อะไรที่ถูกและดีไม่ใช่มีง่ายๆเสมอไป เพราะวงการศัลยกรรมเสริมความงามไม่ว่าจะเป็นการฉีดโบท็อกซ์หรือฉีดฟิลเลอร์ จำเป็นต้องได้มาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ต้องขึ้นทะเบียน อย. ถูกต้อง มิเช่นนั้นอาจทำให้คุณเสียโฉมและเป็นอันตรายได้โดยไม่รู้ตัว
หลายคนที่สนใจกับการดูแลผิวหน้าให้สวย ดูอ่อนวัย จึงมองหาและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ Botox, Filler ที่จะช่วยฉีดเติมจุดที่รู้สึกว่าบกพร่องผ่านสื่อออนไลน์ หรือเข้ารับบริการกับคลินิกที่ขายคอร์สความงามโดยมีการจัดโปรโมชั่น Botox, Filler ลดราคาเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยในบางครั้งพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับผู้รับบริการนั้น เป็นสินค้าที่ลักลอบนำเข้า หรือหิ้วมาเองจากต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ดังตัวอย่างเคสในปี พ.ศ. 2561 ที่ อย. ร่วมกับ DSI จับกุมเครือข่ายบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Botox, Filler ละเมิดเครื่องหมายการค้า ทำของปลอมเลียนแบบของจริง นอกจากนี้ ยังพบเครื่องสำอางที่ไม่จดแจ้งและไม่มีฉลากภาษาไทย และยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับอีกหลายรายการ เช่น ยาฉีด กลูตาไธโอน
ยาฉีดสเต็มเซลล์ ยาฉีดรกแกะ ยาฉีดโบท็อกซ์ และยาฉีดลดไขมัน โดยมีการโฆษณาขายสินค้าผ่าน อินสตาแกรม และไลน์ กลุ่มลูกค้าที่มีทั้งคลินิกเสริมความงาม ลูกค้ารายย่อยที่สั่งซื้อยาไปใช้เอง รวมไปถึงหมอเถื่อน หมอกระเป๋า ที่ซื้อยาไปรับจ้างฉีด โดยการจัดส่งสินค้าได้กระจายทั้งในเขตพื้นที่ กทม. และต่างจังหวัดทางไปรษณีย์เอกชน การจับกุมในครั้งนั้น สามารถยึดของกลางได้กว่า 400,000 ชิ้น มูลค่ากว่า 80 ล้านบาท และจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินย้อนหลังพบเงินหมุนเวียนในบัญชีสูงถึง 800 ล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ซึ่ง ผู้นำเข้าและขายผลิตภัณฑ์ Botox , Filler ที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานนำเข้าและขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และนอกจากเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติที่ อย. รับผิดชอบแล้ว ยังพบเป็นความผิดตามพระราชบัญญัเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ฐานจำหน่าย สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ในราชอาณาจักร โทษจำคุก ไม่เกิน 4 ปีหรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามกฎหมายของศุลกากรฐานนำเข้าของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้าย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศุลกากร โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือ ปรับ 4 เท่า ของราคาของที่รวมค่าอากรด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับและริบของนั้นด้วย
มาถึงฝั่งผู้ใช้หรือลูกค้าว่าหากใช้ผลิตภัณฑ์ Botox , Filler ปลอม เหล่านี้จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?
ความอันตรายในการฉีด "Botox ปลอม"
จากบทสัมภาษณ์ของนายแพทย์ วรพล สุขีวัฒนา ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ได้กล่าวถึง อันตรายจากโบท็อกซ์ปลอม ซึ่งทำให้เกิดผลแทรกซ้อนจากการกระจายตัวของยาที่มากกว่าของจริง เพราะน้ำหนักโมเลกุลมันไม่เท่ากัน จะมีปัญหาหนังตาตก ปากเบี้ยว ได้มากกว่า
ความอันตรายในการฉีด "Filler ปลอม"
รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้เขียนบทความ เกี่ยวกับ ภัยจากฟิลเลอร์ ซึ่งสรุปได้ว่า เมื่อฟิลเลอร์ปลอมเข้าไปในกระแสเลือดสู่สมอง จะทําให้เส้นเลือดแตกหรืออุดตัน เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ รวมถึงการแพ้สารฟิลเลอร์และเสียชีวิตตามทีเคยเป็นข่าว มาแล้ว ส่วนผลข้างเคียงอื่นที่อาจพบได้ เช่น รอยช้ำภายหลังการฉีด รอยแดงทีเกิดขึ้นเป็นเวลานานและตุ่มหรือก้อนนูนทีคลําได้บริเวณที่ฉีด
ที่มา : mahidol.ac.th
จากอันตรายที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงมีข้อแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนหรือสนใจใช้ Botox ,Filler ในการแก้ไขจุดบกพร่อง ดังนี้