svasdssvasds

“บัตรเขย่ง” คืออะไร ? ทำไมเลือกตั้ง 2566 ต้องนับคะแนนใหม่ , ไม่นับได้หรือไม่

“บัตรเขย่ง” คืออะไร ?  ทำไมเลือกตั้ง 2566 ต้องนับคะแนนใหม่ , ไม่นับได้หรือไม่

ทำความรู้จัก ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บัตรเขย่ง” คืออะไร ? รู้หรือไม่ สำหรับ บัตรเขย่ง นั้น ที่จริงแล้ว ไม่นับใหม่ได้หากไม่ได้ทุจริต-ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ

บัตรเขย่ง คืออะไร ? 

ภายหลังการเลือกตั้ง 2566 มาเกือบๆ 1 เดือน ณ เวลานี้ก็ยังตั้งรัฐบาลก้าวไกลไม่ได้  และล่าสุด  7 มิ.ย. 2566 คำว่า บัตรเขย่ง ก็กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีกครั้ง เมื่อ กกต. ยอมรับว่าในการเลือกตั้ง 2566 มี ‘บัตรเขย่ง’ จริง และสั่งให้ นับคะแนนใหม่ 47 หน่วยเลือกตั้งในวันที่ 11 มิ.ย. 2566 นี้  ทั้งบัตรแบ่งเขต - บัญชีรายชื่อ หลังพบผลคะแนนไม่ตรงจำนวนบัตรเลือกตั้งและผู้มาใช้สิทธิ 

ทั้งนี้ หากลงรายละเอียดถึงการ "นับคะแนนใหม่" แล้ว  จากมติที่ประชุม กกต.มีมติสั่งให้นับคะแนน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อใหม่ใน 31 หน่วยเลือกตั้ง และนับคะแนน ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ใน 16 หน่วยเลือกตั้ง จากการลงคะแนนการเลือกตั้ง 2566 ทั้งหมด 95,000 หน่วย

เวลานี้  ยังไม่มีการเปิดเผยว่าจำนวน 47 หน่วยเลือกตั้งที่ให้มีการนับคะแนนใหม่นั้นคือหน่วยเลือกตั้งใด และอยูู่ในจังหวัดใดบ้าง ขณะนี้สำนักงานฯ อยู่ระหว่างทำคำสั่งเพื่อเสนอให้ประธาน กกต.ลงนาม และแจ้งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบ โดยตามแผนของสำนักงานฯ ต้องการให้นับคะแนนใหม่ในวันอาทิตย์ที่ 11 มิ.ย. 2566 นี้ เนื่องจากเมื่อได้ผลคะแนนแล้วจะต้องนำมาคิดคำนวณสัดส่วน ส.ส.ใหม่ เพื่อให้ทันกับแผนงานที่ กกต.ตั้งใจว่าจะมีการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งภายในเดือน มิ.ย.นี้

ทำความรู้จัก ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บัตรเขย่ง” คืออะไร ? รู้หรือไม่  สำหรับ บัตรเขย่ง นั้น ที่จริงแล้ว ไม่นับใหม่ได้หากไม่ได้ทุจริต-ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ไขข้อข้องใจ 'บัตรเขย่ง' คืออะไรกันแน่ 

พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา อดีตเลขาฯ กกต. เคยชี้แจงสื่อถึงความหมายของบัตรเขย่ง  ว่า มันคืออะไรกันแน่  แท้จริงแล้ว "บัตรเขย่ง" นั่นคือการ มีผู้ไปรายงานตัวใช้สิทธิเลือกตั้ง  แต่อาจรอคิวนาน หรือเกิดเหตุอื่นกระทันหัน ทำให้ต้องออกจากแถวที่ต่อคิวลงคะแนน หรือพูดง่ายๆ ไปรายงานตัวใช้สิทธิเลือกตั้ง  แต่อาจรอคิวนาน เลย ‘สละสิทธิ’ นี่จึงเป็นที่มา ทำให้ ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิกับตัวเลขบัตรที่ถูกใช้ไปไม่ตรงกัน

 การ เลือกตั้ง 2566 กกต.ยังไม่ชี้แจงว่า ‘บัตรเขย่ง’ เกิดจากอะไร ทำไมมีช่องโหว่ให้เกิดขึ้นได้ และคุ้มค่าหรือไม่กับค่าใช้จ่ายในการควบคุมและการจัดการเลือกตั้ง ที่รัฐทุ่มงบประมาณไป จำนวน 5,945,161,000 บาท

ทำความรู้จัก ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บัตรเขย่ง” คืออะไร ? รู้หรือไม่  สำหรับ บัตรเขย่ง นั้น ที่จริงแล้ว ไม่นับใหม่ได้หากไม่ได้ทุจริต-ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ

ทำความรู้จัก ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “บัตรเขย่ง” คืออะไร ? รู้หรือไม่  สำหรับ บัตรเขย่ง นั้น ที่จริงแล้ว ไม่นับใหม่ได้หากไม่ได้ทุจริต-ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ

• เปิดขั้นตอน นับคะแนน "บัตรเขย่ง"  รู้หรือไม่ ไม่นับคะแนนใหม่ได้ หากไม่ได้ทุจริต ไม่เปลี่ยนผลผู้ชนะ 

ทั้งนี้ i Law ได้เปิดขั้นตอน  นับคะแนน "บัตรเขย่ง

1. นับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือ และ เจาะรูเพื่อไม่ให้นำกลับมาใช้
2. แบ่ง กปน. เป็น 2 กลุ่ม นับหีบบัตรแบบเขตและบัญชีรายชื่อ
3. แยก "บัตรผิดประเภท" หรือบัตรที่หย่อนผิดกล่องให้ไปอยู่ในกล่องที่ถูกต้อง "บัตรหย่อนผิดกล่องไม่ถือว่า เป็นบัตรเสีย
4. เริ่มนับคะแนน หากไม่ถูกต้องให้ประชาชนยื่นแบบ ส.ส. 5/10 ในทางปฏิบัติแย้งด้วยวาจาก่อนได้
5. นับเสร็จ รวมยอดบัตร หากถูกต้องกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ = เสร็จ
6. "บัตรเขย่ง" ไม่ต้องนับหรือออกเสียงใหม่ หากไม่ทุจริตและเปลี่ยนผล

เปิดช่อง “บัตรเขย่ง” เลือกตั้ง 2566 ไม่ต้องนับ-ออกเสียงใหม่ ถ้าไม่ทุจริตและเปลี่ยนแปลงผล
 
 
ทั้งนี้ ในอดีต เมื่อ 4 ปีที่แล้ว การออกเสียงเลือกตั้งปี 2562 มีเหตุ “บัตรเขย่ง” หรือบัตรเลือกตั้ง 2562 ไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเป็นเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งการให้มีการนับคะแนนและออกเสียงเลือกตั้งใหม่ ในกรณีออกเสียงใหม่มีทั้งหมดหกหน่วย ซึ่งไม่ได้มีผลในการเปลี่ยนแปลงผู้ชนะ แต่ตามระเบียบกกต. ปี 2561 ข้อ 158 วรรคสาม “ปิดทาง” ไม่ให้กกต. มีดุลยพินิจวินิจฉัยเป็นอย่างอื่น โดยระบุว่า หากดำเนินการนับคะแนนอีกครั้งและผลยังไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งให้รายงานกกต. และอธิบายเหตุผลเพื่อพิจารณาให้มีการนับคะแนนใหม่หรือออกเสียงลงคะแนนใหม่ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 122 ของกฎหมายเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ในกฎหมายเลือกตั้ง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2566 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 122 เปิดช่องให้กกต. สามารถใช้ดุลพินิจในการสั่งนับคะแนนหรือออกเสียงใหม่ หรือจะไม่สั่งนับคะแนนหรือออกเสียงใหม่ก็ได้ หากกกต. มีความเห็นตรงกันว่า ความไม่ถูกต้องตรงกันของบัตรเลือกตั้งไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงนั้นไม่ได้เกิดจากการทุจริตและไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งในเขตนั้นเปลี่ยนแปลงไป
 
 
พ.ร.ป.ส.ส. พ.ศ.2561 “มาตรา 122 ในกรณีที่ผลการนับคะแนนปรากฏว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ออกเสียงลงคะแนน ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง หากยังไม่ตรงกันอีกให้รายงานพร้อมเหตุผลต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่หรือสั่งให้ออกเสียงลงคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งทราบ และนําส่งหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมวัสดุอุปกรณ์การเลือกตั้งแก่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมอบหมาย”
 
 
พ.ร.ป.ส.ส. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2566 “มาตรา 122 ในกรณีที่ผลการนับคะแนนปรากฏว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ออกเสียงลงคะแนน....เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้สั่งให้มีการนับคะแนนใหม่หรือสั่งให้ออกเสียงลงคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้น เว้นแต่คณะกรรมการจะมีความเห็นว่าความไม่ถูกต้องตรงกันนั้น มิได้เกิดจากการทุจริตและไม่ทำให้ผลการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะสั่งให้ยุติก็ได้”
 
 
ซึ่งระเบียบกกต. 2566 ออกตามความนี้ด้วย จึงเปิดช่องให้กกต. พิจารณาสั่งการให้ไม่ต้องนับคะแนนหรือออกเสียงใหม่ได้ หากเห็นแล้วว่า “บัตรเขย่ง” ไม่ได้เกิดจากการทุจริตหรือเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง ระเบียบฉบับนี้เพิ่มหมวดใหม่นำการนับคะแนนใหม่ การออกเสียงลงคะแนนใหม่ และการเลือกตั้งใหม่ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งไว้ด้วยกัน เป็นการแก้ปัญหากรณี “บัตรเขย่ง” ที่ให้อำนาจกกต. สั่งการให้นับคะแนนใหม่ ออกเสียงใหม่หรือในกรณีการที่เกี่ยวกันกับการทุจริตอาจสั่งให้เลือกตั้งใหม่ได้ตามเงื่อนไขตามกฎหมายเลือกตั้ง 2561 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2566 บัญญัติไว้ ดังนี้
  “บัตรเขย่ง” คืออะไร ?  ทำไมเลือกตั้ง 2566 ต้องนับคะแนนใหม่ , ไม่นับได้หรือไม่
 
การนับคะแนนใหม่
 
 
กกต. สามารถสั่งให้นับคะแนนใหม่อีกครั้งในหน่วยเลือกตั้งหรือทุกหน่วยเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ในกรณีที่จำนวนบัตรลงคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้แสดงตนมาใช้สิทธิและไม่ได้เข้าเหตุยกเว้นกฎหมายเลือกตั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2566 มาตรา 122 กล่าวคือ พบเหตุหรือหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า การเลือกตั้งไม่เป็นโดยสุจริตและเที่ยงธรรมตามมาตรา 124 และ 137 กระบวนการนับคะแนนใหม่ ให้ผู้อำนวยการและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ได้รับการแต่งตั้งปฏิบัติหน้าที่ต่อในการนับคะแนน หรือกกต. อาจเปลี่ยนแปลงได้หากมองว่า จะดำรงความเป็นกลางทางการเมืองหรือเป็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการนับคะแนนเลือกตั้งใหม่จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมเก้าคน
 
 
การออกเสียงใหม่
 
 
ในกรณีที่จำนวนบัตรลงคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้แสดงตนมาใช้สิทธิและไม่เข้าเงื่อนไขยกเว้นตามมาตรา 122 ของกฎหมายเลือกตั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กกต. อาจสั่งยกเลิกการเลือกตั้งและให้ออกเสียงใหม่ได้ กระบวนการออกเสียงใหม่ ให้ผู้อำนวยการและคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ได้รับการแต่งตั้งในการเลือกตั้งที่ผ่านมาปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หรือกกต. อาจเปลี่ยนแปลงได้ หากมองว่า จะดำรงความเป็นกลางทางการเมืองหรือเป็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ส่วนคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ทำหน้าที่ในวันเลือกตั้งก่อนหน้าก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่เห็นสมควร การออกเสียงใหม่จะเปิดให้ประชาชนแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตั้งแต่วันที่มีการประกาศให้ออกเสียงใหม่จนถึงเจ็ดวันนับตั้งแต่วันออกเสียงใหม่
 
 
การเลือกตั้งใหม่ ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้ง 2566
 
 ระเบียบกกต. 2566 กำหนดให้จัดการเลือกตั้งใหม่ก่อนการประกาศผลการเลือกตั้งด้วยห้าสาเหตุด้วยกัน คือ หนึ่ง กรณีปรากฏภายหลังหรือผลการวินิจฉัยออกมาหลังการเลือกตั้งว่า ผู้สมัครที่ได้รับเลือก ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม สอง ผลคะแนนเลือกตั้งพบว่า ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าไม่ประสงค์จะเลือกผู้ใด โดยจะต้องรับผู้สมัคร ส.ส. ใหม่ ผู้สมัครเดิมจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จัดขึ้นใหม่ ส่วนเหตุอีกสามข้อตามมาตรา 124 132 และ 137 ของกฎหมายเลือกตั้ง 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเป็นเหตุเกี่ยวเนื่องกับการนับคะแนนไม่ถูกต้อง เหตุไม่สุจริตและทุจริตการเลือกตั้ง

related