ธนาคารออมสิน เปิดลงทะเบียน "สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ" ให้กู้สูงสุด 300,000 บาท ผ่าน www.gsb.or.th เช็กคุณสมบัติและเงื่อนไขได้เลย
ลงทะเบียน "สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ" นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ได้ชี้แจงก่อนหน้านี้ว่า ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2565 ธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่รวม 95,500 ล้านบาท ทั้งสินเชื่อรายย่อย สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อภาครัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 รวมกว่า 370,000 ราย
สินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล
• สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ จำนวน 33,000 ราย ปล่อยสินเชื่อรวม 1,600 ล้านบาท
• อบรมทักษะอาชีพภายใต้โครงการออมสิน สร้างงาน สร้างอาชีพ ได้มากกว่า 16,200 ราย
สำหรับคุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพธนาคารออมสิน รายละเอียดและคุณสมบัติ ดังนี้
• เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
• มีถิ่นที่อยู่อาศัย และ สถานประกอบการแน่นอน
• ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ผู้บริหาร หรือกรรมการของธนาคารออมสิน
• เป็นผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย / ผู้ประกอบการขนาดเล็ก / ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ที่ผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐ / เอกชน ที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• สินเชื่อออมสิน สร้างงานสร้างอาชีพ กู้สูงสุด 300,000 บาท ลงทะเบียน gsb.or.th
• ครม. เคาะ แต่งตั้ง - โยกย้าย - สลับ หลายตำแหน่ง "นพ.ทวีศิลป์" เป็นบอร์ด ธ.ออมสิน
• ลูกหนี้เฮ ! "ออมสิน" ชะลอฟ้องลูกค้าหนี้เสียกว่า4หมื่นบัญชี ช่วยโควิด-19
สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
• ผู้เริ่มประกอบอาชีพ / ผู้ประกอบการรายย่อย ประกอบด้วย ผู้ที่ผ่านการอบรมอาชีพ “ช่าง” ทุกประเภท เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น และ ผู้ที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น โดยมีใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
• ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า โดยมีใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ
• ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่มีสถานที่จำหน่าย หรือสถานที่ให้บริการ ที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น โดยมีทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนการค้า สัญญาแฟรนไชส์ หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของอื่นๆ
วัตถุประสงค์การกู้สินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพ
• เพื่อเป็นเงินทุนเริ่มต้นในการประกอบอาชีพ หรือเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ และบรรเทาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพจากการได้รับผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งต้องไม่เป็นการนำไป Refinance สินเชื่อเช่าซื้อ
ประเภทสินเชื่อ
• เงินกู้ระยะยาว (L/T)
วงเงินให้กู้
• ให้กู้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อราย โดยแยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้
ประเภทกิจการ
• ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 50,000 บาท
• ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 50,000 บาท
• ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า กู้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท
• ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์ กู้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท
• ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย แฟรนไชส์ ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น กู้ได้ไม่เกิน 100,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย
• อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ตลอดอายุสัญญากู้เงิน
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้
• สูงสุดไม่เกิน 5 ปี (60 งวด) รวมกับระยะเวลาปลอดชำระเงินงวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 6 งวดแรก โดยเริ่มชำระตั้งแต่งวดที่ 7 เป็นต้นไป จนกว่าจะปิดบัญชีหรือครบสัญญา
หลักประกันการกู้
• กรณีวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีหลักประกัน (Clean Loan)
• กรณีวงเงินกู้เกิน 100,000-300,000 บาท ใช้บุคคลค้ำประกัน โดยบุคคลค้ำประกันจะต้องมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของวงเงินกู้
เอกสารประกอบการกู้
• เอกสารที่ผู้ขอกู้จะต้องเตรียม เพื่อใช้ยื่นขอสินเชื่อผ่านธนาคารออมสินสาขา แยกตามกลุ่มอาชีพ ดังนี้
ประเภทกิจการ
ผู้ประกอบวิชาชีพช่าง เช่น ช่างปูน ช่างแอร์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างซ่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเสริมสวย / ตัดผม เป็นต้น
เอกสารประกอบการกู้
• บัตรประชาชนผู้ขอกู้
• ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
• ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
• รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
ผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่ใช่ช่าง เช่น จำหน่ายสินค้า online การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง การจัดดอกไม้ เป็นต้น
เอกสารประกอบการกู้
• บัตรประชาชนผู้ขอกู้
• ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
• ใบประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร ที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงานรัฐ / เอกชน หรือเอกสารอื่น ๆ ตามประเภทของอาชีพ (ฉบับจริง)
• รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
ผู้ขับขี่รถสาธารณะ ประกอบด้วย ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ / รถตู้สาธารณะ / รถรับจ้างขนส่งสินค้า
เอกสารประกอบการกู้
• บัตรประชาชนผู้ขอกู้
• ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
• ใบอนุญาตขับขี่รถสาธารณะ (ฉบับจริง)
• รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
ผู้ประกอบการร้านค้าแฟรนไชส์
เอกสารประกอบการกู้
• บัตรประชาชนผู้ขอกู้
• ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
• เอกสารที่รับรองจากแฟรนไชส์ซอ เช่น สัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญามัดจำ / หนังสือผ่านสิทธิ เป็นต้น
• เอกสารประมาณการ รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจแฟรนไชส์ (ตัวอย่างแบบฟอร์มเอกสารตาม Link นี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำเอกสารในการยื่นขอกู้)
• รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีสถานที่จำหน่ายที่แน่นอน เช่น ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง โชห่วย ร้านนวดแผนไทย ร้านสปา อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
เอกสารประกอบการกู้
• บัตรประชาชนผู้ขอกู้
• ทะเบียนบ้านผู้ขอกู้
• บัญชีรับจ่าย / Statement รายได้จากสถานประกอบการ ย้อนหลัง 6 เดือน
• ทะเบียนการค้า / ทะเบียนพาณิชย์ ของสถานประกอบการ
• รูปถ่ายสถานประกอบการ (ถ้ามี)
วงเงินโครงการ
5,000 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการ
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถยื่นขอสินเชื่อผ่านธนาคารออมสิน โดยจะต้องอนุมัติและจัดทำนิติกรรมสัญญาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด (First Come First Serve)
ลงทะเบียน www.gsb.or.th
หลังจากนั้นกรอกเครื่องหมายถูก
ถัดจากนั้น คลิก ลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียนการกู้
• กรอกเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
• กรอก ชื่อ นามสกุล
• วัน เดือน ปี เกิด
• กรอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ
• ที่อยู่ บ้าน เลขที่
• ถนน ตำบล จังหวัด
• ประเภทการดำเนินกิจการ
• ระยะเวลาดำเนินกิจการ
• จำนวนเงินที่ต้องการกู้
ที่มา: ธนาคารออมสิน