เปิดเหตุผล เพราะอะไร ทำไม 5 ชาติ โหวตคัดค้านประณามรัสเซีย ในที่ประชุม UN ในขณะที่ไทย เป็น 1 ใน 141 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ ที่ร่วมลงมติประณามรัสเซีย
จากเหตุ รัสเซีย - ยูเครน สถานการณ์ล่าสุด ที่ความรุนแรง ความขัดแย้ง ล่วงเลยมาเกิน 1 สัปดาห์ และที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (The United Nations General Assembly) มีการ ร่วมลงมติประณาม รัสเซีย ในยุคของวลาดิเมียร์ ปูติน ที่ รุกรานยูเครน เมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา โดยจากการลงมติครั้งนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ มี 5 ชาติ ที่แสดงจุดยืน อยู่เคียงข้างรัสเซีย โดยเลือกจะลงมติคัดค้านประณามรัสเซีย
โดย 5 ชาติที่เลือก คัดค้านการประณามรัสเซีย ได้แก่ เบลารุส , เกาหลีเหนือ ,เอริเทรีย ,ซีเรีย และ รัสเซีย เอง ขณะที่ ไทย เป็น 1 ใน 141 ประเทศจากทั้งหมด 193 ประเทศ ที่ร่วมลงมติประณามรัสเซีย
การที่ 5 ชาติ เลือกยืนอยู่ข้างรัสเซีย ในสถานการณ์ รัสเซีย - ยูเครน เวลานี้ เหตุผลว่าทำไม ชาติทั้งหมดเหล่านี้ จึงเลือกอยู่ข้างรัสเซีย หรือ เลือกอยู่ข้างเคียงท่าทีการกระทำของวลาดิเมียร์ ปูติน พอจะวิเคราะห์ได้ ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Breaking News : รัสเซียโจมตียูเครน ไฟไหม้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่สุดของยุโรป
โรเบิร์ต เดอ นิโร Call out เพื่อยูเครน จากเหตุ สงครามรัสเซีย - ยูเครน ล่าสุด
• ชาติที่ 1 : เบลารุส ปัจจุบัน มีผู้นำที่ชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก้ ซึ่งได้รับสมญานามจากสื่อตะวันตก ว่าเป็น"เผด็จการคนสุดท้ายของยุโรป" ซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดี และแนบแน่น กับวลาดิมีร์ ปูติน และ เบลารุสกับรัสเซีย มีพรมแดนที่อยู่ติดกัน
อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก้ ชนะการเลือกตั้ง “อย่างไม่โปร่งใส” ทุกครั้ง ในช่วงเกือบๆ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา และยังบริหารประเทศในลักษณะเผด็จการ ควบคุมสื่อ ควบคุมความคิดเห็นของประชาชน และแม้ประชาชนจะเคยออกมาประท้วงต่อต้าน แต่ตำแหน่งอำนาจสูงสุดของเบลารุสของเขาก็ยังคงไม่สั่นคลอน โดยเมื่อปี 2020 ที่เกิดการประท้วงต่อต้าน ลูคาเชนโกครั้งใหญ่ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ก็ เคยถึงกับจะส่งทหารมาช่วยปราบม็อบด้วยซ้ำ
•ชาติที่ 2 :ซีเรีย , ในประวัติศาสตร์การเมืองโลก ยุคหลัง ซีเรีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ รัสเซียเคยส่งกองกำลังไปช่วยปราบกลุ่มต่อต้าน รัฐบาลบัชชาร์ อัล-อัสซาด ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบัน ซึ่งที่จริงแล้ว บัชชาร์ อัล-อัสซาด แทบจะเป็นการผูกขาดอำนาจการบริหาร เพราะเขาขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีซีเรียยาวนานมาตั้งแต่ปี 2000
.
•ชาติที่ 3 : เกาหลีเหนือ เป็นที่แน่นอนว่า คิม จอง อึน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย และหากย้อนไปในอดีต รัสเซีย ในสมัยที่เป็น สหภาพโซเวียตมีส่วนก่อตั้งเกาหลีเหนือขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1948 หลังเข้ายึดคาบสมุทรเกาหลีทางตอนเหนือ ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และผลักดันให้คิม อิล ซุง ปู่ของ คิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน ขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือคนแรกในเวลานั้น
.
•ชาติที่ 4 : เอริเทรีย Eritrea ประเทศที่อาจจะไม่คุ้นหู คนไทยนัก โดยประเทศ เอริเทรีย เป็นหนึ่งในชาติในทวีปแอฟริกา อยู่ทางทิศตะวันออกของทวีป มีพรมแดนติดกับเอธิโอเปีย,ซูดาน และ จิบูติ และติดกับทะเลแดง , ในปี 2021 Reporters Without Borders หรือ นักข่าวไร้พรมแดน เคยพิจารณาให้ประเทศ เอริเทรีย เป็นประเทศที่ เสรีภาพในการทำข่าว ย่ำแย่ ที่สุดในโลกด้วย เพราะทุกสื่อถูกควบคุมโดยรัฐบาล โดยประเทศ เอริเทรียนั้น ถือได้ว่า มีผลประโยชน์ร่วมกับรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2018 ในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ การทูต และการทหาร ในยุคที่ประเทศ มี ไอไซอาส อัฟเวอร์กี Isaias Afwerki เป็นประธานาธิบดี
.
•ชาติที่ 5 : รัสเซีย ในประเด็นนี้ แทบจะไม่ต้องสงสัยเลย เพราะทูตรัสเซียใน UN เป็นคนที่ วลาดิเมียร์ ปูติน เลือกมาประจำที่ยูเอ็น...ซึ่งในประเด็นนี้ เป็นที่น่าสังเกตผลโหวตของประเทศเมียนมา ที่ลงให้ "ประณามรัสเซีย" ทั้งที่ มิน อ่อง ลาย และ วลาดิเมียร์ ปูติน มีสายพันธ์ที่ดีต่อกัน เรื่องนี้ที่เมียนมา โหวตสวนความสัมพันธ์นั้นเป็นเพราะ ทูตเมียนมาคนนี้ คือ จอโมตุน (Kyaw Moe Tun) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรเมียนมาประจำสหประชาชาติ ซึ่งเคยชู 3 นิ้วประท้วง มิน อ่อง ลาย มาแล้ว และทูตเมียนมาคนนี้มาประจำอยู่ที่ UN ตั้งแต่สมัยที่ประเทศยังไม่มีการรัฐประหาร
Credit : Youtube United Nations
ขณะที่ ประเทศที่งดออกเสียง อาทิ จีน อินเดีย เวียดนาม สปป.ลาว แอฟริกาใต้ อิหร่าน อิรัก คาซัคสถาน เป็นต้น แต่ทั้งหมด ถือว่าเป็นการสงวนท่าทีทางการทูตต่อประเด็นนี้
สหประชาชาติระบุว่า การเปิดประชุมสมัชชาใหญ่สมัยพิเศษเป็นการฉุกเฉินแบบนี้เกิดขึ้นครั้งล่าสุดคือปี 1997 ในกรณีความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ดังนั้น การประชุมในกรณีสงคราม รัสเซีย - ยูเครนครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี ที่ การเปิดประชุมสมัชชาใหญ่สมัยพิเศษเป็นการฉุกเฉิน และถือว่าเป็นการเรียกประชุมฉุกเฉิน เป็นครั้งที่ 11 ในประวัติศาสตร์ของ UN