หวั่นใจเหลือเกิน! พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ส่อแววอาจไม่ได้เป็น ผู้นำฝ่ายค้าน อีกหนึ่งตำแหน่ง หลังการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย หากต้องยุติปฏิบัติหน้าที่ อย่างเป็นทางการ จากการที่ ศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ จากกรณีถือหุ้นสื่อไอทีวี ITV
ทราบหรือไม่ว่า หลังจากการที่ พรรคเพื่อไทย เลือกแยกทางกับพรรคก้าวไกล ในการจัดตั้งรัฐบาล ก่อนจะมีการโหวตนายกฯรอบ 3 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2566 นี้ , โดยหลังจากการแถลงข่าวของพรรคเพื่อไทย ในวันที่ 2 สิงหาคม 2566 เป็นที่ชัดแจนแล้วว่า ก้าวไกล จะไปอยู่ในตำแหน่งฝ่ายค้าน แม้ว่า จะได้เสียง สส. มากที่สุดก็ตาม ด้วยจำนวน 151 เสียง
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีก 1 ประเด็นที่ผู้คนเริ่มพูดถึง ว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กำลังจะ "พลาด" อีกหนึ่งตำแหน่งด้วย นั่นคือ ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน
ทั้งนี้ เนื่องจาก พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถูกศาลรัฐธรรมนูญออกคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่ จากกรณีถือหุ้นสื่อไอทีวี ITV หลังรับวินิจฉัยสมาชิกภาพ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา และในฐานะที่ “พิธา” เป็นผู้ถูกกล่าวหา ศาลรัฐธรรมนูญ เปิดโอกาสให้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาได้ภายใน 15 วัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"เสรีพิศุทธ์" แนะ "ก้าวไกล" ตอบแทนบุญคุณช่วยโหวตนายกฯ "เพื่อไทย"
โดย สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ในวันที่ 3 ส.ค. 2566 เวลา 09.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ไว้วินิจฉัยหรือไม่ หลังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 กรณีรัฐสภามีมติไม่เห็นชอบกับการเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล เป็นนายกฯ รอบสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้รับคำร้องทางธุรการเรียบร้อยแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเบื้องต้น จะออกได้ 3 แนวทาง คือ
1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง
2.ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง แต่ไม่มีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ
3.ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง และมีคำสั่งให้ชะลอการโหวตนายกฯ ไว้ก่อน
บทสรุป
ทั้งนี้ หาก "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการจริงๆ เขาก็จะหมดสิทธิ์ เป็นผู้นำฝ่ายค้านด้วย เพราะ โดยคุณสมบัติของผู้นำฝ่ายค้านนั้น ระบุไว้ว่า ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (หรือเป็น สส.) ที่เป็นผู้นำในส่วนของพรรคฝ่ายค้าน (พรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี ประธานสภา และรองประธานสภา) ในสภาผู้แทนราษฎรไทย
หาก พิธา ต้องพลาดผู้นำฝ่ายค้านขึ้นมาจริงๆแล้ว มันก็เหมือนเป็นการเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ของก้าวไกล เพราะก่อนหน้านี้ ก้าวไกลต้องพลาดตำแหน่งประธานสภาฯ ไปให้กับวันมูหะมัดนอร์ มะทา จาก พรรคประชาชาติแล้ว , พลาดการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง 2566 แล้ว เพราะเพื่อไทยประกาศแยกทางแล้ว