svasdssvasds

เปิดประวัติ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม" นักการเมือง สู่ชายผู้สนใจความเร็ว

เปิดประวัติ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม" นักการเมือง สู่ชายผู้สนใจความเร็ว

เปิดประวัติ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม" นักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย อดีตสามีของ ตู่ นันทิดา ที่หลงไหลในความเร็ว ล่าสุด เอ๋ ชนม์สวัสดิ์ ได้เสียชีวิตแล้ว หลังเกิดอาการฮีทสโตรก ขณะซ้อมแข่งรถยนต์ ที่สนามช้าง จ.บุรีรัมย์

ประวัติ "เอ๋ ชนม์สวัสดิ์"
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย จบปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เป็นอดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในชุดของพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก และเป็นบุตรชายของ วัฒนา อัศวเหม อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง

ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 เป็นบุตรของ วัฒนา อัศวเหม กับ จันทร์แรม อัศวเหม มีพี่ชาย 2 คน พิบูลย์ อัศวเหม และ พูลผล อัศวเหม 

ชนม์สวัสดิ์ สมรสครั้งแรกกับ นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้องชาวไทย แต่เขาก็ยังมีข่าวความสัมพันธ์กับนักแสดงหญิงหลายคน อาทิ ใหม่ เจริญปุระ เมทินี กิ่งโพยม ชลดา เมฆราตรี ยศวดี หัสดีวิจิตร และต่อมาเมื่อหย่าขาดจากนันทิดาแล้ว ก็ได้สมรสอีกครั้งกับ เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ แต่ก็ยังปรากฏภาพความสัมพันธ์ในครอบครัวของชนม์สวัสดิ์ นันทิดา และบุตรสาว

รวมทั้งในปี 2563 เขายังสนับสนุนให้ นันทิดา แก้วบัวสาย ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย ในปี 2564 นายต่อศักดิ์ อัศวเหม ลูกพี่ลูกน้อง​ นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

การทำงาน
ชนม์สวัสดิ์ เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้านธุรกิจการเกษตร และด้านน้ำมันเชื้อเพลิง เคยดำรงตำแหน่งประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และเขาเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาถูกสั่งปลดตามคำสั่งหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558 

ชนม์สวัสดิ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคมหาชน เป็นกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน ลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้เป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ในปี 2551 และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ

ชนม์สวัสดิ์ เคยถูกจำคุกในคดีทุจริตการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนครสมุทรปราการ ปี 2542 ซึ่งศาลฎีกาตัดสินเมื่อ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 (3) ของพระราชทานอภัยโทษพระราชกฤษฎีพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งได้ลดวันต้องโทษ 1 ใน 4 ของโทษที่เหลือ เมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

related