svasdssvasds

หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 66 ต้องขนาดเท่าไร ทำได้กี่ป้ายต่อ 1 ผู้สมัคร

หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 66 ต้องขนาดเท่าไร ทำได้กี่ป้ายต่อ 1 ผู้สมัคร

กกต. เปิดเผยและให้คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจัดทำ ป้ายหาเสียง และติดตั้งป้ายหาเสียง ในการเลือกตั้ง 2566 หรือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 2566 หรือ เลือกตั้ง 66 ทุกพรรคการเมืองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และกรอบที่กำหนดมา

ในช่วงบรรยากาศ หาเสียง เลือกตั้ง 66 เป็นไปอย่างคึกคัก ทั้งการลงพื้นที่หาเสียง เปิดเวทีปราศรัย และป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 ที่ได้พบอยู่ทั่วไปตามถนนหนทาง ซึ่งตามกฎหมายการหาเสียง และการติดป้ายหาเสียงเลือกตั้ง จะต้องดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต.ได้เผยแพร่หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำป้ายหาเสียง ผ่านเพจสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนี้

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำป้าย ในการเลือกตั้ง 2566  

การจัดทำแผ่นป้ายให้ผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง ที่ประสงค์จะติดแผ่นป้าย

ดำเนินการดังนี้

  • ให้จัดทำแผ่นป้ายที่มีขนาดความกว้างไม่เกิน 130 ซม. และขนาดความยาวไม่เกิน 245 เซนติเมตร พร้อมระบุชื่อตัวชื่อสกุลที่อยู่ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิตจำนวนและวันเดือนปีที่ผลิตไว้บริเวณที่เห็นได้ชัดเจนของแผ่นป้าย
  • ให้ผู้สมัครและจัดทำแผ่นป้ายได้ไม่เกิน 2เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
  • ให้พรรคการเมืองจัดทำแผ่นป้ายนี้ได้ไม่เกิน 1 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้งในจังหวัดนั้น
  • ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองติดแผ่นป้ายตามสถานที่ที่กำหนด
  • การติดแผ่นป้ายจะต้องไม่ติดทับซ้อน หรือปิดบังแผ่นป้ายของผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองอื่น 

รู้หรือไม่ หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 66 ต้องขนาดเท่าไร ทำได้กี่ป้ายต่อ 1 ผู้สมัคร ส.ส.  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 หรือ เลือกตั้ง 66 เป็นการทั่วไปพร้อมกันทั่วราชอาณาจักรในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 และค่าใช้จ่ายในการจัดทำป้ายหาเสียงต้องถูกรวมเข้าเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียงด้วย

รู้หรือไม่ หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 66 ต้องขนาดเท่าไร ทำได้กี่ป้ายต่อ 1 ผู้สมัคร ส.ส.

โดย งบประมาณ ค่าใช้จ่ายหาเสียงเลือกตั้ง เลือกตั้ง 66 คำนวณอย่างไร  ?

การคำนวณค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เลือกตั้ง 2566 หรือของพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละครั้ง ให้คำนวณตามค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายจริงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างระยะเวลาดังต่อไปนี้

1. เลือกตั้งเพราะสภาผู้แทนราษฎร ครบวาระ ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่ 240 วัน ก่อนวันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศให้มีการเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้ง

2. เลือกตั้งเพราะยุบสภา หรือการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้คำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ยุบสภาหรือวันที่ตำแหน่งว่างลง แล้วแต่กรณี จนถึงวันเลือกตั้ง

สำหรับค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดให้แต่ละผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขต หรือพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สามารถใช้จ่ายได้ตามจริง แต่ไม่เกินที่กำหนด ดังนี้

ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ต่อคน)
กรณีสภา ครบวาระ ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)
กรณี ยุบสภา/แทนตำแหน่งที่ว่าง ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 1,900,000 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนบาทถ้วน)

ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ (ต่อพรรคการเมือง)
สภาครบวาระ ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 163,000,000 บาท (หนึ่งร้อยหกสิบสามล้านบาทถ้วน)
ยุบสภา/แทนตำแหน่งที่ว่าง ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 44,000,000 บาท (สี่สิบสี่ล้านบาทถ้วน)

รู้หรือไม่ หลักเกณฑ์ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 66 ต้องขนาดเท่าไร ทำได้กี่ป้ายต่อ 1 ผู้สมัคร ส.ส.

related