svasdssvasds

กรมวิทย์ฯ เผยไทยเจอโอไมครอน 99.95% พบเข้าข่ายเดลตาครอน 73 ราย ส่ง Gisaid ตรวจ

กรมวิทย์ฯ เผยไทยเจอโอไมครอน 99.95% พบเข้าข่ายเดลตาครอน 73 ราย ส่ง Gisaid ตรวจ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยพบสัดส่วนการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันไม่ห่วง เชื้อกลายพันธุ์เดลตาครอน หลังทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อเดลต้าครอน 64 ราย ส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

 ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุถึงข้อมูลจำแนกตามสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังและการกลายพันธุ์ของเชื้อ โดยเมื่อ สัปดาห์ที่แล้ว กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ได้ตรวจตัวอย่างไปกว่า 1,981 ตัวอย่าง พบ 1 ราย เป็นสายพันธุ์เดลตา ที่เหลือพบเป็นสายพันธุ์โอไมครอน ร้อยละ 99.95 เช่นเดียวกับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศที่พบผลบวก ก็เป็นสายพันธุ์โอไมครอนทั้งหมด โดยสายพันธุ์โอไมครอนแบ่งสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 BA.2  

กรมวิทย์ฯ เผยไทยเจอโอไมครอน 99.95% พบเข้าข่ายเดลตาครอน 73 ราย ส่ง Gisaid ตรวจ

 ซึ่ง BA.2 ภายหลัง เจอสัดส่วนผู้ติดเชื้อเยอะกว่า BA.1 เนื่องเป็นสายพันธุ์แพร่เร็วกว่า แต่ยังไม่มีข้อมูลความรุนแรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เช็กเลย! โอไมครอน BA.2.2 รุนแรงแค่ไหน ระยะฟักตัวกี่วัน ในไทยพบแล้ว 4 ราย

• ไทยพบโควิด BA.2.2 จำนวน 4 รายหายดีแล้ว ยังเฝ้าระวัง หลังฮ่องกงระบาดหนัก

• กรมวิทย์ฯ เผย  โอไมครอน BA.2 มาแรง แพร่เร็วกว่า  BA.1 ถึง 1.4 เท่า

 สัดส่วนการตรวจตัวอย่าง 1,981 ตัวอย่าง ที่สุ่มตรวจสายพันธุ์โอไมครอน พบเป็นการติดเชื้อรายใหม่ ที่สำรวจในประเทศ ร้อยละ 85.43 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์สุ่มตัวอย่าง 51 ตัวอย่างพบสัดส่วนการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ร้อยละ 84.31

 นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ที่พบน่าสงสัยว่าจะเป็นสายพันธุ์เนื่องจากพบค่า CT ต่ำกว่าปกติ โดยทำการสำรวจ 20 ตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์ BA.2 ร้อยละ 75 และกลุ่มที่อาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ได้ทำการสำรวจตัวอย่าง 94 ตัวอย่าง พบเป็นสัดส่วนตัวอย่าง ร้อยละ 60.64 

 ส่วนการแยกสายพันธุ์ BA.2.2 และ BA.2.3 ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าเชื้อดังกล่าวจะเพร่กระจายได้เร็วหรือความรุนแรงแค่ไหน 

 ส่วนความคืบหน้าสายพันธุ์เดลตาครอน ประเทศไทยได้ส่งตัวอย่างให้กับ Gisaid 74 ตัวอย่าง โดยตอนนี้มีข้อมูลทั่วโลกอยู่ในระบบ Gisaid ประมาณ 4,000 ตัวอย่าง ขณะนี้รายงานทั่วโลก พบสายพันธุ์เดลต้าครอนที่ยืนยันแล้วทั้งหมด 64 ราย ส่วนใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

 นพ.ศุภกิจระบุว่า สายพันธุ์เดลตาครอนไม่น่าเป็นห่วงในประเทศไทย เนื่องโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ในประเทศน้อยมาก และยังไม่มีข้อมูลเรื่องความรุนแรงรวมไปถึงการหลบหลีกเชื้อที่มีต่อวัคซีน 

 ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในไทยพบเป็นโอไมครอนเกือบทั้งหมดและพบสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


 

related