svasdssvasds

4 ความน่าจะเป็น ฉากทัศน์ ก่อนโหวตนายกรอบ 3 : เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครต้องบอกเลิก

4 ความน่าจะเป็น ฉากทัศน์ ก่อนโหวตนายกรอบ 3 : เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครต้องบอกเลิก

เช็ก 4 ความน่าจะเป็น ฉากทัศน์การเมือง ก่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 : เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครต้องเป็นฝ่ายบอกเลิก หรือยังเกี่ยวก้อย เดินไปด้วยกันไปได้ตลอด

ความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาล แม้ช่วงเวลานี้ ไทยจะเข้าสู่ช่วงหยุดยาวหลายวัน ทั้งจากวันอาสาฬหบูชา วันที่ 1 สิงหาคม และ เข้าพรรษา วันที่ 2 สิงหาคม 2566 แต่ความเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาล ก็ยังมี ความร้อนแรง อยู่เสมอๆ แม้จะเป็นช่วงวันหยุดก็ตาม 

โดยในช่วงที่ผ่านมา เมื่อการจัดตั้งรัฐบาลเปลี่ยนมือจากพรรคก้าวไกล มาเป็น การควบคุมคอนโทรลของพรรคเพื่อไทยแล้ว  แสงไฟต่างๆ ต่างจับจ้องมาที่พรรคเพื่อไทย พรรคที่มีเสียงเป็นอันดับ 2 หลังการเลือกตั้ง 2566  โดย "นายภูมิธรรม เวชยชัย" รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความคืบหน้าการนัดประชุม 8 พรรคร่วม ภายหลังนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา ได้บรรจุวาระการประชุมรัฐสภา เพื่อเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 4 ส.ค. 256 นี้ว่า เบื้องต้นจะนัดประชุม 8 พรรคร่วม ในวันที่ 2 สิงหาคม ที่พรรคเพื่อไทย

4 ความน่าจะเป็น ฉากทัศน์การเมือง ก่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 : เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครต้องเป็นฝ่ายบอกเลิก หรือยังเกี่ยวก้อย เดินไปด้วยกันไปได้ตลอด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขณะนี้ทั้ง สส.และ สว. แสดงความเห็นตรงกันว่าพร้อมจะยกมือสนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย แต่ต้องไม่มีพรรคก้าวไกล และนี่คือโจทย์ยากในสมการการจัดตั้งรัฐบาล เพราะหากยังมีพรรคก้าวไกลร่วมอยู่ สว. และ สส. ยืนยันว่าจะไม่ให้เสียงสนับสนุน และเป็นปัญหาที่พรรคเพื่อไทยประสบในขณะนี้ และจะนำไปหารือกันในที่ประชุมพรรคร่วมต่อไป จากนั้นพรรคเพื่อไทย จะได้นัดประชุม สส.ในวันที่ 3 สิงหาคม ที่รัฐสภา ก่อนที่จะโหวตผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ในวันที่ 4 สิงหาคม 2566

ภาพชัดๆ ของเพื่อไทย ที่สื่อออกมา นั่นคือ ในการ โหวตนายกรอบ 3 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2566 นี้ แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยที่วางตัวไว้คือ "นายเศรษฐา ทวีสิน" นั้น หาก สว.และ สส.บางส่วนที่ได้ทาบทามไว้แล้วในการมาเป็นพันธมิตรใหม่ในการตั้งรัฐบาลโดยไม่มีพรรคก้าวไกลนั้น ตอนนี้ ณ เข็มนาฬิกาเดินไปอย่างไม่หยุดยั้ง รอเพียงการพูดคุยระหว่างแกนนำทั้งสองพรรคในชั้นต้น ก่อนที่จะแจ้งให้ 8 พรรคร่วม ทราบถึงสถานการณ์ที่พรรคเพี่อไทยได้ไปประสาน สส. และ สว.ไว้ให้ 8 พรรคได้ทราบและมีการวางสมมติฐาน และ 4 ความเป็นไปได้ หรือ 4 ความน่าจะเป็น  ที่จะฉากทัศน์การเมือง  ก่อนโหวตนายกฯ ดังนี้ 

1.หากวันพฤหัสบดี 3 ส.ค. 2566 นี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะมีการลงมติเลือกนายกฯในวันที่ 4 ส.ค.และหากพรรคก้าวไกลยังไม่ยอมลดเพดานในการร่วมรัฐบาล พรรคเพื่อไทยน่าจะจับมือพรรคก้าวไกลไว้ก่อน (ยึด 8 พรรคร่วมเดิม)  แล้วเสนอชื่อของนายเศรษฐา หากนายเศรษฐาไม่ผ่านความเห็นของ สส.และ สว.จะรอประธานรัฐสภานัดประชุมรัฐสภาครั้งที่ 4 อีกครั้ง 

2. แต่ หากเกิด scenario อีกทางหนึ่ง นั่นคือ หากศาลรัฐธรรมนูญ "รับคำร้อง" ของผู้ตรวจการแผ่นดินไว้ ต้องรอว่าจะใช้เวลาวินิจฉัยกี่วัน ดังนั้นวันที่ 4 สิงหาคม 2566 อาจจะไม่สามารถเลือกนายกฯได้  ตรงนี้พรรคเพื่อไทยจะมีเวลาเจรจากับพรรคต่างๆและ สว.ได้อีกหลายวัน  และยังจะพูดคุยกับแกนนำพรรคก้าวไกลได้มากขึ้น

เช็ก 4 ความน่าจะเป็น ฉากทัศน์การเมือง ก่อนโหวตนายกฯ รอบ 3 : เพื่อไทย-ก้าวไกล ใครต้องเป็นฝ่ายบอกเลิก   หรือยังเกี่ยวก้อย เดินไปด้วยกันไปได้ตลอด

3. สมมุติหากพรรคเพื่อไทย จะประกาศยกเลิก MOU 8 พรรคร่วม  เพราะเหตุผลว่าพรรคเพื่อไทยเดินหน้าไม่ได้ จำเป็นต้องยกเลิก MOU 8 พรรค บางคนในพรรคยังกังวลว่าหากเสนอชื่อ"นายเศรษฐา"เป็นนายกฯ อาจโดนสมาชิกรัฐสภาบางส่วนอภิปรายและอาจลงคะแนนในมุมตรงข้ามกับพรรคเพื่อไทย เพราะนายเศรษฐา ทวีสิน เคยแสดงตัวชัดว่า หนุนพรรคก้าวไกล และเห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมทั้งเรื่องธรรมาภิบาลของนายเศรษฐาในช่วงที่ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มมีกระแสข่าวเกิดขึ้นแล้ว

4.หากนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯเพื่อไทย ไม่ผ่านคะแนนเสียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา (375เสียง) พรรคจะให้พรรคอันดับสามคือพรรคภูมิใจไทยเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลและตกลงกันในชั้นต้นว่าพรรคภูมิใจไทยจะเสนอให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร อีกหนึ่งแคนดิเดตนายกเพื่อไทย เป็นนายกฯ 

ความจริงหนึ่งข้อที่ปฏิเสธไม่ได้ คือจริงๆแล้วทุกฝ่ายในสังคมทราบดีว่าพรรค "ก้าวไกล" พยายามยื้อเวลาและยืนยันไม่ลดเงื่อนไขที่ สส.และ สว.ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ โดยพรรคก้าวไกล พรรคที่ได้คะแนนเสียง สส.อันดับ 1 จำนวน 151 เสียง รอเวลาให้พรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายแจ้งสังคมเอง ว่าทำไมต้องยกเลิก MOU 8 พรรค และจับขั้วใหม่ทางการเมือง โดยต้องไปแตะมือกับพรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ชาติไทยพัฒนา  ชาติพัฒนากล้า และพรรคเล็กๆ มาเสริมแทนพรรคก้าวไกล  ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยจะเป็นฝ่ายเสียเครดิตกับสังคมและอาจเกิดความวุ่นวายทางการเมืองขึ้น

 ตอนนี้ เพื่อไทย ได้หารือกับแกนนำบางพรรคในฝ่าย 188 สส.เรียบร้อยแล้ว แต่ยังติดขัดกับการชี้แจงกับสังคมว่าทำไมพรรคเพื่อไทยจึงเชิญพรรคเหล่านี้มาร่วมงาน อาทิ พรรคภูมิใจไทย พรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับ 3 ถึง 71 เสียง (พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 71 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 68 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน)   ที่มีปัญหาความไม่โปร่งใสหลายวาระในกระทรวงคมนาคมและกัญชาเสรี รวมทั้งภาพลักษณ์ของแกนนำพรรคนี้ด้วยที่สังคมไม่ค่อยยอมรับ

ที่มา NATION 

related