มีการศึกษาดัชนีชีวิตต่อคุณภาพอากาศ (Air Quality Life Index) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ สามารถทำให้ชีวิตสั้นลงเกือบ 10 ปี ในกรุงเดลี เมืองหลวงของอินเดีย ซึ่งเรื่องนี้นับว่าเป็นสัญญาณที่อันตรายมากแล้ว
ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในประเด็นปัญหามลพิษทางอากาศ ดูจะเป็นภัยร้ายต่อการดำรงชีวิตของคนทั้งโลกในปัจจุบัน และยิ่งไปกว่านั้น ในบางพื้นที่ของโลก อย่างเช่นที่อินเดีย ต้องเจอกับ มลพิษทางอากาศที่รุนแรงมาก จนกระทั่ง ล่าสุด มีการศึกษา ดัชนีชีวิตต่อคุณภาพอากาศ (Air Quality Life Index) โดยสถาบันวิจัยนโยบายพลังงาน ที่มหาวิทยาลัยชิคาโลก สหรัฐอเมริกา (EPIC) ระบุว่า มลพิษทางอากาศ สามารถทำให้ชีวิตสั้นลงเกือบ 10 ปี ในกรุงเดลี เมืองหลวงของอินเดีย
สำหรับ กรุงเดลี นั่นถือเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก และ อายุคาดการณ์เฉลี่ยของชาวอินเดียทั้งประเทศจะสั้นลง 5 ปีที่ระดับคุณภาพอากาศในปัจจุบัน จากรายงานนี้
ปัญหามลพิษทางอากาศ ทำให้ ประชากร 1,300 ล้านคนของอินเดียอาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่ระดับมลพิษอนุภาคเฉลี่ยต่อปีเกินขีดจำกัดความปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ 5µg/m³ (5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และอากาศไม่ดี ซึ่งมันสามารถเป็นเพชฌฆาตสังหารชีวิตนับล้านในอินเดียทุกๆปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลยุโรปชี้ พลเมืองสามารถเอาผิดรัฐได้ ฐานทำอากาศสกปรก ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ตัวเลขสถิติที่น่ากลัวไปกว่านั้น นั่นคือ มลพิษทางอากาศ ทำให้ ประชาชนราว 510 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางเหนือของอินเดีย หรือเกือบๆ 40% ของประชากรอินเดีย มีแนวโน้มที่อายุเฉลี่ยลดลง 7.6 ปี ด้วยระดับมลพิษปัจจุบัน
นับตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา ระดับมลพิษในอากาศเพิ่มสูงขึ้นถึง 61.4% โดยการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศในอินเดียตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่ามา มีสาเหตุหลักมาจาก การปฏิวัติอุตสาหกรรม, การพัฒนาเศรษฐกิจ และการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่พุ่งขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยรถยนต์ในอินเดียเพิ่มขึ้น 4 เท่าในช่วงเวลานี้
ทั้งนี้ อินเดีย ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อปัญหา มลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น เพราะอินเดียมี โครงการอากาศสะอาดแห่งชาติ (National Clean Air – NCAP) มีเป้าหมายเพื่อลดฝุ่นละอองที่เป็นอันตรายลง 20 ถึง 30%