ประเด็นร้อน ยกเลิกชุดลูกเสือ-เนตรนารี กลับมาตั้งคำถามกับผู้มีอำนาจในกระทรวงศึกษาฯ อีกครั้ง เมื่อมีการแชร์โพสต์ ความลำบากของผู้ปกครองที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายชุดเครื่องแบบต่างๆ ของนักเรียน ในวันที่เศรษฐกิจหด รายจ่ายมี รายรับไม่ดีเท่าเดิม
หลังจากที่ได้มีทวีตจากแอคเคาท์ที่ชื่อว่า RedSkullxxx ได้แสดงความคิดเห็นถึงค่าใช้จ่ายในการซื้อหา ชุดลูกเสือ-เนตรนารี ของผู้ปกครอง จนมีการแสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า อยากให้มีการยกเลิกบังคับให้นักเรียนทุกคนต้องเข้าเรียนวิชานี้ และเครื่องแต่งกายที่มีการปรับลดให้น้อยลง เพื่อให้สะดวกกับทั้งนักเรียนเองในการไปเรียนในตอนเช้าและช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง ในภาวะที่เงินทองหายาก และรายจ่ายงอกเงยทุกด้านขนาดนี้
ซื้อชุดลูกเสือของ ม.ต้นรวมอุปกรณ์พร้อมเรียนให้ลูก 2 คน 2600+รองเท้า 2 คู่ 650 ล่อไป 3200 อีสัสแล้วใส่สัปดาห์ละวันไม่รวมหยุดเรียนที่ตรงกับวันหยุด นึกถึงคนที่หาเช้ากินค่ำแล้วเหนื่อยแทนเลย
— Red Skull (@RedSkullxxx) June 3, 2022
จนเมื่อ เพจ "ครูแว่นดำ" ได้จุดประเด็น ยกเลิกเรียนลูกเสือเนตรนารีเพราะชุดแพง ขึ้นมาถกถามกับสังคมอีกครั้ง ถึงความจำเป็นของเครื่องแบบและวิชาเรียนบังคับ ไว้ดังนี้
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวิชาลูกเสือ-เนตรนารีนั้นถ้าไม่นับรวมเรื่องชุดเครื่องแบบที่หลายฝ่ายโอดครวญกันเยอะว่ามีราคาแพง(ในยุคข้าวยากหมายแพง) และเรื่องพิธีการที่ค่อนข้างมาก วิชานี้ก็นับว่ามีประโยชน์มาก ๆ เพราะเป็นวิชาที่สอนทักษะชีวิตให้แก่เด็ก ๆ ทั้งทักษะชีวิตในระดับพื้นฐาน เช่น เรื่องระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ สามัคคี เสียสละ จิตอาสา การทำงานเป็นทีม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ภาษีผ้าอนามัย" และสตรี ต้นทุนที่ต้องแบกรับ รายจ่ายที่สร้างปัญหาให้คนจน
ตรีนุช รมว.ศธ. ย้ำห้ามครูลงโทษนักเรียนด้วยความรุนแรง และตัดผมประจานไม่ได้
รวบรวมความเคลื่อนไหวทรงผมนักเรียนไทย สรุปก้าวสำคัญที่เกิดขึ้นในรอบ 10 ปี
ความรักชาติรักสถาบัน ศาสนพิธี การพูดหรือภาวะผู้นำ ไปจนถึงทักษะชีวิตในระดับ Advance หรือ Adventure แบบที่สามารถเอาชีวิตรอดในป่าในเขาหรือในภาวะฉุกเเฉินกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้เชือกเงื่อน การก่อไฟ การปรุงอาหาร การปฐมพยาบาล การห้ามเลือด การขนย้ายผู้ประสบเหตุ การช่วยเหลือคนตกน้ำ การเข้าเฝือกเบื้องต้น การเอาตัวรอดในภาวะวิกฤต การเดินป่า การใช้เข็มทิศ การใช้แผนที่ กานหนีไฟ การดับเพลิง การทำหรือการสังเกตเครื่องหมาย การใช้รหัส ความรู้เรื่องสมุนไพร ไปจนถึงการสร้างที่พักชั่วคราว การสร้างสะพานไม้สะพานเชือก การช่วยชีวิตคน การทำภารกิจเฉพาะ การประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุเท่าที่มี และอีกสารพัดทักษะชีวิต
ปัญหาที่เกิดขึ้นจนเป็นข่าวอยู่บ่อย ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดเครื่องแบบ แล้วก็มีหลายคนนำมาเป็นข้ออ้างพร้อมทั้งเสนอแนะว่า “ควรยกเลิกเรียนวิชาลูกเสือเนตรนารี เพราะชุดแพง”
เอาจริง ๆ ถ้าถามว่าแพงไหม ก็ยอมรับว่าแพงในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีรายได้น้อยนั้นเป็นปัญหาจริง ๆ แต่ถ้าจะแก้ด้วยการยกเลิกเรียนไปเลยมันจะใช่หรือครับ
ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เรามาแก้ให้ตรงจุดดีไหม ปัญหาอยู่ที่ชุดเครื่องแบบ เราก็แก้ที่ชุดเครื่องแบบ ผมนึกไปถึงลูกเสือชาวบ้านที่ไม่ต้องมีเครื่องแบบ มีแค่ผ้าผูกคอกับวอกเกิ้ลที่ใส่กับชุดอะไรก็ได้ ถ้าให้นักเรียนใส่ชุดนักเรียนหรือชุดพละ(ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้ว) แล้วซื้อแค่ผ้าผูกคอกับวอกเกิ้ลมาใส่ แบบนี้จะดีไหม ส่วนตัวคิดว่าเข้าท่าดีเหมือนกัน หมดปัญหาเรื่องชุดเครื่องแบบแพง แล้วก็ยังได้เรียนวิชาดี ๆ มีประโยชน์เหมือนเดิม มีแต่ได้กับได้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่แนวคิดเล็ก ๆ ครับ อ่านข่าวเจอเลยอยากมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกท่านเท่านั้นเองครับ เท่านั้นจริง ๆ
โดยทางเพจ Drama-addict ได้โพสต์ตัวอย่างใบเสร็จชุดลูกเสือจากเพจ ส่งรายละเอียดค่าใช้จ่าย ที่ปัจจุบันอาจสร้างภาระผู้ปกครองในยามที่วิกฤติเศรษฐกิจไม่สู้ดีแบบนี้ราคาสองชุด รวมกันแล้วเกือบ 3 พันบาท ซึ่งใช้งาน 1 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น
โดยทั้งนี้ เนติวิทย์ นักกิจกรรมและเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธินักเรียน นักศึกษา ก็เคยโพสต์ถึงประเด็น ชุดลูกเสือ เนตรนารี ลงเฟซบุ๊กเมื่อ 14 พฤษภาคม 2015 ไว้ 5 ประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1.การบังคับเรียนลูกเสือกับการมีระเบียบวินัย ในสังคมอื่นๆ ที่มีระเบียบวินัยสูงกว่าประเทศเรา เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ เนเธอแลนด์ ก็ไม่ได้มีการบังคับการเรียน การสอน หรือปรับให้เป็นวิชาเลือกแทน
2.การเรียนลูกเสือ ไม่ได้มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 และไม่ได้บังคับให้เด็กชายต้อง พ.ร.บ. ลูกเสือ พ.ศ. 2509 ให้เด็กชายเป็นสมาชิกของกองลูกเสือ ตามความสมัครใจ
3.การฝึกระเบียบวินัยทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้จากสถาบันครอบครัว ในการปลูกฝังเริ่มต้นในแก่นักเรียน
4.การยกเลิกบังคับเรียนวิชาลูกเสือ หรือ การยกเลิกตัดผมทรงนักเรียน ไม่ได้ทำให้ระเบียบวินัยลดหรือมีผลกับสติปัญญา
5.การยกเลิกบังคับเรียน แล้วปรับให้เป็นวิชาเลือกก็จะได้ผู้เรียนที่มีความสนใจและสมัครใจจริงๆ ผู้สอนได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ และส่งเสริมวงการหนังสือ
ซึ่งทาง อาจารย์ เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ได้เสนอแนะความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็กชุดลูกเสือ เนตรนารี เรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน โดยโพสต์ กล่าวว่า
"เห็นด้วยครับ วิชาลูกเสือเนตรนารีจะมีเรียนก็ได้ แต่แค่เลิกแต่งชุดคอสเพลย์เต็มตัว แล้วเอาแค่ผ้าพันคอมาใส่ทับชุดนักเรียน ใน "ชั่วโมงลูกเสือ" ก็พอครับ ไม่เปลืองเงิน ไม่ร้อนด้วย"
ทั้งนี้กฏหรือระเบียบต่างๆ เมื่อผ่านยุคสมัย การปรับเปลี่ยนเพื่อสอดรับให้เข้ากับวิถีชีวิตหรือเศรษฐกิจก็อาจจะไม่ใช่การลดทอนหรือทำลายความสำคัญ แต่เป็นการหาตำแหน่งแห่งที่เพื่อสอดรับการคนที่ใช้งานหรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับผลประโยชน์สูงสุดอาจจะดีกว่า