วิเคราะห์ความเป็นไปได้ สูตร จัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย หลังพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ได้นั่งนายกฯ และพรรคก้าวไกลยอมถอย เปิดทางให้พรรคอันดับ 2 อย่างเพื่อไทยจัดตั้งแทน
กลายเป็นสิ่งที่สังคมสนใจในประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุด เพราะ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกกลเกมการเมือง สกัดกั้นไม่ให้ โหวตเป็นนายกฯรอบ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ ณ เวลานี้ มีโอกาสที่ พรรคเพื่อไทย มีโอกาสที่จะพลิกสลับได้เป็น แกนนำ ในการจัดตั้งรัฐบาลแทน
โดยสูตรการเมือง สูตรการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ตอนนี้ทุกฝ่ายได้แต่วิเคราะห์ คาดการณ์ โดย สูตรการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของพรรค เพื่อไทย
ความเป็นไปได้ สูตรที่ 1
ยึดหลัก MOU ไว้ , 8 พรรคร่วม 312 เสียง ประกอบด้วย พรรคอันดับ 1 พรรคก้าวไกล 151 เสียง พรรค เพื่อไทย 141 เสียง พรรคประชาชาติ (ปช.) 9 เสียง พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) 6 เสียง พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.) 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย (สร.) 1 เสียง พรรคเป็นธรรม (ปธ.) 1 เสียง และพรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง พร้อมกับชู เศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เป็นแคนดิเดตนายกฯ ให้ที่ประชุมรัฐสภาเลือก
จากนั้น พรรคเพื่อไทย จะต้องไปหาเสียงจาก สว. มาให้ได้ 63 เสียงขึ้นไทย ซึ่งจากการเปิดเผยของพรรคเพื่อไทย หน้าที่เจรจากับสว.นั้น พรรคเพื่อไทย จะส่ง สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้ประสานพูดคุย ตามที่เป็นข่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเป็นไทยได้ สูตรที่ 2
ยึด หลัก MOU ไว้ แต่ไปหาเสียง จากพรรคการเมือง ที่อยู่ ขั้วรัฐบาลเก่า , 8 พรรคร่วม 312 เสียง ประกอบด้วย พรรคอันดับ 1 พรรคก้าวไกล 151 เสียง พรรค เพื่อไทย 141 เสียง พรรคประชาชาติ (ปช.) 9 เสียง พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) 6 เสียง พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.) 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย (สร.) 1 เสียง พรรคเป็นธรรม (ปธ.) 1 เสียง และพรรคพลังสังคมใหม่ 1 เสียง พร้อมกับชู เศรษฐา ทวีสิน ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เป็นแคนดิเดตนายกฯ ให้ที่ประชุมรัฐสภาเลือก ตามแผนเดิม
จากนั้น พรรคเพื่อไทย ต้องไปคุยกับ ของภูมิใจไทย ซึ่ง เป็นพรรคที่มี สส. มากเป็นอันดับ 3 หลังการเลือกตั้ง 2566 โดยมีเสียงทั้งสิ้น 71 เสียง , หรือ อาจจะไปหา 10 เสียงเพิ่มจากพรรคชาติไทยพัฒนา ที่มี วราวุธ ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค
จากสมการนี้ จะทำให้ พรรคร่วมรัฐบาลเพิ่มเป็น 10 พรรค และมีเสียง สส.ทั้งสิ้น 393 ซึ่ง จำนวนตัวเลขนี้ก็ถือว่า เพียงพอต่อการโหวตเลือกนายกฯ ที่ต้องการเสียง 376 เสียง (กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา) โดยสูตรการจัดตั้งรัฐบาลนี้ ถ้า เกิดขึ้นจริง ก็ไม่ต้องไปหวัง หรือไปกังวลกับ เสียงของ สว. เลย
ความเป็นไปได้ สูตรที่ 3
สูตร รื้อ MOU , โดยมีความเป็นไปได้ ที่ เพื่อไทย 141 เสียง จะยังยึดโยงกับ ประชาชาติ 9 เสียง, พลังสังคมใหม่ 1 เสียง, พรรคเพื่อไทรวมพลัง (พทล.) 2 เสียง พรรคเสรีรวมไทย (สร.) 1 เสียง , และไปจับกับขั้วอำนาจเก่า อาทิ ภูมิใจไทย 71 เสียง,พลังประชารัฐ 40 เสียง, ประชาธิปัตย์ 25 เสียง , ชาติไทยพัฒนา 10 เสียง และชาติพัฒนากล้า อีก 2 เสียง รวมกันเป็น 302 เสียง จากนั้นก็ไปหาเสียงโหวตจากกลุ่ม สว. 73 ขึ้นไป ซึ่งหากเข้าสมการนี้ มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ เพราะมีพลังประชารัฐ ของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณอยู่ และดีลกับกลุ่ม สว. ส่วนใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียง 3 สูตรของการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อไทย ซึ่ง ไม่ว่าจะออกมาเป็นรูปแบบใด ล้วนมีต้นทุนทางการเมือง และทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้น มันมี ราคาที่ต้องจ่าย เสมอ