ช่วงของการระบาดโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลก ณ เวลานี้ มีคนกลายเป็นคนจนพุ่งถึง 160 ล้านคน แต่ในขณะเดียวกัน มหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลกรวยพุ่งขึ้น 2 เท่าในยุคโควิด-19
สำนักข่าวบีบีซี รายงานสถิติตัวเลขที่น่าสนใจ โดยอ้างอิงจาก อ็อกแฟม Oxfam องค์กรไม่แสวงผลกำไร ที่เก็บข้อมูลในช่วงของการระบาดโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลก ณ เวลานี้ มีคนกลายเป็นคนจนพุ่งถึง 160 ล้านคน แต่ในขณะเดียวกัน มหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลกรวยพุ่งขึ้น 2 เท่าในยุคโควิด-19
.
อ็อกแฟม Oxfam เผยแพร่รายงาน ก่อนที่ผู้นำโลกจะประชุมสุดยอดแบบเสมือนจริงผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของ World Economic Forum ที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคม 2022 ว่า มหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลกมีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดจาก 700,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
10 อันดับ มหาเศรษฐีโลกประจำปี 2021 อีลอน มัสก์ ครองเบอร์ 1 ของโลก
นิตยสาร Time ยก อีลอน มัสก์ บุคคลแห่งปี - ทีมพัฒนาวัคซีน mRNA ฮีโร่ของปี
ธุรกิจ "ตั้งชื่อลูกภาษาอังกฤษให้คนจีน" แปลก แหวก และสร้างรายได้มหาศาล
นั่นหมายความว่า โดยเฉลี่ยของตัวเลขมหาเศรษฐีทั้ง 10 คน มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นวันละ 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มหาเศรษฐีเหล่านี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของโควิดระบาด มากกว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นในช่วง 14 ปีหลังเกิดวิกฤตการเงินโลก
.
ทั้งนี้ การ คำนวณทรัพย์สินของมหาเศรษฐี 10 อันดับแรกของโลกตามข้อมูลล่าสุดที่มีอยู่ และอ้างอิงตามที่นิตยสารฟอร์บส์จัดอันดับ 10 มหาเศรษฐีประจำปี 2021 ได้แก่ อีลอน มัสก์ เจ้าของเทสลา, เจฟฟ์ เบโซส เจ้าของอเมซอน, แลร์รี เพจและเซอร์เกย์ บริน ผู้ก่อตั้งกูเกิ้ล, มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก , บิล เกตส์และสตีฟ บัลเมอร์ อดีตซีอีโอไมโครซอฟท์, แลร์รี เอลลิสัน อดีตซีอีโอออราเคิล, วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุน และแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ เจ้าของกลุ่มธุรกิจแบรนด์หรูแอลวีเอ็มเอช
.
แต่ในทางกลับกัน รายงานระบุว่า รายได้ที่ลดลงของคนยากจนที่สุดในโลก ส่งผลให้มีคนเสียชีวิต 21,000 คนต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าเป็นกังวล เพราะนี่คือการตอกย้ำว่า ความเหลื่อมล้ำยังเป็นปัญหาของโลกใบนี้ และยิ่งช่วงโควิด-19 ที่เล่นงานผู้คนทั่วโลก มันยิ่งทำให้เหมือนกับการ ราดน้ำมันลงบนกองไฟ ให้คนจน ต้องเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก
.
Oxfam ยังระบุอีก ว่า การขาดการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ความหิวโหย ความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ และสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 รายในทุกๆ 4 วินาที โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ด้วยเงินน้อยกว่า 5.50 ดอลลาร์/วัน (183 บาท) มากกว่า 160 ล้านคน ซึ่งมากกว่าที่เคยเป็นมาหากไม่มีผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19