svasdssvasds

"ช้อปดีมีคืน" ต้องใช้ "ใบกำกับภาษีเต็มรูป" แบบใด ข้อมูลส่วนไหนสำคัญบ้าง?

"ช้อปดีมีคืน" ต้องใช้ "ใบกำกับภาษีเต็มรูป" แบบใด ข้อมูลส่วนไหนสำคัญบ้าง?

โครงการ "ช้อปดีมีคืน" จำเป็นต้องใช้ "ใบกำกับภาษีเต็มรูป" แบบไหน ที่จำเป็นที่ต้องขอมาทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย และต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี

โครงการ "ช้อปดีมีคืน" ที่ถูกนำกลับมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ซึ่งเป็นโครงการที่ประชาชนสามารถขอคืนภาษีจากการใช้จ่ายและใช้บริการตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนด ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท 

 ช้อปดีมีคืน เป็นมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย สำหรับบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นนิติบุคคล) เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีกำลังซื้อ สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีได้ โดยนำจำนวนเงินที่ซื้อสินค้าและบริการ มาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริง ซึ่งรวมกันไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

เงื่อนไขช้อปดีมีคืน

• ผู้ใช้สิทธิ์ ต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

• ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ จากการซื้อสินค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอลดหย่อนภาษี

• ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถใช้สิทธิ์มาตรการนี้ได้

ใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2565 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2566 เท่านั้น

สินค้า - บริการที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้

• สินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีหน้าร้าน หรือร้านค้าออนไลน์ ต้องเป็นร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี VAT ซึ่งสามารถออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบให้ได้เท่านั้น เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร

• หนังสือ ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ทุกประเภท (ยกเว้นหนังสือประเภทนิตยสารและหนังสือพิมพ์) ทั้งนี้ หากเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน จึงจะสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

• สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว โดยสามารถตรวจสอบร้านค้าได้ที่ otoptoday

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• เช็กเงื่อนไขช้อปดีมีคืน เริ่มเมื่อไร ซื้ออะไรได้ อะไรไม่ได้บ้าง ?

• ส่อง (ว่าที่) ของขวัญปีใหม่ ช้อปดีมีคืน คนละครึ่งเฟส4 เราเที่ยวด้วยกัน

• ไม่ลดความพยายาม ! ปัดฝุ่น ยิ่งใช้ยิ่งได้ ช้อปดีมีคืน ดึงคนรวยจับจ่ายปลายปี

สินค้า - บริการที่ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้

• สุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ

• ค่าน้ำมันและก๊าซ สำหรับเติมยานพาหนะ

• รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ

• หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ทั้งสิ่งพิมพ์ และอิเล็กทรอนิกส์

• บริการจัดนำเที่ยว ค่าที่พักโรงแรม

• ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

• ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์

ใครสามารถเข้าร่วมช้อปดีมีคืนได้บ้าง?

  มาตรการช้อปดีมีคืน ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน โดยจะต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2565 ที่จะเก็บในช่วงต้นปี 2566 เท่านั้น โดยจะได้รับการลดหย่อนภาษีจากมาตรการช้อปดีมีคืน ดังนี้

เงินได้ต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี) ไม่สามารถเข้าร่วมมาตรการนี้ได้

เงินได้ต่อปี 150,001 – 300,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 1,500 บาท

เงินได้ต่อปี 300,001 – 500,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3,000 บาท

เงินได้ต่อปี 500,001 – 750,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 4,500 บาท

เงินได้ต่อปี 750,001 – 1,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 6,000 บาท

เงินได้ต่อปี 1,000,001 – 2,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 7,500 บาท

เงินได้ต่อปี 2,000,001 – 5,000,000 บาท ลดหย่อนภาษีสูงสุด 9,000 บาท

เงินได้ต่อปี 5,000,001 บาทขึ้นไป ลดหย่อนภาษีสูงสุด 10,500 บาท

 ทั้งนี้ผู้ที่ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ต่ำกว่า 150,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แต่มีค่าลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่ช่วยให้ไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว จะไม่ได้สามารถใช้สิทธิ์ในมาตรการช้อปดีมีคืน

 นอกจากการช้อปที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่โครงการกำหนดแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ผู้เข้าร่วมโครงการต้องมี คือ "ใบกำกับภาษีเต็มรูป" ที่ต้องขอมาทุกครั้งที่มีการใช้จ่าย และต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีด้วย

จากโครงการช้อปดีมีคืนปี 2563 หลายท่านประสบปัญหาขอใบกำกับภาษีมาแล้วใช้งานไม่ได้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลสำคัญตามที่กำหนด

"ใบกำกับภาษีเต็มรูป" ตามที่แบบกรมสรรพากรกำหนด 

ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบกำกับภาษีเต็มรูป ได้แก่

• คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่เห็นได้เด่นชัด

• ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

• ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

• หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม (ถ้ามี)

• ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

• จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

• วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

 กรณีซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีช้อปดีมีคืน iTAX ระบุว่าสามารถทำได้ ด้วยการขอใบเสร็จรับเงิน แต่ต้องมีข้อมูลครบถ้วนดังต่อไปนี้ 

• เลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขาย

• ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ขาย

• เลขลําดับของเล่มและใบเสร็จรับเงิน

• วันเดือนปีที่ออกใบเสร็จรับเงิน

• ชื่อ นามสกุล และเลขประจําตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ

• ชนิด ชื่อ จํานวน และราคาสินค้าที่ซื้อ

• จํานวนเงิน

related