จากกรณี น้ำมันรั่ว 4 แสนลิตร กลางทะเลมาบตาพุด ที่กลายเป็นประเด็นใหญ่ของไทย เรื่องนี้ต้องรับการแก้ไขเร่งด่วน เพราะมันจะกำลังจะกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ของไทย อย่างไรก็ตาม เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว และมีบทเรียนมากมายจากกรณีในต่างประเทศ
จากเหตุการณ์ น้ำมันรั่ว 4 แสนลิตร กลางทะเลมาบตาพุด จังหวัด ระยอง ที่กลายเป็นประเด็นใหญ่ของไทย และถึง ณ เวลานี้ มีการบริหารจัดการในการแก้ไขปัญหาแล้ว โดย เบื้องต้น กรมเจ้าท่าได้เร่งดำเนินการแก้ปัญหาดังนี้ คือ 1. กรมเจ้าท่าได้ทำหนังสือแจ้งกองทัพเรือเพื่อตั้งศูนย์ขจัดคราบน้ำมัน โดยกรมเจ้าท่าจะเป็นหน่วยประสาน ซึ่งเป็นไปตามแผนขจัดคราบน้ำมันแห่งชาติ , 2.กรมเจ้าท่าได้ประสานกับบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่งจำกัด (มหาชน) และสมาคม IESG เพื่อช่วยสนับสนุนน้ำยา dispersants จำนวนประมาณ 40,000 ลิตร/เรือจำนวน 8 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ โดยเริ่มปฏิบัติการฉีดน้ำยา dispersants ตั้งแต่เกิดเหตุ จนถึงช่วงเย็น 26 ม.ค. ทำให้เหลือกลุ่มคราบน้ำมันเหลือไม่มาก และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้
.
3.กรมเจ้าท่า ได้ออกคำสั่งห้ามใช้ท่าเทียบเรือ SBM ดังกล่าวจนกว่าจะมีการแก้ไขจุดที่ท่อรั่วไหลและมีผลการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ และ 4.กรมเจ้าท่าได้จัดเรือตรวจการณ์ 804 พร้อมเจ้าหน้าที่และนำน้ำยา dispersants ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกตรวจตราเพื่อเก็บตกคราบน้ำมันที่อาจจะยังหลงเหลืออยู่และฉีดน้ำยาเพื่อสลายก่อนที่จะเคลื่อนเข้าหาฝั่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำมันรั่วมาบตาพุด สู่ย้อนเหตุการณ์ ถอดบทเรียนน้ำมันรั่ว ครั้งสำคัญของโลก
สรุปให้ "น้ำมันดิบรั่ว" กลางทะเลระยอง 400,000 ลิตร ห่วงกระแสลมพัดเข้าฝั่ง
นี่ถือเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของทางการไทย ต่อกรณี น้ำมันดิบรั่ว 4 แสนลิตรในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม สำหรับในต่างประเทศ เคยมีกรณีเหตุการณ์ น้ำมันรั่วลงในทะเล ซึ่งแต่ละเคส ก็จะมีวิธีการรับมือที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับ รายละเอียดในแต่ละกรณี ซึ่ง แบ่งได้ คร่าวๆ คือ 3 วิธีหลัก นั่นคือ 1. วิธีทางกายภาพ , 2 วิธีทางชีวภาพ และ 3. วิธีทางเคมี
.
สำหรับ วิธีทางกายภาพ ในการจำกัดน้ำมันรั่ว มีดังนี้ 1 . การใช้ทุนกั้นน้ำมัน ซึ่งถือเป็นแนวทางมาตราฐานที่สุดของโลก เพื่อไม่ให้น้ำมันแพร่กระจายไปในวงกว้าง ก่อนจะใช้เรือดกวาด หรือดูดน้ำมัน 2. การเผาทำลายเพื่อลดปริมษณน้ำมันดิบ ซึ่งในกรณีนี้ คงต้องจำกัดการแพร่กระจายก่อน แล้วจึงค่อยเผาทำลาย แต่วิธีการนี้ก็จะมีเอฟเฟกต์ เรื่องมลพิษทางอากาศตามมาในบริเวณใกล้เคียง 3. ใช้เครื่องจักหรือแรงงาน ทำความสะอาดตรงจุดที่เกิดเหตุ แต่ข้อเสียในวิธีการนี้ คือต้องใช้เวลานานมาก และ 4. ใช้การวัสดุดูดซับน้ำมัน โดยมีทั้งสารอินทรีย์,อนินทรีย์ และ สารสังเคราะห์
ขณะที่ วิธีทางเคมี ในการจำกัดน้ำมันดิบรั่ว มีดังนี้ 1. การใช้เจล แต่ปัญหาของการใช้เจลในการกำจัดน้ำมันดิบนั้น คือต้องใช้เจลจำนวนมหาศาลมากกว่า 3 เท่าของปริมาณน้ำมันดิบที่รั่ว 2. การใช้สารลดแรงตึงผิว หรือสารกระจายแรงตึงผิว ซึ่งวิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะน้ำมันดิบจะกระจายตัวออก ไม่เกาะเป็นก้อร ไม่ตกตะกอน เป็นพิษน้อยลง ก่อนจะถูกย่อยสลายด้วยแบคทีเรียที่กินคราบน้ำมันต่อไป 3. การใช้เครื่องปั่นแยกน้ำมัน วิธีการนี้คืออาศัยสมบัติของน้ำมันที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ เป็นตัวช่วยในการแยก
.
ด้าน วิธีทางชีวภาพ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับการกำจัดน้ำมันดิบจำนวนมาก แบบที่เกิดขึ้นในมาบตาพุด ระยอง แต่วิธีการเหล่านี้ก็ถือเป็นอีกทางเลือก อาทิ 1 . การใช้จุลินทรีย์ ซึ่งจุลินทรีย์บางชนิดสามารถย่อยสลายน้ำมันดิบได้ วิธีการคือไปโปรยหรือฉีดในบริเวณที่มีน้ำมันรั่ว 2. การใช้ขี้ผึ้ง วิธีนี้เหมาะกับการรั่วที่ไม่ได้มีปริมาณมาก มันเหมาะกับการทำความบ่อน้ำ และ 3. การใช้เห็ด ซึ่งเห็ดบางชนิดทำความสะอาดดินที่ปนเปื้อนน้ำมันดิบได้ดี เพราะเห็ดจะหลั่งกรดและเอนไซม์ย่อยน้ำมันดิบได้