ส่องปัญหาขยะบนเกาะกลางทะเล แหล่งท่องเที่ยวแนวหน้าของไทย แต่ก็เป็นบ่อขยะดี ๆ เช่นกัน แต่ปัญหานี้จัดการได้ ด้วยโครงการ Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง กับอิฐรักษ์โลก
ขยะบนเกาะ เป็นปัญหาที่จัดการยากกว่าขยะบนบกหลายเท่า เนื่องจากคนรับซื้อขยะมองว่า การซื้อขยะจากเกาะไปกำจัดนอกเกาะหรือบนบกนั้น ไม่คุ้มทุน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ชาวบ้านบนเกาะเลือกที่จะกำจัดขยะด้วยการฝังและการเผา
การกำจัดขยะด้วยการฝังกลบ ทำให้เกิดบ่อฝังกลบบนเกาะจำนวนมาก และขยะส่วนใหญ่เป็นพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือหากเปลี่ยนไปเป็นการเผา เราก้รู้ดีว่ามันปล่อยมลพิษให้กับสภาพอากาศของโลกอย่างร้ายแรง
ปัญหาขยะ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมากและเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งจัดการ เนื่องจากประเทศไทยมีจำนวนเกาะเยอะ และเกาะส่วนใหญ่ก็เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยว จึงทำให้ปริมาณขยะทั้งจากในและนอกเกาะเพิ่มพูนมหาศาล
เพื่อแก้ปัญหานี้ นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ ซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่น ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขและจัดการขยะบนเกาะให้ โดยเริ่มโมเดลที่ เกาะพะงัน จ.สุราษธานี ผ่านโครงการ “Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก! อิฐรักษ์โลก ทำจากขยะพลาสติก ราคาถูกกว่าอิฐทั่วไป ทนทานกว่าด้วย
Toyota จับมือ CP เตรียมเปลี่ยน "มูลไก่" และขยะอาหาร ให้เป็นพลังงานไฮโดรเจน
ซีพี ออลล์และเซเว่น อีเลฟเว่น ได้เริ่มต้นโครงการที่โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ด้วยการสนับสนุนให้คุณครูในโรงเรียนสอนให้เด็ก ๆ แยกขยะอย่างถูกวิธี และนำไปอัพไซเคิล ให้เป็นก้อนอิฐรักษ์โลก เพื่อในท้ายที่สุดจะกลายเป็นสนามตระกร้อตามที่เด็ก ๆ ต้องการได้
แต่สำหรับโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ต้องบอกว่า ไม่ใช่ว่าโรงเรียนไหนหรือองค์กรไหนก็ทำได้แบบนี้ โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา เริ่มจากการสมัครเข้าร่วมโครงการต้นกล้าไร้ถังกับซีพีออลล์ก่อน และพยายามในการปรับตัวให้โรงเรียนมีขยะให้น้อยที่สุด
เมื่อการแยกมีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นถึงความพยายามตั้งใจ ซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่น จึงได้เข้ามาช่วยสนับสนุนเพิ่มเติมแบบเต็มรูปแบบ เพราะเห็นว่าโรงเรียนสามารถทำได้ตามเป้าหมาย โรงเรียนเกาะพะงันศึกษาจึงสามารถบรรลุไปถึงโครงการ Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมงได้ และได้ทำ MOU ร่วมกันแล้ว เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566
CP ALL Creator & Influencer Trend 2023 #2 ปั้นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ยุคใหม่
ซีพี-เมจิ ชวนส่งแกลลอนนม มารีไซเคิลเป็นถังขยะ ลดปริมาณขยะพลาสติก
และหากโครงการนี้สำเร็จมากขึ้น ซีพี ออลล์ ก็จะสามารถขยายโครงการต่อไปยังเกาะอื่น ๆ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้โมเดลนี้ช่วยจัดการและแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยใช้ร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นเป็นจุดศูนย์กลางเครือข่าย ทั้งเป็นพาร์ทเนอร์ในการรับจัดส่งขยะไปกำจัดนอกเกาะฟรี พนักงานสามารถให้ความรู้เรื่องการแยกขยะแก่คนบนเกาะได้และเป็นตัวอย่างให้ชุมชนบนเกาะแยกขยะอย่างถูกวิธี ด้วยการแยกขยะในร้านสะดวกซื้อของเซเว่น อีเลฟเว่นเอง
และที่เจ๋งที่สุด คือ แม้เราจะสามารถนำขยะมารีไซเคิลแปลงมาเป็นอิฐรักษ์โลกได้ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเด็ก ๆ เองแล้ว สิ่งที่โรงเรียนและซีพี ออลล์ให้ความสำคัญมากกว่า คือการสอนให้เด็ก ๆ ไม่สร้างขยะเลย ซึ่งน่ารัก ๆ มากที่ Springnews ได้เดินทางไปและเห็นว่าเด็ก ๆ ถือแก้วน้ำส่วนตัวมาโรงเรียนเต็มไปหมด
โครงการ Green Living รักษ์เกาะ 24 ชั่วโมงต่อยอดมาจาก โครงการต้นกล้าไร้ถัง ภายใต้ CONNEXT ED ที่กระจายโรงเรียนต้นแบบในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพถึง 524 แห่งทั่วประเทศแล้ว ซึ่งเริ่มโมเดลที่โรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในการสร้างความร่วมมือทั้งโรงเรียน ชุมชน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดการขยะ และร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะในเขตพื้นที่ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตั้งแต่โรงเรียนอนุบาลทับสะแก ได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ โรงเรียนสามารถแก้ไขปัญหาขยะ และสามารถลดจำนวนขยะจาก 15 ตัน/เดือน เหลือเพียง 2 กิโลกรัม/เดือน คิดเป็น 98% ของปริมาณขยะทั้งหมด โดยมีซีพี ออลล์ และเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งเงินทุนและการหาบุคลากรมาให้ความรู้ รวมไปถึงการใช้เครือข่ายผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการจัดการขยะได้ง่ายมากขึ้น