ย้อนคำพูด พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ที่เคยตอบคำถามสื่อมวลชนต่างประเทศ เกี่ยวกับประเด็น ทักษิณกลับบ้าน ตั้งแต่ช่วงวันเลือกตั้ง 2566
ประเด็น ทักษิณ ชินวัตร จะกลับประเทศไทย ในรอบ 15 ปี ถูกจุดเป็นพลุ ให้แตกประกายเต็มท้องฟ้าการเมืองไทยอีกครั้ง ในวันที่ อดีตนายกฯ มีอายุครบรอบ 74 ปี เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา จากการโพสต์เปิดเผยของอุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ลูกสาว , สำหรับ ประเด็น ทักษิณกลับไทย ถูกพูดถึงในหลากหลายมุม และเชื่อหรือไม่ว่า ในช่วงการเลือกตั้ง 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯก้าวไกล ก็เคยพูดถึง การกลับบ้านของทักษิณไว้ด้วย
โดย ประเด็นทักษิณกลับไทย นั้น , สื่อต่างชาติได้ยิงคำถามใส่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 2566 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง 2566 และ ณ เวลานั้น ก้าวไกลกำลังมีคะแนนนำในการนับคะแนนเลือกตั้ง โดย พิธา ตอบคำถามสื่อต่างชาติเกี่ยวกับการร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ภายใต้เงื่อนไขพา "ทักษิณ" กลับบ้าน ว่า เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ใครสักคนจะกลับบ้านเกิด แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองของไทย
ข่าวที่เกี่ยว
โหวตนายกรอบ 3 วันที่ 4 ส.ค. 66 อาจารย์วันนอร์ กดกริ่งเรียก ประชุมสภาฯ
ชูวิทย์ เปิด ซูเปอร์ดีล อนุทิน แกนนำตั้งรัฐบาล แต่ยก เศรษฐา นั่งนายกฯ
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศถาม "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ว่าการจะคุยกับพรรคเพื่อไทยในการจัดตั้งรัฐบาลมีความจำเป็นต้องคำนึงถึงการกลับมาของทักษิณหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า การจะร่วมมือกับพรรคเพื่อไทยเป็นสิ่งที่พูดมาโดยตลอด ไม่ใช่แค่วันนี้ และคิดว่าการที่นายทักษิณสามารถกลับมาเข้ากระบวนการยุติธรรมที่เป็นกลางจริงๆ ไม่เอาคู่แข่งทางการเมืองมาเป็นคู่ขัดแย้ง ก็เป็นสิทธิที่พลเมืองควรจะได้รับ ไม่ใช่แค่คุณทักษิณอย่างเดียว แต่รวมถึงคนที่มีส่วนในความขัดแย้งตลอด 17 ปีที่ผ่านมา
ส่วนการที่ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับมาจะทำใหเกิดความขัดแย้งมากขึ้นหรือไม่ นายพิธากล่าวว่า เรื่องความขัดแย้งหากเป็นระบบที่ยุติธรรม เป็นกลาง และไม่ใช่ระบบที่ทำลายกันคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยซ้ำ ไม่ใช่ว่าก้าวข้ามความขัดแย้งแต่ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีการแสวงหาข้อเท็จริงซึ่งเป็นปัญหา แต่ต้องทำให้ระบบยุติธรรมยุติธรรมกับทุกฝ่าย และไม่ทำให้คนเห็นต่างทางการเมืองต้องติดคุก
.
"ถ้าเขาผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่ยุติธรรม น่าจะไม่มีใครสร้างความขัดแย้งเพิ่มอีก อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกัน ถ้ามันไม่ยุติธรรม ถ้ามันถูกแทรกแซง หรือถูกการเมืองแทรกแซง มันก็อาจจะเกิดความขัดแย้งได้
แต่ผมมองว่าเทรนด์ (ณ ตอนนั้นก้าวไกลมีคะแนนนำในการนับคะแนนเลือกตั้ง) รัฐบาลควรทำให้กระบวนการยุติธรรม เป็นดั่งชื่อ สำหรับทุกคนในประเทศนี้ ไม่ว่าเขาจะชื่อ ทักษิณ หรือไม่ก็ตาม ซึ่งหมายรวมถึงคนรุ่นเก่าและใหม่ด้วย เรามีส่วนหนึ่งที่จะตรวจสอบการนิรโทษกรรมตรวจสอบหาความจริง เพื่อตามหาความยุติธรรมและความน่าเชื่อถือ นั่นแหละคือทางที่จะออกจากความขัดแย้ง" พิธา ลิ้มเจริญรัตน์กล่าว