กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ โควิด 19 สายพันธุ์ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อยBA.2 แพร่เร็ว อาจมาแทนที่ BA.1 ในสัปดาห์หน้า ขณะที่ข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุ โอไมครอน BA.2 ยังไม่รุนแรงกว่า BA.1
นายแพทย์ ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า โควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอน การระบาดครอบคลุม เกือบ 100% แล้ว กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัด โดยพบสายพันธุ์เดลต้าเพียง 7 ราย โดย พบ เป็นสายพันธุ์ BA.2 ระบาดร้อยละ 52 ส่วนที่เหลือ BA.1 ถือว่า BA.2 มีอำนาจการแพร่เร็วกว่า BA.1 และสัปดาห์หน้าคาดว่า BA.2 จะแทน BA.1
ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลกยังมีข้อมูลไม่เพียงพอถึงอัตราการแพร่เร็ว ของ BA.2 ที่ชัดเจน แต่ความรุนแรง ยังไม่ได้มีความแตกต่างจาก BA.1
ส่วนสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจสายพันธุ์ โดยการแยกสายพันธุ์ย่อย โอไมครอน ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม พบว่า สายพันธุ์ BA.2 และสายพันธุ์ BA.1 มีความสามารถในการแพร่เชื้อ พอๆกัน โดยอัตราการแพร่เชื้อสายพันธุ์ BA.2 อยู่ที่ ร้อยละ 28.57
ทั้งนี้ สายพันธุ์โอไมครอน สามารถแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์ปกติ 1.4 เท่า ซึ่งหากมีการติดเชื้อในครัวเรือนสามารถแพร่กระจายได้สูงกว่า BA.1 โดย BA.2 แพร่ได้ ร้อยละ39 ส่วน BA.1 แพร่ได้ ร้อยละ 29 ขอให้ระมัดระวังในการเข้มงวด ในการป้องกันการรับเชื้อ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
โควิดวันนี้ 8 มี.ค. 65 ติดเชื้อเพิ่ม 18,943 ราย เสียชีวิต 69 ราย
จุดให้บริการ เจอ แจก จบ มีที่ไหนบ้าง ใครตรวจเจอโควิด-19 ต้องทำอย่างไรเช็กเลย
สปสช. ปรับเกณฑ์เบิกจ่ายผู้ป่วยโควิด ผู้ป่วยนอก-Home Isolation
สำหรับกรณีของวัคซีนโควิด พบว่า โควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอน มีการดื้อต่อวัคซีนเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ ส่วนเรื่องของการใช้ยาจากภูมิที่สังเคราะห์ หรือโมโนโคลนอลแอนติบอดี สามารถรักษาสายพันธ์ เดลต้าได้ แต่ไม่สามารถรักษาโควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอนได้
สรุปได้ว่าขณะนี้ พบโควิด-19 สายพันธุ์ โอไมครอน BA.2 เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนความรุนแรงไม่ได้มากส่วน สายพันธุ์ย่อย BA. 3 ยังไม่พบในไทย
ส่วนกรณี ที่หลายคน คิดว่าเมื่อติดเชื้อโควิด-19แล้ว จะเกิดมีภูมิคุ้มกันธรรมชาตินั้น อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อธิบายว่า หากเป็นการติดเชื้อในช่วงสายพันธุ์เดลต้าระบาดอยู่ ภูมินั้นก็อาจจะสามารถป้องกันได้ แต่ตอนนี้เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ข้อมูลเป็นที่แน่ชัดแล้ว ว่าคุณสมบัติของโอไมครอนหลบภูมิได้ ซึ่งผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงการระบาดเดลต้า ก็สามารถที่จะติดเชื้อโควิด-19 ในสายพันธุ์ โอไมครอนได้อีก แต่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19ในช่วงโอมิครอน ยังมีภูมิตามธรรมชาติที่ป้องกันการติดเชื้อการติดเชื้อโอมิครอนซ้ำได้
แม้สายพันธุ์ BA.2 จะดื้อต่อวัคซีนโควิดอยู่บ้าง แต่ยังไม่มีข้อมูลอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม ให้รีบมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อให้ทันต่อช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึง
อีกทั้งยังพบอีกว่า BA.2 มีความสามารถในการหลบภูมิยาบางชนิดได้คือ ยาโมโนโคนอล แอนติบอดี้ สำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด- 19 แต่ยาดังกล่าว เป็นยาทางเลือกใช้เฉพาะผู้ป่วยอาการหนัก เบื้องต้นไม่ได้มีการใช้ยาดังกล่าวอย่างแพร่หลาย ในประเทศ
ส่วนอัตราผู้เสียชีวิตที่สูง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า มาจากอัตราการติดเชื้อที่สูงติดต่อกัน ทำให้ส่งผลต่อ อัตราการติดเชื้อผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่ ยังคงยืนยัน ว่าเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวและกลุ่มที่ยังรับวัคซีน โควิด-19 ไม่ครบ