svasdssvasds

ปัญหามลพิษในอินเดีย คร่าชีวิตประชาชน มากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2019

ปัญหามลพิษในอินเดีย คร่าชีวิตประชาชน มากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2019

ชาวอินเดียต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไปมากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2019 ทั้งนี้ เนื่องจากการได้รับมลพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยตัวเลขดังกล่าวแบ่งเป็นผู้เสียชีวิตจากผลกระทบของมลพิษทางอากาศมากถึง 1.6 ล้านคน และอีกกว่า 500,000 เสียชีวิตจากการได้รับมลพิษทางน้ำ

ข้อมูลจากบีบีซี ซึ่งนำมาจาก วารสารการแพทย์เดอะแลนซิต The Lancet :  Lancet Commission on pollution and health   ได้ชี้ว่า ปัญหามลพิษ ได้พรากชีวิตประชาชนไปราว 9 ล้านคนต่อปี  ซึ่งเป็นตัวเลขที่แทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากรายงานฉบับปี 2015 แม้จำนวนผู้เสียชีวิตที่มาจากปัญหามลพิษที่เกี่ยวข้องกับความยากจนขั้นรุนแรง อาทิ  มลพิษทางอากาศในครัวเรือน หรือมลพิษทางน้ำ จะลดลง  แต่ตัวเลขเหล่านี้กลับ "สวนทาง" ด้วยตัวเลขการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม มลพิษทางอากาศในพื้นที่โดยรอบ รวมถึงมลพิษที่เกิดจากสารเคมี ที่เพิ่มขึ้น 

จากรายงานระบุว่า ทั่วโลก หากลองแยกย่อยแบบละเอียดขึ้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ กล่าวคือ มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ เมื่อปี 2019 ราวๆ 6.7 ล้านคน , เสียชีวตจากมลพิษทางน้ำ อยู่ที่ 1.4 ล้าน และในจำนวนนี้เป็นสาเหตุให้ผู้เสียชีวิตก่อนวันอันควรมีสูงถึง 9 แสนคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พบว่าการเสียชีวิตอันมีสาเหตุมาจากมลภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้นมากกว่า 90% อยู่ในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง แบบประเทศ อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศยืนหนึ่งของรายงาน ตามมาด้วยจีน อยู่ในอันดับที่ 2 โดยมีผู้เสียชีวิตจากปัญหามลพิษ 2.1 ล้านคน

มลพิษอินเดีย ที่เป็นผลร้ายต่อคนอินเดียนั้น ทางการอินเดีย มีความพยายามจะแก้ปัญหาในระยะยาว โดยมีการรณรงค์ให้แม่บ้านที่มีฐานะยากจนในชนบทเปลี่ยนมาใช้ก๊าซหุงต้มแทนการใช้ฟืน แต่นโยบายเหล่านี้ยังคงไม่สามารถสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะยังมีการพบว่า มีชาวอินเดียมากกว่า 480 ล้านคนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เผชิญกับมลพิษทางอากาศในระดับที่รุนแรงที่สุดในโลก 

ปัญหามลพิษในอินเดีย คร่าชีวิตประชาชน มากกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2019

อย่างไรก็ตาม ประชาชนในนิวเดลี เมืองหลวงอินเดีย อาจมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นไปอีกถึง 10 ปี หากรัฐบาลอินเดียสามารถจัดการกับปัญหามลพิษให้อยู่ในขอบเขตตามข้อกำหนดของ WHO องค์การอนามัยโลกที่ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ที่อินเดีย มีมลพิษสูงมาก โดยในปี 2019 อินเดียมีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองเฉลี่ยอยู่ที่ 70.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร นับว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในโลก
 

related