เปิดนโยบายพรรคการเมือง ด้านการส่งเสริมธุรกิจ SME ของประเทศไทย ก่อนเลือกตั้ง 2566 แต่ละพรรค มีข้อเสนอ และแนวทางอย่างไรในการส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อสู้กับสถานการณ์โลก จากงานสัมมนา “อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน?”
สื่อในเครือเนชั่น จัดงานสัมมนา “อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน?” โดยได้มีการเชิญตัวแทนของพรรคการเมือง ร่วมแสดงความคิดเห็นและนำเสนอนโยบายเกี่ยวของกับการส่งเสริมธุรกิจ SME ของประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ นโยบายพรรคการเมืองทำอย่างไร? ให้โดนใจเอสเอ็มอี SME สามารถสรุปได้ ดังนี้
ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย ให้ความเห็นว่า "ปัญหาในการเข้าถึงแหล่งทุนของ SME คือปัญหาของประเทศ เราต้องไปปฏิเสธความจริงว่า กลุ่มคน SME คือกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง และธนาคารพานิชย์ ก็ไม่อยากปล่อยสินเชื่อให้คนที่มีความเสี่ยง คนสองกลุ่มนี้ เดินยังไงก็ไม่เจอกัน ดังนั้น กลไกตรงกลาง จึงมีความสำคัญ กลไกที่จะตอบโจทย์ตรงนี้ เรียกว่า การค้ำประกันสินเชื่อ และจุดนี้ คือหัวใจ และเพื่อไทยจะแก้ไขในประเด็นนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ด้านนาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ หัวหน้าทีมนโยบายการเมืองและเครือข่าย พรรคพลังประชารัฐ ให้ความเห็นว่า ถ้าพลังประชารัฐกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง สิ่งที่จะทำเป็นอันดับแรกคือ ปรับบทบาท สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) จะไม่ให้ซ้ำกับหน่วยงาน กระทรวง ทบวงกรม สสว. จะต้องเป็นจัดสรรงบประมาณในการที่จะเข้าไปขับเคลื่อน SME , แต่ไม่ปรับบทบาท สสว. ทุกอย่างจะไปไม่ได้เลย , ต้องมีแพลทฟอร์ทเชื่อม SME
ขณะที่ นาย วรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ให้ความเห็น ในเวทีเสวนา “อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน” ว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี SME เอสเอ็มอีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย และ 98% ของธุรกิจเป็นผู้ประกอบการรายเล็กและรายจิ๋ว มีขนาดกลางเพียง 2% เท่านั้น พรรคชาติพัฒนากล้า เราจะสู้เพื่อเอสเอ็มอี SME เพราะตระหนักดีว่า เอสเอ็มอี โตไม่ได้ถ้าไม่มีใครสู้เพื่อพวกเขา โดย พรรคชาติพัฒนากล้ามีนโยบายหาเงินให้ประเทศ 5 ล้านล้านบาทในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ด้วยยุทธศาสตร์ Spectrum Economy หรือ ธุรกิจเฉดสี เป็นนโยบายที่ต้องขับเคลื่อนด้วยเอสเอ็มอี ทั้ง เศรษฐกิจสีขาวหรือเศรษฐกิจสายมู เศรษฐกิจสีรุ้ง หรือ Raninbow Economy โอกาสทางเศรษฐกิจจากกลุ่ม LGBTQ จากทั่วโลก เศรษฐกิจสายเทค ทั้งกลุ่ม ฟินเทค สตาร์ทอัพ ฯลฯ ดังนั้นจึงขอย้ำว่า โอกาสนิยมเราต้องสร้าง
ฝั่ง นาย สุพันธุ์ มงคลสุธี รองหัวหน้าพรรคและประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ พรรคไทยสร้างไทย แสดงความเห็นไว้ว่า หาก SME จะเติบโตนั้น การจะเติบโตด้วยตัวเองจะเป็นสิ่งที่ยากมาก หากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ และสิ่งที่จะแก้หนี้ SME ได้ ก็คือ พรรคมีนโยบายทุกคนกู้ได้ตั้งแต่ 5,000-50,000 โดยไม่ต้องค้ำประกัน เพื่อให้ SME กลับมาฟื้นก่อน
พรรคไทยสร้างไทย เริ่มต้นการแก้หนี้และเติมทุน ส่วนแรกนี้จะต้องหาทางแก้ปัญหาหนี้สินของเอสเอ็มอีก่อนเป็นอันดับแรก ผ่านกลไกการทำงานของกองทุน ทั้งกองทุนฟื้นฟูหนี้เสีย กองทุนเอสเอ็มอีสร้างไทย และกองทุนเครดิตประชาชน เมื่อแก้หนี้เติมทุนแล้ว ต้องปลดล็อกข้อจำกัด โดยเฉพาะเรื่องกฎหมายที่ไม่จำเป็นกว่า 1,400 ฉบับ ซึ่งนโยบายพรรคจะเสนอให้ออกกฎหมายมาหนึ่งฉบับเพื่อยกเลิกกฎหมายทั้งหมดนี้ไป เช่น กฎหมายอย. เป็นต้น
ส่วนสุดท้ายคือการสร้างโอกาสและรายได้ นโยบายพรรคจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 3 ปี พร้อมส่งเสริมแพลตฟอร์มดิจิทัล สร้างนิคมคลัสเตอร์พิเศษของ SME เป็นการเฉพาะ เพื่อสร้างระบบนิเวศให้กับเอสเอ็มอี และท้ายที่สุดคือ การทำกองทุนนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสให้เอสเอ็มอีต่อไปในอนาคต
ด้านนาย สันติ กีระนันทน์ กรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ พรรคชาติไทยพัฒนา ให้ความเห็นว่า พรรคโยนนโบายในคอนเซปต์ WOW : wealth (มั่งคั่ง) , opportunity (โอกาส) และ wellness (ความเป็นอยู่ที่ดี) โดย ภาคราชการ ภาคการเงิน ภาคเอกชน และ ภาคการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในบางเรื่องสามารถยกร่างได้แก้ทันที เปลี่ยนในทางปฏิบัติได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา เพื่อให้ SME อยู่ได้
ด้าน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ แสดงวิสัยทัศน์ ไว้ว่า สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ของ SME ตอนนี้ คือเรื่องของทุน โดยในช่วงโควิด-19 ยังมีเรื่องปัญหาเงินในระบบหายไปอีก ดังนั้น SME ก็ย่อมโดนผลกระทบในช่วงที่ผ่านมา , หัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาให้ SME ก็คือเรื่องของทุน , สิ่งที่ต้องดูแลก็คือ ไม่ใช่เรื่องจะหาเงินกู้ใหม่ แต่ต้อง "หาทุนใหม่" , โดยกลไกที่พรรคประชาธิปัตย์ทำก็ใช้ลักษณะแบบกองทุนาวายุภักษ์สำหรับ SME โดยมี Securitize asset และเพิ่มช่องทางการลงทุนของ Pension Funds ต่างๆ เป็นแหล่งเงินทุนใหม่ สำหรับ SME
ปิดท้ายที่ นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล ให้ความเห็นในงานสัมมนา ไว้ว่า ทุกวันนี้ เวลาธุรกิจขนาดเล็กจะยื่นขอกู้เงิน เราไม่ต้องบอกว่านานแค่ไหนกว่าจะได้นับเงินนั้น กว่าจะได้รับการติดต่อจากธนาคาร หลายครั้งธุรกิจเจ๊งแล้ว นี่คือปัญหาของ SME ที่จุกอกมากๆ , และทุกวันนี้ SME ในไทย ไม่มีพื้นที่ที่จะเป็น พักฟื้น เพื่อต่อสู้ในสมรภูมิใหญ่ๆ เลย