svasdssvasds

"ภาษีผ้าอนามัย" และสตรี ต้นทุนที่ต้องแบกรับ รายจ่ายที่สร้างปัญหาให้คนจน

"ภาษีผ้าอนามัย" และสตรี ต้นทุนที่ต้องแบกรับ รายจ่ายที่สร้างปัญหาให้คนจน

ความเคลื่อนไหว ภาษีผ้าอนามัย กลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง หลังจากที่ สำนักงานเขตบางขุนเทียน รับเรื่องสานต่อ นโยบายนำร่องผ้าอนามัยฟรี ให้แก่เด็กนักเรียนในสังกัด กทม. เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองและเสริมสุขอนามัยที่ดีให้กับผู้มีรายได้น้อย

สำหรับประเทศไทย การควบคุมราคา ผ้าอนามัย ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2563 จัดให้อยู่ในหมวด สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งแปลว่าเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ ไม่สามารถขายเกินราคาได้

นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต ได้ชี้แจงได้ออกมาชี้แจงเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยเมื่อกรกฎาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ไว้ว่า ปัจจุบัน ผ้าอนามัยเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat)​ 7% เหมือนกับสินค้าหรือบริการที่มีการบริโภคในประเทศตามปกติ ไม่ได้อยู่ในประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย เพราะถือเป็นสินค้าที่มีความจำเป็น ที่ผู้หญิงต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

"นิยามการเสียภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย คือ ถ้าไม่มีใช้ก็ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ถ้าส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันก็ถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ฟุ่มเฟือย โดยปัจจุบันกรมสรรพสามิตมีการจัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยเพียงรายการเดียว คือ น้ำหอมในอัตราภาษีตามมูลค่าที่ 8%"

ผ้าอนามัยแบบต่างๆ ที่เป็นตัวเลือกให้กับผู้หญิงในช่วงมีประจำเดือน ภาพจาก freepik

ทั้งนี้เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2564 ที่ผ่านมา หลังจากที่มีประเด็นร้อน เมื่อราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดวัตถุอื่นเป็นเครื่องสำอาง พ.ศ. 2564 นั่นคือ ผ้าอนามัยแบบสอด จนทำให้ “กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)” ออกเรียกร้องให้มีการ ติด #saveผ้าอนามัยและได้ยื่นหนังสือ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร โดยระบุว่า 

  • ให้ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสินค้าจำพวกผ้าอนามัยทุกชนิด เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ และคืนความเป็นธรรมให้สตรีทุกคนในประเทศไทย 
  • ต้องมีการจัดหาผ้าอนามัยแจกในสถานศึกษา ระดับโรงเรียน เพราะเป็นวัยที่ยังไม่มีรายได้
     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทางกลุ่มเปิดเผยว่าจากการสำรวจราคาผ้าอนามัยท้องตลาด มีราคาต่ำสุด 5 บาทต่อชิ้น และแพงสุดเป็นพันบาทต่อชิ้น โดยมาตรฐานระบุไว้ให้ใช้ 4 ชั่วโมงต่อ 1 แผ่น ซึ่งพบว่ามีเด็กหลายคนที่ไม่สามารถจัดซื้อได้เพียงพอต้องทนใช้ผ้าอนามัยเดิมเป็นเวลานานกว่ามาตรฐาน ทั้งมีความกังวลในเรื่องของสุขอนามัยและปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ ไปจนถึงปัญหาเศรษฐกิจระดับครอบครัว โดยเป็นการลดรายจ่ายในส่วนของผ้าอนามัยให้กับเด็กๆ เพื่อสามารถนำเงินไปใช้กับการศึกษาด้านอื่นๆ เช่น การเข้าถึงหนังสือดีๆ ได้เพิ่มขึ้น 

ส่วนความเคลื่อไหว ภาษีผ้าอนามัย ในต่างประเทศ ที่เด่นๆ มีดังนี้ 

ประเทศอินเดีย ได้มีการประกาศยกเลิกภาษีผ้าอนามัยแล้วเมื่อปี 2018 หลังจากที่เกิดการประท้วงและรณรงค์ให้ยกเลิกการเก็บภาษีที่เรียกว่า "ภาษีเลือด" 12%กับสินค้าประเภทผ้าอนามัย ในปี 2017 เนื่องจากพบว่า ในอินเดียมีผู้หญิงและเด็ก 4 ใน 5 คนไม่สามารถเข้าถึงผ้าอนามัยได้ และเป็นต้นเหตุให้นักเรียนจำนวนมากต้องออกจากการศึกษา
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จากการจัดให้เป็นสินค้าที่อยู่ในหมวดฟุ่มเฟือย และเก็บภาษีอยู่ที่ 12% ปัจจุบันได้รับการยกเว้นภาษี 100% แล้วทั่วประเทศ 

ส่วนประเทศอื่นๆ รอบโลกมีอัตราการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัย ดังนี้ 

  • ประเทศเดียวที่มาการแจกผ้าอนามัยฟรีให้ประชาชน คือ สกอตแลนด์ 
  • ประเทศที่ยกเลิกการเก็บภาษีผ้าอนามัย ได้แก่ เคนยา เลบาบอน สหรัฐ นิกการากัว จาเมกา ไนจีเรีย แทนซาเนีย มาเลเซีย ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร
  • ประเทศที่แต่เก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ แคนาดา อินเดีย เยอรมัน 
  • ประเทศลดจากภาษีฟุ่มเพือยเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ ไซปรัส โปรตุเกส 

ส่วนประเทศที่มีแผนลดภาษีผ้าอนามัย เพื่อเป็นการบรรเทาภาระให้กับผู้หญิงเบื้องต้น ดังนี้

  • ประเทศสเปน ลดจาก 10 เหลือเป็น 4%
  • ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ลดจาก 7.7% เหลือ 2.5% 

โดยประเทศที่ยังจัดเก็บ ภาษีผ้าอนามัย ในอัตราภาษีฟุ่มเฟือย มีดังนี้ 

  • ฮังการี 27%
  • สวีเดน เดนมาร์ก โครเอเชีย 25%
  • ฟินแลนด์ 24%
  • อาร์เจนตินา 21%

ทั้งนี้ประเทศที่เก็บราคาผ้าอนามัยถูกที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับรายได้ประชากร ได้แก่ เวียดนาม เคนยา เยอรมัน 

โดยล่าสุดหลังจากผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. อย่างไม่เป็นทางการออกมาว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น นำโด่งขาดลอยคู่แข่งคนอื่นๆ และในค่ำวันเดียวกันนั้นเอง ได้ประกาศให้สำนักงานเขตต่างๆ ที่จะต้องทำงานร่วมกัน ทำการอ่านรายละเอียดเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษานโยบาย 214 ข้อไว้ล่วงหน้า  

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา สำนักงานเขตบางขุนเทียน ได้หยิบนโยบาย นำร่องผ้าอนามัยฟรี ที่เป็นหนึ่งในนโยบายจาก 214 ข้อ ของว่าที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ คนใหม่ ในหมวด เศรษฐกิจดี สุขภาพดี มาโพสต์ความคืบหน้าในการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อแจกจ่ายผ้าอนามัยฟรีให้กับนักเรียนในสังกัด กทม. 16 โรงเรียน รวมแล้วมีนักเรียนหญิงทั้งหมด 2 พันคน โดยจะเริ่มต้นแจก ที่จำนวนกว่า 2 หมื่นชิ้นซึ่งรูปแบบการแจกจะจัดวางไว้ในห้องน้ำ ห้องพยาบาล เพื่อให้เด็กๆ สามารถเข้าถึงได้สะดวก 

โดยตาม นโยบายนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ชี้แจงจุดประสงค์ไว้เพื่อช่วยลดภาระผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนในสังกัด กทม. และแก้ปัญหา ความจนประจำเดือน  (Period Poverty) ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและสุขอนามัยของผู้มีประจำเดือน

ที่มา
1 2 3 4
 

related