svasdssvasds

ดราม่า! สาวขอลางาน โดนหัวหน้าตอบกลับ "อย่าหัดให้พ่อแม่เป็นคนอ่อนแอ"

ดราม่า! สาวขอลางาน โดนหัวหน้าตอบกลับ "อย่าหัดให้พ่อแม่เป็นคนอ่อนแอ"

ดราม่า! สาวขอลางานแต่เจอหัวหน้าตอบกลับแทบจุก หากจำเป็นไม่ว่า แต่ "อย่าหัดให้พ่อแม่เป็นคนอ่อนแอ" คิดเองตามความเหมาะสม

  เมื่อช่วงค่ำคืนที่ผ่านมามีประเด็นดราม่าในโลกโซเชียลมีเดีย เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง เผยข้อความผ่านกลุ่มหางาน ระบุข้อความว่า "ถ้าเพื่อนๆ พี่ๆ เจอหัวหน้าพิมพ์แบบนี้ เวลาลางาน เพื่อนๆ พี่ๆ จะไปต่อหรือส่ำนี่555555 #ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง" พร้อมแคปข้อความบทสนทนาของหัวหน้า ซึ่งตอบกลับมาระบุว่า

"การลางาน หากจำเป็นต้องลาจริงๆ ก็ไม่ว่ากัน แต่ต้องหัดแก้ไขปัญหาดูก่อน ให้ใครพาพ่อ-แม่ ไปแทนได้มั้ย...หรือหากสามารถไปเองได้ ก็อย่าหัดให้พ่อแม่เป็นคนอ่อนแอกันนะครับ... หรือจำเป็นต้องลาทั้งวันมั้ย...คิดเองตามความเหมาะสม.."

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• คุยงาน นอกเวลางาน ประเทศไหนถือว่าผิดกฏหมายบ้าง? แล้วของไทยล่ะ?

• สรุปให้... ลูกจ้าง แรงงาน ต้องรู้! ขาด ลา มาสาย นายจ้าง หักเงินได้ไหม?

• เปิด 7 ความผิดร้ายแรง ที่มนุษย์เงินเดือนพึงระวัง อาจโดนไล่ออก-ไร้เงินชดเชย

 หลังจากที่โพสต์ดังกล่าวได้เผยแพร่ออกไป ทำให้ชาวเน็ตต่างเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ระบุว่าครอบครัวสำคัญที่สุด เช่น พ่อแม่หาใหม่ไม่ได้ แต่หัวหน้างานหาใหม่ได้นะ , ลาเดียวที่ดี คือลาออกค่ะ ลาออกจริงๆ นะ เจอแบบนี้ประสาทเสีย , พ่อแม่นะคะไม่ใช่หุ่นยนต์จะไม่ให้อ่อนแอ สงสัยหัวหน้าเกิดมาจากกระบอกไม้ไผ่

 ทั้งนี้สิทธิลากิจธุระอันจําเป็นตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 กําหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็น โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 วันทํางานต่อปี แต่การลากิจนั้นให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของนายจ้าง

ส่วนการลาที่เกิน 3 วัน นายจ้างอาจจะอนุมัติให้ลาหรือไม่ก็ได้ แต่หากอนุมัติให้ลา นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่เกิน 3 วันได้ (ลูกจ้างทุกประเภท รายเดือน รายวัน เหมา ทดลองงาน ลากิจ นายจ้างจ่ายค่าจ้าง) ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2562 มาตรา 34 , มาตรา 57/1

ลากิจธุระอันจําเป็น หมายถึง งาน หรือภาระ หรือกิจธุระอันจําเป็นที่จะต้องไปดําเนินการด้วยตนเอง บุคคลอื่นไม่สามารถกระทําแทนได้

การลากิจธุระอันจําเป็น เช่น

• ลาไปทําบัตรประชาชน ในพื้นที่ ติดต่อราชการ

• ลาเพื่อกิจธุระอันจําเป็นของครอบครัว

• ลาไปเป็นพยานตามหมายเรียกของศาล

• ลาปฏิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฏิบัติ

• ลาเข้าพิธีสมรส จัดงานสมรสของบุตร

• ลาไปจัดงานศพของบุคคลในครอบครัว

ที่มา : ธรรมนิติ บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จํากัด

related