ซิโอมารา คาสโตร สาบานตน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของฮอนดูรัส โดยนางซิโอมารา คาสโตร ได้กลายเป็นบุคคลประวัติศาสตร์ของประเทศฮอนดูรัส เพราะเธอเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศ หลังชนะการเลือกตั้ง
บนเข็มนาฬิกาปี 2022 ผ่านไปเกือบ 1 เดือนแล้ว ประเทศฮอนดูรัส หนึ่งในประเทศในอเมริกากลาง เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงในการปกครอง เพราะประเทศเพิ่งได้ผู้นำคนใหม่ นั่นคือ นาง ซิโอมารา คาสโตร บนวัย 62 ปี ซึ่งเธอได้กลายเป็นบุคคลประวัติศาสตร์ เพราะเธอผู้นำหญิงคนแรกของประเทศฮอนดูรัส หลังชนะการเลือกตั้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021
.
สำหรับ นางซิโอมารา คาสโตร เธอเป็นภรรยาของ มานูเอล เซลาย อดีตประธานาธิบดีฮอนดูรัส ในช่วงปี 2006 – 2009 ซึ่งนั่นหมายความว่า ตลอดระยะเวลาอีกอย่างน้อย 4 ปีนับจากนี้ มานูเอล เซลาย อดีตประธานาธิบดีฮอนดูรัส จะกลับคืนสู่สายตาของสังคมอีกครั้ง ในฐานะ สุภาพบุรุษหมายเลขหนึ่ง ของประเทศฮอนดูรัส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯนิวซีแลนด์ "จาซินดา อาร์เดิร์น" ยกเลิกแผนวิวาห์เหตุโควิดโอไมครอน
ประเทศที่รับมือโควิด 19 ได้อย่างดี สิ่งที่มีเหมือนกันคือ ผู้นำหญิง
ทั้งนี้ สื่อต่างประเทศต่างวิเคราะห์ว่า นโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของฮอนดูรัส ในยุคของนางซิโอมารา คาสโตร เป็นที่น่าจับตาอย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านั้นส่งสัญญาณการสถาปนาความสัมพันธ์กับจีน แต่ตอนนี้เธอรักษาท่าทีกับประเด็นดังกล่าวมากขึ้น ขณะที่หนึ่งในแขกกิตติมศักดิ์ของพิธีสาบานตน รวมถึงนายไล่ ชิง-เต๋อ รองประธานาธิบดีไต้หวัน และนางกมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ
สำหรับ เวลานี้ ทั่วโลกมีผู้นำประเทศ ที่เป็นผู้หญิงจำนวนมาก ทั้งในบทบาท นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี ซึ่งแต่ในละประเทศ ในแต่ละรูปแบบการปกครองก็จะมี หน้าที่บทบาทกันไป อาทิ ที่สิงคโปร์ มี ฮาลิมา ยาขอบ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายมาเลย์ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกและคนเดียวของสิงคโปร์ แต่บทบาทในการบริหารงานจะเป็นหน้าที่ของลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรี เป็นต้น
.
ประเทศไทยเองก็เคยมี ผู้นำหญิง ที่บริหารประเทศอย่าง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งบริหารงานในช่วงสิงหาคม ปี 2554-พฤษภาคม 2557 ก่อนที่จะอำลาตำแหน่งไป
ณ ปัจจุบัน มีประเทศที่มีผู้นำเป็นเพศหญิง บริหารประเทศอยู่ทั้งสิ้น 28 ประเทศ ทั้งในบทบาทนายกรัฐมนตรี และ ประธานาธิบดี แต่คนที่มีบทบาทเวทีโลก และถูกแสงไฟสปอร์ตไลท์จับจ้องมากที่สุด เห็นจะเป็น ไช่ อิงเหวิน ผู้นำไต้หวัน และ จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์
.
โดย 28 ประเทศ มีผู้นำหญิง บริหารประเทศ ปี 2022 มีดังนี้
ชีค ฮาสินา : บังคลาเทศ
บิดยา เดวี่ บันดารี : เนปาล
ไช่ อิงเหวิน : ไต้หวัน
อนา เบอร์นาบิช : เซอร์เบีย
ฮาลิมา ยาขอบ : สิงคโปร์
จาซินดา อาร์เดิร์น : นิวซีแลนด์
คาทริน ยาค็อบส์ด็อตเทียร์ : ไอซ์แลนด์
พอลล่า-มาอี วีเกส : ตรินิแดด และ โตเบโก
มีอา ม็อตต์ลี่ย์ : บาร์เบโดส
ชาห์เล-เวิร์ก ซิวเด : เอธิโอเปีย
ซาโลเม่ ซูราบิชวิลลี่ : จอร์เจีย
มายา ซานดู : มอลโดวา
ซูซาน่า คาปูโตว่า : สโลวาเกีย
เมตเต้ เฟรเดริคเซ่น : เดนมาร์ก
ซานน่า มาริน : ฟินแลนด์
คาเตริน่า ซาเคลลาโรปูลู : กรีซ
โรส คริสตีน ราปอนด้า : กาบอง
วิคตอเร่ โทเมกาห์ ด็อกเบ้ : โตโก
อิกริด้า ซิโมนีเต้ : ลิทัวเนีย
คาย่า คัลลาส : เอสโตเนีย
ซาเมีย ซูลูฮู ฮัสซัน : แทนซาเนีย
วีโยซ่า ออสมานี่ : โคโซโว
เฟียเม่ นาโอมิ มาตาอาฟา : ซามัว
นาตาเลีย กาฟริลลิต้า : มอลโดวา
นาเจีย โบเดน : ตูนิเซีย
ซานดร้า เมสัน : บาร์เบโดส
แม็กดาเลน่า แอนเดอร์สัน : สวีเดน
ซิโอมารา คาสโตร : ฮอนดูรัส
.
*อัพเดท : 29 มกราคม 2022