svasdssvasds

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบไอเดียใครมากกว่ากัน ? ถ้าจะเทใจ คุณเลือกใคร

ในช่วงเทศกาล การหาเสียง และการเลือกตั้ง 2566 ณ เวลานี้ เหลือเวลาไม่ถึง 1 เดือนแล้ว SPRiNG ขอพาไปดูประเด็น ป้ายหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้  หากเปรียบเทียบกับ ป้ายหาเสียงในต่างประเทศแล้ว ข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไรบ้าง  ? 

โดย บรรยากาศ การเลือกตั้ง 2566 ที่ใกล้เข้ามานี้ นำมาซึ่ง ภาพที่คุ้นเคยและชินตา นั่นคือ "ป้ายหาเสียง" ที่กำลังจะเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่นโยบายของแต่ละผู้สมัคร จากทุกๆพรรค ซึ่งหากลองเปรียบเทียบ ภาพที่ออกมานั้น ถือว่า ป้ายหาเสียงของไทย อาจจะ ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คนในเมือง และ ดูจะไม่ค่อยเป็นมิตร กับคนเดินถนน  แม้จะมีความพยายามให้มีไซส์ที่เล็กลงมาเยอะกว่าสมัยก่อน  ซึ่งแตกต่างกับในต่างประเทศ  โดยในต่างประเทศนั้น มีการผ่านการคิดวิเคราะห์มาแล้ว ว่าป้ายหาเสียงจะต้องไม่เป็นอันตรายกับ ผู้คนในเมือง ไม่ใช่ว่า สักแต่จะติดที่ไหนก็ได้ ตามใจฉัน

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566  กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบไอเดียใครมากกว่ากัน ?  ถ้าจะเทใจ คุณเลือกใคร
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566  กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบไอเดียใครมากกว่ากัน ?  ถ้าจะเทใจ คุณเลือกใคร

โดย ตัวอย่าง ป้ายหาเสียงในต่างประเทศ ในความครีเอต สร้างสรรค์นั้น มีหลากหลายแง่มุม อาทิ ป้ายหาเสียงร่วม (Election Poster Board), ป้ายหาเสียงรีไซเคิล หรือ ป้ายหาเสียงสนามหญ้า (yard signs, Lawn signs) เป็นต้น 

•  ป้ายหาเสียงร่วม (Election Poster Board)

โดย ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง  ที่ ประเทศญี่ปุ่นมีการใช้ป้ายหาเสียงในลักษณะบอร์ดติดโปสเตอร์ผู้สมัครที่ติดร่วมกับผู้สมัครของพรรคอื่นๆ  ซึ่งนอกจากจะเป็นระเบียบ และไม่กีดขวางทางเท้าที่ผู้คนเดินผ่านไปผ่านมา แล้ว ยังทำให้ประชาชนสามารถดูรายชื่อ หน้าตา และนโยบายของผู้สมัครแต่ละคนได้จากที่เดียวกัน ซึ่งวัฒนธรรมป้ายหาเสียงแบบนี้ ก็ไม่ใช่มีแค่ญี่ปุ่นประเทศเดียว เพราะในยุโรปก็เป็น

รวมถึง ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง ที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งในอดีต เพจ ขาเกือบพลิก ที่นำเสนอภาพการหาเสียงเลือกตั้งในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้นำเสนอ ภาพความต่างระหว่าง การหาเสียงของต่างประเทศกับไทย 

 

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 2566 กับ ป้ายหาเสียงต่างประเทศ

• ป้ายหาเสียงรีไซเคิล

ในต่างประเทศนั้น บางประเทศมีความเจริญและใช้นวัตกรรม จนสามารถพัฒนาทำให้ ป้ายหาเสียง เป็นขยะที่ต้องสามารถรีไซเคิลได้ อาทิ ที่ แคนาดา ส่วนใหญ่ จะออกกฎว่าป้ายหาเสียงพรรคการเมืองต้องใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เช่น เฟรมของป้ายทำจากโลหะที่รีไซเคิลได้ พลาสติกประเภท 5 (ประเภทโพลิโพรพิลีน) พลาสติกลูกฟูก (coroplast) กระดาษแข็ง หรือไม้ เป็นต้น

• ป้ายหาเสียงสนามหญ้า (yard signs, Lawn signs)

ป้ายหาเสียง ชนิดแบบปักบนสนามหญ้า ถือเป็นคัลเจอร์หนึ่งของการหาเสียงฝั่งสหรัฐฯ นับเป็นวัฒนธรรมการหาเสียงเลือกตั้งในแถบสหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงบางประเทศในยุโรปด้วย  ป้ายลักษณะนี้นิยมปักอยู่ตามริมถนนสายต่างๆ โดยมีข้อกำหนดหลักคือต้องหาจากขอบถนนราว 5 ฟุต เพื่อไม่ให้กีดขวางการทางเดินของผู้คน ซึ่งในต่างประเทศนั้น เคารพสิทธิ์ของคนเดินถนนเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ การติดป้ายหาเสียงในต่างประเทศ มักจะมีข้อห้าม ต่างๆ ที่มีรายละเอียดแตกต่างกันไป อาทิ ห้ามติดตามสี่แยก จุดมุมอับสายตาที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถยนต์ หรือรบกวนต่อโครงสร้างพื้นฐานในสาธารณะนั้น

ป้ายหาเสียงในสวีเดน ภาพ : jomm.se
 

สถานที่ที่จะติดแผ่นป้ายหาเสียง เลือกตั้ง 2566 

ตัดภาพกลับมาที่ประเทศไทย ในการเลือกเฟ้น หานายกคนที่ 30  สำหรับพื้นที่หรือบริเวณที่ ป้ายหาเสียง จะติดตั้งได้นั้น ต้องเป็นลักษณะดังนี้ 

• ต้องเป็นบริเวณพื้นที่อันเป็นสาธารณสถาน เช่น บริเวณถนนสาธารณะ ที่สาธารณะ หรือสาธารณสถานอื่นของรัฐที่เห็นสมควรเพื่อติดแผ่นป้ายให้พอเพียงและเท่าเทียมกัน

• คำนึงถึงความเหมาะสม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด ความปลอดภัย ความมั่นคง แข็งแรง

• ไม่บดบังทัศนียภาพและทัศนวิสัยที่ดีไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน หรือยานพาหน

• จะต้องไม่เป็นการกีดขวางทางสัญจร หรือการจราจร รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการหรือทรัพย์สินของประชาชน เช่น ตอกหรือยึดแผ่นป้ายหรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้เกิดความเสียหายหรือน่าจะเป็นอันตรายแก่ต้นไม้หรือทรัพย์สินอื่นใด  

• ผู้สมัครและพรรคการเมืองอาจติดตั้งแผ่นป้ายได้ ณ ที่ทำการพรรคการเมืองหรือสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งได้เขตเลือกตั้งละ 1 แผ่น  ให้มีขนาดความกว้างไม่เกิน 400 เซนติเมตร และขนาดความยาวไม่เกิน 750 เซนติเมตร

บทลงโทษเมื่อติดปิดประกาศ-แผ่นป้ายไม่ถูกต้อง ในการเลือกตั้ง 2566 

กรณีผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองติดปิดประกาศและแผ่นป้ายไม่ถูกต้องหรือเกินขอบเขตที่กำหนดตามประกาศนี้ให้หัวหน้าหน่วยงานมีอำนาจสั่งผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 5 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และแจ้งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบโดยเร็ว

ในกรณีผู้สมัครหรือพรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขภายในกำหนดเวลาให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมีอำนาจรื้อถอน หรือปลดออก หรือสั่งให้หน่วยงานอื่นดำเนินการโดยให้คิดค่าใช้จ่ายกับผู้สมัคร หรือพรรคการเมืองนั้น และรายงานให้คณะกรรมการทราบ 

ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจนำมาเป็นเหตุในการสืบสวนหรือไต่สวนตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาดได้

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?  แน่นอนว่าในไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการแต่งเติม ภาพ ในป้ายหาเสียงด้วย  โดนกันทุกพรรค

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?  แน่นอนว่าในไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการแต่งเติม ภาพ ในป้ายหาเสียงด้วย  โดนกันทุกพรรค

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?  แน่นอนว่าในไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการแต่งเติม ภาพ ในป้ายหาเสียงด้วย  โดนกันทุกพรรค

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?  แน่นอนว่าในไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการแต่งเติม ภาพ ในป้ายหาเสียงด้วย  โดนกันทุกพรรค

เปรียบเทียบ ป้ายหาเสียงเลือกตั้ง 2566 - ป้ายหาเสียงต่างประเทศ ชอบแบบไหน ?  แน่นอนว่าในไทย สิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือการแต่งเติม ภาพ ในป้ายหาเสียงด้วย  โดนกันทุกพรรค
 

related