สภาหอการค้าฯ – สภาอุตสาหกรรมฯ – สถาบันอาหาร เผยยอดส่งออกไตรมาสแรกปี 65 เติบโตขึ้น 28.8% สร้างมูลค่ากว่า 2.8 แสนล้านบาท คาดครึ่งปีหลังยอดอาจตกลง หลังต้นทุน-เงินเฟ้อสูง กระทบกำลังซื้อ มองจบปียอดยังคงเป้า ที่ 1.2 ล้านล้านบาท หรือโตขึ้นราว 9.3%
นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินงานของศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร โดยมี สภาหอการค้าฯ และสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมบูรณาการข้อมูล พบว่าในไตรมาสแรกปี 2565 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากประเทศคู่ค้านำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะกลับมาคึกคักในช่วงที่หลายชาติเตรียมการรับการเปิดประเทศ (Reopening) ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก
ส่งออกอาหารไทยอะไรโตบ้าง ?
สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารไทยในไตรมาสแรกปี 2565 มีมูลค่า 286,022 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ได้แก่
ส่วนการส่งออกแป้งมันสำปะหลัง และปลาทูน่ากระป๋องมีปริมาณลดลงเล็กน้อยแต่มูลค่าขยายตัวสูง มีเพียงการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง และอาหารพร้อมรับประทาน เท่านั้นที่การส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากทางการจีนเข้มงวดในมาตรการนำเข้าสินค้าเพื่อควบคุมโควิด-19 ทำให้ผลไม้ส่งออกของไทยโดยเฉพาะทุเรียนหดตัวลง
อ่านเรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นางอนงค์ กล่าวต่อว่า ตลาดส่งออกอาหารของไทยในไตรมาสแรกปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกลางและเอเชียใต้ ที่มูลค่าส่งออกขยายตัวสูงถึง 101.9% และ 255% ตามลำดับ
ในขณะที่กลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอย่างอาเซียนเดิม (5 ประเทศ) และ CLMV ก็ขยายตัวในระดับสูง เนื่องจากความกังวลเรื่องโควิด-19 ลดลง , กิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะการฟื้นตัว
ส่วนกลุ่มประเทศคู่ค้ารายใหญ่อย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ก็ขยายตัวได้ในระดับสูงเช่นกันหลังจากชะลอตัวในปีก่อน
“มีเพียงการส่งออกไปจีนประเทศเดียวที่การส่งออกขยายตัวต่ำเพียงร้อยละ 6.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีนยังคงเกิดขึ้น ทำให้ทางการจีนต้องใช้นโยบาย "Zero-Covid" หยุดการแพร่ระบาด กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลง”
"แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 913,978 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และคงคาดการณ์ส่งออกทั้งปีไว้ที่ 1,200,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3" นางอนงค์ กล่าว
ปัจจัยที่จะสนับสนุนหลักให้ภาคส่งออกอาหารไทยโตในอีก 3 ไตรมาสหลังของปี 2565
ปัจจัยที่จะทำให้การส่งออกไม่เป็นไปตามคาดการณ์ ได้แก่
นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต กล่าวว่า การส่งออกสินค้าอาหารของไทยไตรมาสแรกของปีนี้ ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสภาวะโควิดดีขึ้นตามลำดับ ในปีนี้ทุกประทศค่อนข้างมีความมั่นใจ จึงเริ่มเปิดทำการค้ามากขึ้น โดยมีปัจจัยที่เสริมในไตรมาสแรกและต่อเนื่องไตรมาสที่ 2 อาทิ อัตราการแลกเปลี่ยน ต้นทุน ราคาขาย รวมถึงความปลอดภัยอาหาร ที่จะเป็นตัวเร่งให้การส่งออกอาหารไทยดีขึ้น ในด้านต้นทุนการผลิต-ขนส่ง ที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาพลังงานสูงขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์มีการให้ปรับราคาสินค้าเป็นราย ๆ ไม่ได้ปรับขึ้นได้ทุกราย ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกลไกตลาด
นายเจริญ แก้วสุกใส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกอาหารของไทยในปัจจุบันควรมุ่งเน้นในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะการส่งออกไปยังชายแดน ควรมีการอำนวยความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมองว่าสถานการณ์สงครามรัสเซีย - ยูเครน อาจจะยืดเยื้อ 1-3 ปี คาดว่าจะยังต้องประสบกับภาวะราคาสินค้าผันผวนต่อไป