หลังจากเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ขึ้นปราศัยเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับนโยบายการเติมเงินในกระเป๋าดิจิทัล 10,000 บาทให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้ การใช้จ่ายถูกกำหนดให้อยู่ภายในระยะเวลา 6 เดือน หลังเติมเงินเข้าบัญชี เป็นการกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนถึงระดับประเทศ เป็นการลดช่องว่างทางรายได้ และรัฐบาลจะสามารถเก็บภาษีได้มากขึ้น
ซึ่งนักวิชาการหลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นกันในหลายแง่มุม เรามาดูแนวคิดของคุณเศรษฐา และความคิดเห็นของนักวิชาการกัน
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย
เพื่อไทยพร้อมเติมเงินเข้ากระเป๋าเงินดิจิทัล ให้คนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มูลค่า 10,000 บาท ใช้ซื้อของในชีวิตประจำวันจากร้านค้าในชุมชน เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนสร้างความเจริญเติบโตให้เศรษฐกิจ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง
“ประกาศว่าจะแจกเงินให้เปล่า 10,000 บาทต่อคน ดีสำหรับคะแนนเสียงนะครับ แต่ไม่ดีต่อประเทศเลยแม้แต่น้อย นี่เรากำลังบริหารประเทศหรือเล่นเกมอยู่ครับ”
รศ.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณบดีคณะพัฒนาสังคมและยุทธ ศาสตร์การบริหาร นิด้า
“เพื่อไทยกำลังทำอะไร” ถ้าต้องจ่ายคนละ 10,000 บาท เท่ากับต้องใช้เงินมากกว่า 5.4 แสนล้าน เป็นนโยบายประชานิยมสุดขั้ว แต่สร้างปัญหาเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะ”
รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์
“นโยบายแจกเงิน 10,000 บาท หากได้ทำจริง ข้อดีคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ข้อเสียคือเพิ่มภาระงบประมาณ ซ้ำเติมหนี้สิน นโยบายนี้เป็นเรื่องหาเสียงมากกว่า”
นางสดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
การปราศรัยดังกล่าวไม่เป็นการสัญญาว่าจะให้ อะไรก็ตามที่เป็นนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองที่สามารถทำได้ ก็นำมาเป็นนโยบายได้ เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้จะเป็น ส.ส. จะเสนอออกกฎหมายผ่านสภา