svasdssvasds

รู้หรือไม่ ? วันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้าน ในอดีต

รู้หรือไม่ ?  วันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้าน ในอดีต

ตำแหน่งประธานสภาฯ ถือเป็นประมุขนิติบัญญัติของไทย และล่าสุด ได้ วันมูหะมัดนอร์ มะทา มานั่งตำแหน่งนี้อีกครั้ง , เชื่อหรือไม่ว่า ในอดีต อาจารย์วันนอร์ คนนี้นี่แหละ เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้านมาแล้ว นั่นหมายความท่านได้รับการยอมรับ จากภาคการเมืองทุกฝ่ายจริงๆ

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้กลายเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังการเลือกตั้ง 2566 แล้ว , ซึ่งถือว่าเป็นการพลิกโผเกมการเมืองพอสมควร เพราะเดิมที ตำแหน่งประมุขนิติบัญญัติ หลังการเลือกตั้ง 2566 มีการคาดหมายว่าจะเป็น โควตาของ เพื่อไทย VS ก้าวไกล 

อย่างไรก็ตาม เมื่อ ตำแหน่ง ประธานสภาฯ ตกเป็นของ "วันนอร์" จากพรรคประชาชาติแล้ว  เรื่องนี้ถือว่า มันเป็นเหมือนการฉายภาพการเมือง ออกมาในหลายมิติ 

และ จากประวัติศาสตร์ การเมืองไทยในอดีต "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" ถือว่า เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ เพราะ เคยเป็น คนคุมเกมสภา  ในขณะที่ ตนเองเป็นฝ่ายค้านมาแล้ว , และก็ผ่านพ้นมาได้ด้วยดี

รู้หรือไม่ ? วันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้าน ในอดีต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ย้อนเหตุการณ์ วันนอร์ เป็นประธานสภา ครั้งแรก

หมุนเข็มนาฬิกากลับไปในช่วงการเมือง ในยุคการเลือกตั้ง ปีช่วงปลายปี พ.ศ. 2539  ณ วันนั้น พรรคความหวังใหม่ของ "บิ๊กจิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ชนะการเลือกตั้งแบบพลิกความคาดหมาย โดย ณ วันนั้น ประเทศไทย เลือก ส.ส. ได้ทั้งสิ้น 395 ที่นั่ง และพรรคความหวังใหม่ ได้ ส.ส. ทั่วประเทศ 125 ที่นั่ง เฉือนชนะ ประชาธิปัตย์ ที่ได้ 123 ที่นั่ง 

ห้วงเวลานั้น บนวัย 52 ปี วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้นั่งตำแหน่งประธานสภาฯ ในฐานะเป็น ส.ส. จากพรรคอันดับ 1 นั่นคือ พรรคความหวังใหม่ 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้น ประเทศไทย  ช่วงปี 2540 หรือภายหลังการเลือกตั้งไม่นาน  ต้องเจอกับพายุปัญหาวิกฤตต้มยำกุ้ง  ปัญหาการแก้วิกฤติค่าเงินบาทลอยตัว  โดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ตัดสินใจประกาศ ลอยตัวค่าเงินบาท  ณ ตอนนั้น เงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว จาก 25 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ร่วงลงไปกว่า 50 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ส่งผลกระทบกับธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือกู้เงินจากต่างประเทศ ทำให้ต้องปิดกิจการลง ผู้คนตกงานเป็นจำนวนมาก ข่าวร้ายเต็มหน้าสื่อไปหมดทุกทิศทุกทาง 

เมื่อทนพิษบาดแผลไม่ไหว "บิ๊กจิ๋ว" ประกาศลาออกเมื่อ 6 พ.ย. 2540 จึงเกิดการพยายามรวมเสียงเพื่อหานายกรัฐมนตรีคนใหม่

รู้หรือไม่ ? วันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้าน ในอดีต

• เปลี่ยนขั้วรัฐบาล บิ๊กจิ๋วไปเป็น ชวน 2 แต่ "วันนอร์" นั่งประธานสภาฯเหมือนเดิม

ฝ่ายรัฐบาลเดิมยังคงได้เปรียบ พรรคความหวังใหม่ และอีก 5 พรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันประกาศชู พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัย  โดยที่ ไม่มีการยุบสภาฯใดๆ ขณะที่ฝ่ายค้านพยายามรวมเสียงเพื่อชู นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นมาท้าชิง 

ณ เวลานั้น เสียงฝั่งรัฐบาลที่ประกอบด้วย ความหวังใหม่ ชาติพัฒนา กิจสังคม ประชากรไทย เสรีธรรมและมวลชน 221 เสียง เหนือกว่า ประชาธิปัตย์ ชาติไทย เอกภาพ ไท และพลังธรรม ที่ได้ 172 เสียง

แต่จากนั้น พรรคเสรีธรรมและพรรคกิจสังคมเปลี่ยนขั้ว (4+20 เสียงส.ส. ) ทำให้ช่องว่างกลับมาเฉือนกันแค่คะแนนเดียว อยู่ที่ 197-196 แม้เสียงจะปริ่มน้ำ ใกล้เคียงกันสุดๆ  แต่หากพรรครัฐบาลเดิม หากยังจับมือกันแน่น กอดคอกันไว้ ไปไหนไปกัน ฝ่ายค้านก็ไม่มีทางพลิกเกมได้เลย 

อย่างไรก็ตาม "เสธ หนั่น" พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาฯ พรรคประชาธิปัตย์ ในเวลานั้น เดินเกมรุกแบบเหนือเมฆ ทำให้ ส.ส.กลุ่มของ “วัฒนา อัศวเหม” เสาหลักแห่งปากน้ำใน “พรรคประชากรไทย” ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ยอมแหกมติพรรค เข้าร่วมกับ “พรรคประชาธิปัตย์” โหวตให้ “ชวน หลีกภัย” ได้เป็นนายกฯ ในสมัยที่ 2 

สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ถือว่าเป็นสร้างรอยแผลให้กับลุงหมัก “สมัคร สุนทรเวช” หัวหน้าพรรคประชากรไทย ณ ตอนนั้น เป็นอย่างมาก จึงเรียกกลุ่ม ส.ส. ที่ย้ายขั้วว่า “งูเห่า” โดยเปรียบเปรยว่า ตัวเองเป็นเหมือนชาวนาในนิทาน “ชาวนากับงูเห่า” ทำให้คำว่า “งูเห่า” ได้กลายเป็นศัพท์ทางการเมือง ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดีมาจนถึงทุกวันนี้ และ มีงูเห่า ตามมาอีกหลายๆ ภาค ในภาพการเมืองไทย 

และ ผลจากการเปลี่ยนขั้วจาก ส.ส. 12 คน ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีใน ครม. ของ นายกชวน ในเวลาต่อมาด้วย ซึ่ง ณ เวลานั้น แกนนำรัฐบาล ในปี 2540 จึงเปลี่ยนจาก พรรคความหวังใหม่ มาเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

รู้หรือไม่ ? วันมูหะมัดนอร์ มะทา เคยเป็นประธานสภาฯ ในขณะเป็นฝ่ายค้าน ในอดีต

• ประธานสภาฯ ต้องเป็นกลาง "วันนอร์" พิสูจน์มาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งประธานสภาฯ ณ เวลานั้น ก็ยังเป็นของ วันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคความหวังใหม่ เหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แม้จะเปลี่ยนขั้วรัฐบาลมาเป็น "รัฐบาลชวน 2"  แล้วก็ตาม

รัฐบาลชวน 2  ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำ เริ่มต้นทำงานอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540  จนถึง  17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543   ขณะที่เดียวกัน "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" หรือ "วันนอร์" ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นประธานสภาฯ ต่อไป ซึ่ง ณ เวลานั้น พรรคความหวังใหม่ สลับข้างกลายเป็นแกนนำฝ่ายค้านไปแล้ว 

ช่วงเวลา 3 ปี ที่  "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" ที่เป็นประธานสภาฯ ทั้งๆที่ พรรคความหวังใหม่ที่สังกัดอยู่ เป็นฝ่ายค้านไปแล้ว ก็ได้รับการยอมรับจากทางการเมืองของทุกฝ่าย  

นี่อาจจะถือเป็นอีกหนึ่ง บทพิสูจน์จากเรื่องราวในอดีต ถึงการปฏิบัติอย่างเที่ยงธรรม ยุติธรรม สมกับตำแหน่งประธานสภาฯ , และหลังการเลือกตั้ง 2566 "วันนอร์" กลับมาเป็นประธานสภาฯอีกครั้งหนึ่ง และน่าจะเป็นการสานแผลร้าว ให้ "ก้าวไกล-เพื่อไทย" มัดใจกันแน่นขึ้น...
 

related