โจ ไบเดน ประธานาธิบดี สหรัฐฯ เพิ่งประกาศเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทุ่มเงินกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ สนับสนุนอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ในประเทศ เพื่อแก้ปัญหาราคาเนื้อสัตว์แพง หมูแพง
"ทุนนิยมที่ไม่มีการแข่งขันมันไม่ใช่ทุนนิยมแล้ว...แต่มันเป็นการเอารัดเอาเปรียบ แหละนี่คือสิ่งที่ เราเห็นในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และสัตว์ปีกในสหรัฐฯอยู่ตอนนี้ "
.
นี่ถือเป็นหนึ่งในคำพูดของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีมุมมองต่อปัญหา ราคาเนื้อสัตว์แพงในสหรัฐฯ ซึ่งมีที่มาที่ไปจากปัญหารายใหญ่ผูกขาด ราคาเนื้อหมู-เนื้อวัว จนมันแพง ต้อนรับปี 2022 ซึ่งแท้จริงแล้วมันลากยาวมา ตั้งแต่ ช่วงปี 2020 ซึ่งมีปัจจัยโควิด-19 เข้ามาบวกผสมโรงด้วย
.
ทั้งนี้ ปัญหา ราคาเนื้อสัตว์แพง ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว และ สัตว์ปีก ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงในประเทศไทย อย่างสถานการณ์ปัจจุบันตอนนี้ แต่ในชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯก็ต้อง พุ่งชนกับปัญหา "หมูแพง" ไม่แตกต่างอะไรกับรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ทว่า แนวทางในการแก้ปัญหา เนื้อสัตว์แพงของสหรัฐฯ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน เดินเกมรุกรวดเร็ว โดยได้กำหนดแผน ‘4 กลยุทธ์หลัก’ (Four Core Strategies) มุ่งเน้นไปที่อุปสงค์-อุปทาน รวมถึงการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ หรือผู้แปรรูปรายใหญ่ รายย่อย ที่จะครอบคลุมไปถึงเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดอันดับที่ 11 ของโลก และ ที่ 1 ทวีปเอเชีย ประเทศน่าใช้ชีวิตหลังเกษียณ
เกิดอะไรขึ้นบ้าง? "นาย ณภัทร" โดนทัวร์ลงเอาเรื่องปากท้องประชาชนมาทำโฆษณา
กรมปศุสัตว์รับแล้ว พบ ASF จากโรงฆ่าสัตว์ในนครปฐม ยันไม่ส่งผลกระทบผู้บริโภค
ปัญหาเนื้อสัตว์แพงในสหรัฐฯ ส่วนหนึ่งมาจาก ต้นทุนราคาเนื้อสัตว์ ที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาเงินเฟ้อที่รัฐบาลโจ ไบเดนพยายามควบคุม เนื่องจากต้นทุนราคาผู้บริโภค ที่สูงขึ้น โดยในช่วงปลายปีกที่แล้ว ในเดือน พฤศจิกายน อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นอัตราเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982
.
ทั้งนี้ รัฐบาลกลางสหรัฐฯ จะใช้เงินราวๆ 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 33,000 ล้านบาท ในการอัดฉีด เพื่อช่วยเหลือ ผู้ผลิตและเกษตรผู้ผลิตเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกรายย่อย แก้ปัญหาราคาเนื้อสัตว์แพง โดยว่าเหตุที่ราคาเนื้อสัตว์บริโภคราคาสูงขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ถูกครอบงำผูกขาดโดยบริษัทผู้ผลิตเนื้อขนาดใหญ่จำนวนหนึ่ง ทำให้กระทบต่อผู้บริโภค
.
โดยเงินมหาศาล 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นมาจาก งบประมาณที่รัฐบาลเตรียมไว้ในหมวด American Rescue Plan ซึ่งแผนนี้ใช้ในสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ 21 มีนาคม 2021 แล้ว เพียงแต่ว่าเงินก้อนใหม่ที่โจ ไบเดนจะอัดเข้าไปในระบบ ยังคงต้องรออีกสักพัก เพราะคำประกาศของไบเดน ในการแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูแพง เนื้อสัตว์แพง เพิ่งผ่านมา 1 สัปดาห์
โดยงบหมวดนี้ จะนำมาใช้จ่าย บรรเทาทุกข์ประชาชนที่ประสบปัญหา หรือได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 ในด้านต่างๆ อาทิ เงินช่วยเหลือสำหรับผู้ที่อยากเริ่มธุรกิจใหม่ เงินกู้เพิ่มเติมสำหรับผู้ผลิตและผู้ประกอบการธุรกิจ เงินสนับสนุนลูกจ้างและพนักงานผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมงานมาอย่างดี เงินช่วยเหลือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี หรือเงินช่วยเหลือโรงงานแปรรูปขนาดเล็กเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าง่ายขึ้น
.
ปัญหา เนื้อสัตว์แพง หรือ เนื้อหมูแพง ในสหรัฐฯ ถือว่า มีหลายปัจจัย สาเหตุส่วนหนึ่ง จากโรงชำแหละ และบรรดาผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ฮั้วร่วมกัน โดยอ้างสารพัดเหตุผลทั้งโรคระบาด ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนราคาค่าขนส่ง ทำให้จำเป็นต้องขึ้นราคา ขณะที่ตัวเลขผลประกอบการของบริษัทเนื้อรายใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้น โดย บริษัทด้านเนื้อสัตว์แปรรูปรายใหญ่ 4 แห่งของสหรัฐ ทั้ง คาร์กิลล์, ไทสัน ฟู้ด, เจบีเอส และเนชั่นแนล บีฟ แพคกิ้ง ชิงส่วนแบ่งตลาดเนื้อหมู วัว และไก่ ราว 55-85% เลยทีเดียว
.
แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ก็พยายามแก้เกม การควบคุมตลาดและผูกขาดของบริษัทยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่รายทำให้เกิดคอขวดในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ลดทอนการแข่งขันในตลาด ผลักดันให้ราคาอาหารสูงขึ้น และเอาเปรียบเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย
.
อย่างไรก็ตาม แผนอัดฉีดเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ก็มีฝั่งที่ไม่เห็นด้วย อาทิ โดย ไมค์ บราวน์ ประธานสภาไก่แห่งชาติ (National Chicken Council) ระบุว่าแผนการดังกล่าวไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ตรงจุด เหมือนกัน เกาไม่ถูกที่คัน
.
ขณะที่ ซาร่าห์ ลิตเติล โฆษกสถาบันเนื้อสัตว์แห่งอเมริกาเหนือ (North American Meat Institute) กล่าวว่า การขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่สุดของอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อสัตว์ แต่แผนการของทำเนียบขาวไม่ได้แก้ปัญหานี้ ส่วนปีเตอร์ คาร์สเตนเซน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน และ ออสติน เฟรริก รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการต่อต้านการผูกขาด Thurman Arnold Project แห่งมหาวิทยาลัยเยล ให้ความเห็นว่า แผนการของฝ่ายบริหารของโจ ไบเดน ยังไม่มากพอที่จะลดทอนอำนาจของบริษัทชำแหละและแปรรูปเนื้อสัตว์รายใหญ่