกฏหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน

• "ก้าวไกล" ผิดหวัง ฝั่ง รัฐบาลคว้ากมธ.ป.ป.ช. ชี้  รัฐบาล "บิ๊กตู่" ยังใจกว้างกว่า 

อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการแบ่ง โควตา "ประธาน กมธ." ต่างๆ สำหรับการทำงานร่วมกับรัฐบาลแล้ว   นายชัยธวัช ตุลาธน รักษาการเลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวภายหลังประชุม ตัวแทนพรรคการเมืองเพื่อจัดสรรโควตาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ว่า  ในที่ประชุมกล่าวตามตรงว่า บรรยากาศไม่ค่อยดี พรรครัฐบาลบางส่วนเเทนที่จะยอมถอยคนละก้าว เขาก็ไม่ถอย เราพยายามเจรจาว่า อะไรที่มันทับซ้อนกันก็ควรที่จะคุยกันได้ เพื่อให้บรรยากาศเป็นไปด้วยดี เพื่อให้การตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านเป็นไปได้ด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้นทั้งหมด

เมื่อผู้สื่อข่าวสายการเมือง สอบถามไปยัง ชัยธวัช ตุลาธน  ว่าคิดเห็นอย่างไรในเมื่อ กรรมาธิการ ป.ป.ช. ไม่ได้อยู่ในฝั่งฝ่ายค้าน ไม่ได้อยู่ในฝั่งก้าวไกล แต่กลับไปอยู่กับพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล นายชัยธวัช รักษาการเลขาก้าวไกล ระบุว่า ในความเป็นจริงแล้วควรจะเป็นประเพณีปฏิบัติได้แล้วในระบบรัฐสภา กรรมาธิการสำคัญๆที่เป็นการตรวจสอบฝ่ายบริหาร เช่น กมธ.ติดตามงบประมาณ และ กมธ.ป.ป.ช. เป็นต้น ควรจะเป็นของฝ่ายค้าน แต่ตอนนี้แน่นอนว่า กมธ.ติดตามงบประมาณเป็นของก้าวไกล

แต่คำถามคือ สังคมคาดหวังเรื่องของการตรวจสอบทุจริตคอรัปชันและการประพฤติมิชอบ ที่กลายเป็นของรัฐบาลก็คงคาดหวังได้ยาก แต่ตนก็เข้าใจเพราะหลายรัฐบาลที่ผ่านมา อย่างประธานกมธ. ป.ป.ช. ก็เป็นฝั่งที่รัฐบาลนั่ง ทั้งสมัยของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็เป็นเพื่อไทยนั่ง สมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ก็นั่ง แต่กลายเป็นว่า ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังมีความใจกว้างมากกว่า ที่ให้ฝ่ายค้านได้มาดูกมธ.นี้ ซึ่งน่าเสียดายว่า รัฐบาลพลเรือนชุดแรก หลังรัฐประหาร ไม่ปล่อยพื้นที่ตรงนี้ให้ฝ่ายค้าน แต่ก็ไม่เป็นไร เพราะยังมีอีกหลายกลไก ที่จะใช้ในการตรวจสอบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related