หลังจากเมื่อปีที่แล้วทางรัฐบาลจีนได้ประกาศแบนคริปโทเคอร์เรนซีจนทำให้ค่าแฮชเรทหรืออัตราการขุดลดลงเหลือ 0% เนื่องจากสถานการณ์ที่จีนใช้พลังงานเป็นจำนวนมากจนทำให้เกิดการตัดไฟและมีปัญหาตามมามากมายเกิดขึ้น
รายงานล่าสุดจาก The Cambridge Centre for Alternative Finance: CCAF เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2021 จนถึงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศจีนได้มีส่วนแบ่งอัตราการประมวลผล หรือ Hash Rate ในการขุด Bitcoin (BTC) มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา
ทำไมประเทศจีนจึงแบนคริปโทฯ ?
เดิมทีประเทศจีนมีการใช้พลังงานที่สูงมากอยู่แล้ว เนื่องจากคนในประเทศมีจำนวนมาก ทำให้พบกับปัญหาขาดแคลนพลังงานในปีที่แล้ว ทำให้เกิดไฟดับและตัดไฟหลายครั้งและเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก การขุดคริปโทฯซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ “พลังงานสูงมาก” จึงไม่เป็นผลดีต่อประเทศ จีนจึงสั่งแบน อีกทั้งรัฐบาลยังต้องการสนับสนุนเหรียญหยวนดิจิทัลอีกด้วย
ซึ่งอัตราแฮชเรททำให้เราทราบว่าในประเทศจีน แม้ว่ามีกฎหมายห้ามออกมา แต่ก็ยังมีการแอบขุดแบบผิดกฎหมายอยู่ ส่วนใหญ่เป็นการใช้ VPN หรือพร็อกซี่ในการหลีกเลี่ยงการแบนในประเทศจีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
พลังงานที่ใช้ในการขุดบิทคอยน์
ขณะนี้ประเทศจีนยังคงพึ่งพาถ่านหินอย่างหนักในการผลิตพลังงาน และกำลังเพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนเพื่อให้เป็นกลางคาร์บอนภายในปี 2060 จีนจึงมองว่าการขุดคริปโตเป็นอุปสรรคต่อแผนดังกล่าว
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าประชาชนจีนยังไม่ได้ความร่วมมือเป็นจำนวนมาก และหากอัตราแฮชเรทยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจทำให้ประเทศจีนมีพลังงานใช้ไม่เพียงพออีกครั้ง และส่งผลต่อการใช้พลังงานในโลกอีกด้วย
โดยดัชนี Cambridge Bitcoin Electricity Consumption Index (CBECI) ที่ถูกจัดทำขึ้นมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ มีการรายงานว่า การขุดบิทคอยน์ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงถึง 121.36 เทราวัตต์ชั่วโมง (TWh) ต่อปี เป็นตัวเลขที่สูงกว่าการใช้งานพลังงานไฟฟ้าของประเทศอาร์เจนตินาทั้งประเทศ และติดอันดับ 30 หากเทียบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าจากประเทศทั่วโลก โดยการทำเหมืองบิตคอย์ใช้พลังงานเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของจำนวนพลังงานทั้งหมดในโลก
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในเมื่อตลาดคริปโทเคอร์เรนซียิ่งโตมากขึ้น ก็มีคนให้ความสนใจในการขุดบิทคอยน์มากขึ้น และยิ่งบิทคอยน์มีราคาสูงเท่าไร บริษัทต่างๆก็สามารถซื้ออุปกรณ์เพิ่มได้มากยิ่งขึ้น และการใช้พลังงานมหาศาลในการขุดบิทคอยน์ทั่วโลกจะเพียงพอไปตลอดหรือไม่