svasdssvasds

เช็กเลย! ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กติดโควิด-19 ควรทำอย่างไรบ้าง

เช็กเลย! ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กติดโควิด-19 ควรทำอย่างไรบ้าง

ผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไรบ้าง อาการแบบไหนที่ต้องเฝ้าระวัง เด็กอายุเกิน 5 ปี ขึ้นไปอาการมักไม่รุนแรงสามารถรักษาประคับประคองได้ ส่วนใหญ่ดีขึ้นเอง และส่วนน้อยที่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส

เด็กติดโควิดกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยต้องเป็นที่เฝ้าระวังอีกครั้งหลังยอดผู้ติดเชื้อแต่ละวันพุ่งสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์จำนวนเตียงรักษาผู้ป่วยที่เริ่มวิกฤต แถมการระบาดในระลอกนี้พบว่ามีการติดเชื้อในกลุ่มเด็กมากขึ้น 

ล่่าสุด พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์  งานโรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้รวบรวมคำแนะนำ สำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกน้อยเมื่อป่วยด้วยโควิด-19  โดยเฉพาะเด็กอายุเกิน 5 ปี ขึ้นไปอาการมักไม่รุนแรงสามารถรักษาประคับประคองได้ ส่วนใหญ่ดีขึ้นเอง และส่วนน้อยที่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส ซึ่งน้อยมากที่จะต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล จึงสามารถรักษาและสังเกตอาการที่บ้านได้ 

การรักษาหลัก คือประคับประคองตามอาการ เช่น ทานยาลดไข้ เฉพาะเวลาที่ไข้สูงเกิน 38 - 38.5 หรือ เริ่มมีภาวะพิษจากไข้ เช่นปวดศีรษะ งอแงผิดสังเกต

ถ้าไข้สูง แต่ไม่กระสับกระส่าย ปวดศีรษะมาก หรืองอแงผิดสังเกต หลับพักได้ดี "ไม่จำเป็นต้องปลุกเด็กมาทานยาหรือเช็ดตัวบ่อยๆ" เพื่อให้ผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่จะเป็นไข้อยู่ประมาณ ไม่เกิน 2-3 วันแล้วก็จะค่อยๆดีขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ความเสี่ยงต่อการชักจากไข้มีไม่มาก และอาการชักจากพิษไข้ ถ้าจะเป็นจริงๆจะเจอในเด็กเล็ก ช่วงอายุที่เจอบ่อยคือ 1 ถึง 3 ปี

ถ้าเกินอายุช่วงนี้ไปโอกาสจะลดลงเรื่อยๆ ถ้าอายุเกิน 6 ขวบ (แทบจะไม่มีโอกาสจะชักจากพิษไข้เป็นไข้) ยกเว้นเป็นโรคลมชักอยู่เดิม

ส่วนใหญ่ถ้าชัก มักจะชักในวันแรกของไข้ เพราะสมองปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ทัน ถ้าเป็นไข้มาแล้ว 1 ถึง 2 วันแล้วไม่ชัก โอกาสจะมาชักวันหลังจะน้อยมาก

การรักษาตามอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงเช่น ถ้ามีน้ำมูก แต่น้ำมูกนั้นไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

ไม่จำเป็นต้องทานยาลดน้ำมูกทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเด็กเล็กต่ำกว่า 6 เดือน ถ้าไม่จําเป็นจริงๆไม่ควรทานยาลดน้ำมูกเพราะอาจทำให้เสมหะแห้งเหนียว ทำให้ไอหนักตามมาได้

ถ้าน้ำมูกไหลมาก จนรบกวนชีวิตประจำวัน ให้ทานยาลดน้ำมูกเท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่ถ้าทานแล้วอาการไอมาก ให้หลีกเลี่ยงไปก่อน ให้จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ

อาการที่ต้องเฝ้าระวังคือ ถ้าซึมเพลีย ไม่รับประทานน้ำหรืออาหาร ปัสสาวะออกน้อยลง เหนื่อยหอบ หายใจเร็วกว่าเกณฑ์อายุ

แนวทางการประเมินอัตราการหายใจของผู้ป่วยตามอายุ

-ไม่ควรเกิน 60 ครั้ง/นาที ในเด็ก < 2 เดือน

-ไม่ควรเกิน 50 ครั้ง/นาที ในเด็ก 2 เดือน- 1 ปี

-ไม่ควรเกิน 40 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 1-5 ปี

-ไม่ควรเกิน 30 ครั้ง/นาที ในเด็ก 5-10 ปี

-ไม่ควรเกิน 24 ครั้ง/นาที ในเด็ก 10-15 ปี

*รายละเอียดเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย โทรสายตรงสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลเด็ก โทร. 1415

related