หมอธีระ เผยข้อมูลใหม่เกี่ยวกับ โควิด-19 โดยอธิบายว่าไวรัสสามารถเกาะติดเซลล์ภูมิคุ้มกันในเลือดได้เหมือนเชื้อ HIV พร้อมเข้าทำลายเซลล์ได้เรื่อยๆ ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
หลังจากที่ไทยพบโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย BA.2.2 แล้ว 4 รายเป็นชาวต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย ทั้งหมด อาการไม่รุนแรงและตอนนี้หายป่วยแล้ว ยังเฝ้าระวังหลังฮ่องกงระบาดหนัก
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ประเด็นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระบุว่า
ไวรัสโรคโควิด-19 ติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ CD4 T cell ได้ ทีมวิจัยจากจีนเพิ่งเผยแพร่งานวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่า ไวรัสโรคโควิด-19 สามารถติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ภูมิคุ้มกัน CD4 T cells ได้โดยตรง
ก่อนหน้านี้เชื่อว่าไวรัสจะติดเข้าเซลล์ในระบบต่างๆ ผ่านตัวรับ ACE2 หรือ TMPRSS2
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• โควิดวันนี้ 15 มี.ค. 2565 ติดเชื้อเพิ่ม 19,742 ราย เสียชีวิต 70 ราย
• ไทยพบโควิด BA.2.2 จำนวน 4 รายหายดีแล้ว ยังเฝ้าระวัง หลังฮ่องกงระบาดหนัก
• หมอยง ชี้ "ข่าวปลอม-ข่าวร้าย" อุปสรรคสำคัญกับการต่อสู้โรคระบาดโควิด-19
แต่ล่าสุดพบว่าสามารถติดเข้าสู่เซลล์ภูมิคุ้มกัน CD4 ในเลือดของผู้ป่วยได้ และนำไปสู่การทำลายเซลล์ในเวลาต่อมา
คาดว่ากลไกการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ CD4 นั้นน่าจะผ่าน Lymphocyte function-associated antigen 1 (LFA-1)
เราทราบกันดีว่า CD4 T cells นั้นเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันในเลือดที่มีความสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรค ดังเช่นในโรคเอชไอวีที่หากมีการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์นี้ถูกทำลายไปเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา จนนำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
สำหรับ SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ซึ่งงานวิจัยนี้พิสูจน์ว่าสามารถติดเชื้อเข้าสู่ CD4 ได้นั้น คงต้องมีการติดตามต่อไปว่าเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด และจะมีกลไกพยาธิกำเนิด ส่งผลต่อร่างกายผู้ติดเชื้อในระยะยาวหรือไม่
อ้างอิง
Shen, XR., Geng, R., Li, Q. et al. ACE2-independent infection of T lymphocytes by SARS-CoV-2. Sig Transduct Target Ther 7, 83 (2022)
ที่มา : Thira Woratanarat