เปิดวิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถตามหัวแยก หรือ ตั้งขวามทางเท้า ทำตามได้ง่าย ๆ แถม ได้ข้อพิสูจน์ด้วยว่า ผู้สมัคร ส.ส. ฟังเสียงประชาชนจริงหรือไม่ ?
ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 66 เราได้เห็นป้ายเหล่านี้ตั้งแต่ก่อนปีใหม่ และสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ชัชชาติ เอฟเฟกต์ ป้ายหาเสียงมีขนาดเล็กลงครึ่งหนึ่งจากกรแสของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ณ เวลานั้น ใช้ป้ายหาเสียที่มีขนาดเล็กลงมาครึ่งหนึ่ง
การเลือกตั้ง 66 เราจึงได้มีโอกาสได้เห็นป้ายหาเสียงขนาดที่ผอมลงมากว่าไซส์ที่เราเห็นมาตั้งแต่เด็ก คือ 130x245 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดที่ กกต. อนุญาตให้จัดทำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเล็กแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่า ป้ายหาเสียง จะไม่บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถตามหัวแยก หรือ ตั้งขวางทางเท้า
ป้ายหาเสียงบังทางแต่ห้ามทำลายเด็ดขาด เพราะผิดกฎหมาย
การทำลายป้ายหาเสียง หรือ ปลดป้ายหาเสียงด้วยตัวเอง เพจเฟซบุ๊กของ กองปราบปราม ระบุว่า ห้ามทำลาย หรือปลดป้ายด้วยตนเอง เพราะอาจมีความผิดตามกฎหมายอาญา ‘ฐานลักทรัพย์’ หรือ ‘ฐานทำให้เสียทรัพย์’ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพราะตามหลักแล้วป้ายหาเสียงถือเป็นทรัพย์สินของผู้สมัคร ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดการเลือกตั้ง ผู้สมัครก็ต้องมาเก็บป้ายกลับไปเพื่อไม่ให้ทำลายทัศนียภาพของบ้านเมืองอีกด้วย
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
23 มี.ค. 66 ผู้สื่อข่าว SPRiNG พบเห็นป้ายหาเสียงของ 2 พรรคการเมือง ถูกติดตั้งอยู่ในซอยระนอง 2 ดุสิต กรุงเทพมหานคร บดบังทัศนวิสัยในการเลี้ยวรถที่จะเลี้ยวออกจากซอย
จึงทำการร้องเรียนไปยังเพจเฟซบุ๊กของผู้สมัครรายดังกล่าว พร้อมกับระบุตำแหน่งและภาพยืนยันว่าบดบังทัศนวิสัย โดยระยะล่วงเลยไปถึงวันที่ 1 เม.ย. 66 ผู้สื่อข่าวจึงได้รับการติดต่อกลับมาจากข้อความทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งไป โดยผู้สมัครระบุว่า ได้ดำเนินการเคลื่อนย้ายตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. แล้ว
ทั้งนี้จากการตรวจสอบ ก่อนได้รับการตอบกลับทางสื่อสังคมออนไลน์ ในวันที่ 27 มี.ค. ป้ายดังกล่าวถูกเคลื่อนย้ายออกจากจุดที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการประสบอุบัติเหตุจริง นับเป็นการใช้กระบวนการทางสื่อสังคมออนไลน์ในการส่งเสียงของประชาชนไปยังผู้สมัคร ส.ส. ที่จะเข้าไปทำหน้าที่แทนเราในสภา
อย่างไรก็ตามการร้องเรียน ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย ถือเป็นสิทธิที่ประชาชนไทยสามารถทำได้ เพื่อส่งเสียงไปยังอนาคตผู้แทนของเราในสภา และส่วนหนึ่งเป็นการพิสูจน์ว่า ผู้แทนเหล่านั้น ฟังเสียงประชาชนจริงหรือไม่ ? แต่หากไม่ได้รับการตอบกลับ เราสามารถแจ้งช่องทางของ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เปิดให้ร้องเรียนได้ เช่นเดียวกัน
วิธีร้องเรียน ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย ผ่านโซเชียล
วิธีร้องเรียน กกต. เรื่อง ป้ายหาเสียง บังทาง บดบังทัศนวิสัย