องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) จัดทำ Food Outlook คาดการณ์ ปัญหาข้าวของแพง ราคาอาหารแพง ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี 2023
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO ) เผยใน Food Outlook ล่าสุดที่จัดทำขึ้นทุก 2 ปีเพื่อการทบทวนแนวโน้มอุปสงค์และอุปทานอาหารของโลก ว่า "น่าเป็นห่วง ประเทศที่เปราะบางหลายแห่งจ่ายเงินมากขึ้นแต่ได้รับอาหารน้อยลง"
FAO คาดการณ์ว่า ราคาการนำเข้าอาหารทั่วโลกจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็น 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.77 ล้านล้านบาท) จากปี 2021 โดยที่ 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์ (1.7 ล้านล้านบาท) ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นตัวสะท้อนราคาที่สูงขึ้น
กลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อย (Least Developed Countries: LDCs) เช่น ประเทศขนาดเล็กในทะเลทรายซาฮารา ถูกคาดการณ์ ว่า ราคาอาหารนำเข้าของประเทศพวกเขาจะหดตัว 5%
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
นักเศรษฐศาสตร์ของ FAO อย่าง อุปลิ กัลเกติ อารัตชิลาจ (Upali Galketi Aratchilage) ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ Food Outlook กล่าวว่า "สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณที่น่าตกใจจากมุมมองด้านความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้นำเข้าจะพบว่าเป็นการยากที่จะนำต้นทุนระหว่างประเทศที่สูงขึ้นไป ซึ่งอาจเป็นการประกาศว่าจะยุติการฟื้นตัวของราคาที่สูงกว่า"
พร้อมเสริมด้วยว่า "เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับสภาพอากาศ และความไม่แน่นอนของตลาดที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากสงครามในยูเครน การคาดการณ์ล่าสุดของ FAO ชี้ให้เห็นถึงความตึงตัวของตลาดอาหารและการเรียกเก็บเงินนำเข้าอาหารที่ทำสถิติสูงสุดใหม่"
ราคาอาหารทั่วโลกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ราคาอาหารทั่วโลกกำลังจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ (62 ล้านล้านบาท) ในปีนี้ เนื่องด้วยค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากสงครามรัสเซีย - ยูเครน ที่กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานอยู่แล้วเพราะเป็นผู้ส่งออกธัญพืชลำดับต้น ๆ ของโลก ประกอบกับการคว่ำบาตรรัสเซียที่ยิ่งทำให้ต้นทุนด้านราคาน้ำมันและปุ๋ยเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ ดัชนีราคาอาหารโลกของ FAO (FAO Food Price Index: FFPI) แตะระดับสูงสุดในรอบ 12 เดือนตั้งแต่ พ.ค. 2022 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
FAO ระบุใน Food Outlook ว่า อุปทานธัญพืชโลกจะลดลงในปีนี้ เป็นครั้งแรกในรอบสี่ปี ผลจากสงครามรัสเซีย - ยูเครน ประกอบกับการหยุดชะงักของอุตสาหกรรมจีนที่ถูกล็อกดาวน์จากโควิด-19 ทว่าการอุปสงค์ทั่วโลกก็ลดลงด้วยเช่นกัน เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี
แต่ FAO กลับคาดว่า การใช้ประโยชน์ของข้าวโพดจะเพิ่มมากขึ้นสวนทางกับกลุ่มธัญพืชอื่น เพราะ บราซิลและสหรัฐอเมริกาใช้ข้าวโพดผลิตเอทานอลเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชยการใช้น้ำมันที่ราคาปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนอุตสาหกรรมผลิตแป้งในจีนที่หันมาใช้ข้าวโพดมากขึ้น
และการบริโภคน้ำมันพืชทั่วโลกจะแซงหน้าการผลิต แม้ว่าจะมีการปันส่วนความต้องการที่คาดไว้ก็ตาม
ข่าวดีสำหรับประเทศไทย
FAO คาดว่า การผลิตน้ำตาลโลกจะเพิ่มขึ้นหลังจากลดลงต่อเนื่องตลอดสามปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในกลุ่มส่งออกน้ำตาลอันดับต้น ๆ ของโลก ร่วมกับ อินเดีย และยุโรปบางประเทศ
สรุป
FAO คาดการณ์ใน Food Outlook ว่า "สถานการณ์ราคาอาหารโลกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีนี้ จนถึงสิ้นปี 2023 และอาจยาวถึง Food Outlook ในครั้งต่อไป เพราะถูกกลไกการตลาดด้านอุปทานคุมสภาพยาวต่อเนื่อง"
อ้างอิง :
New UN Food Outlook report: World’s most vulnerable are paying more for less food