svasdssvasds

เตือนด่วน! ฉบับ 10 มรสุมพาดผ่านไทย 31 จังหวัดเตรียมรับมือ ฝนตกหนักถึงหนักมาก

เตือนด่วน! ฉบับ 10 มรสุมพาดผ่านไทย 31 จังหวัดเตรียมรับมือ ฝนตกหนักถึงหนักมาก

อุตุฯ เตือนด่วน! ฉบับที่ 10 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก” 31 จังหวัดรับมือ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ขณะที่ กทม. ฝนถล่ม 60%

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 10 (215/2566) มีผลกระทบจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566

ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

3 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ : จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง : จังหวัดกาญจนบุรี

ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2566  

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 

กรุงเทพและปริมณฑล

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ 

อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคเหนือ

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ 

น่าน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส 

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ 

มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 28-36 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 

ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส 

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด

อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส 

อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. 

ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร 

ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี และนราธิวาส

อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. 

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มี ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต

อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. 

ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 

ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

related